ขอส่งงบการเงินระหว่างกาลรวม ไตรมาส 1/2539

29 May 1996
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ----------------------------------------------------------------- --------------------------------------------------------- งบการเงินระหว่างกาลรวม สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2539 และ 2538 และ รายงานของผู้สอบบัญชี ----------------------------------------------------------------- ----------------------------------------------------------------- -------------------------- รายงานของผู้สอบบัญชี เสนอ คณะกรรมการบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุลรวม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2539 และ 2538 และ งบกำไรขาดทุนรวมสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละงวดของ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคม นักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการทำความ เข้าใจเกี่ยวกับระบบในการจัดทำงบการเงินระหว่างกาลรวม การใช้วิธีวิเคราะห์ เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน และการสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัท ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มีขอบเขตจำกัดกว่าการ ตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงิน รวมมาก ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินรวมที่สอบทานได้ ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญซึ่งอาจจะต้องนำมาปรับปรุงงบการเงิน ระหว่างกาลรวมนี้ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปจากการสอบทานของ ข้าพเจ้าดังกล่าวข้างต้น (นายธวัช ภูษิตโภยไคย) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 1724 กรุงเทพมหานคร 23 พฤษภาคม 2539 ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุลรวม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2539 และ 2538 สิ น ท รั พ ย์ พั น บา ท 2539 2538 สินทรัพย์หมุนเวียน เงินลงทุนระยะสั้นในตั๋วสัญญาใช้เงิน 1,116,294 - ลูกหนี้การค้า - สุทธิ (หมายเหตุ 4) 1,740,993 1,635,241 สินค้าคงเหลือ - สุทธิ (หมายเหตุ 4) 1,401,727 1,360,165 ลูกหนี้และเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 3) 362,708 120,871 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 972,283 547,370 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 5,594,005 3,663,647 เงินลงทุนในบริษัทร่วม - วิธีส่วนได้เสีย (หมายเหตุ 3) 2,207,088 1,742,653 เงินลงทุนในบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน - ในราคาทุน(หมายเหตุ 3) 472,964 222,982 เงินลงทุนในกิจการร่วมค้า - ราคาทุน 1,742 1,742 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 1,473,241 1,265,470 สินทรัพย์อื่น (หมายเหตุ 5) 323,992 244,679 รวมสินทรัพย์ 10,073,032 7,141,173 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายธวัช ภูษิตโภยไคย ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2539 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุลรวม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2539 และ 2538 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น พั น บา ท 2539 2538 หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร 1,847,079 1,174,900 เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย 594,678 964,197 เจ้าหนี้และเงินกู้ยืมจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 3) 346,666 377,540 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 842,298 683,518 รวมหนี้สินหมุนเวียน 3,630,721 3,200,155 เงินกู้ยืมระยะยาว - สุทธิจากส่วนที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (หมายเหตุ 5) 389,203 794,524 รายได้รอการตัดบัญชี - สุทธิ (หมายเหตุ 5) - 112,777 เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า (หมายเหตุ 4) 164,236 182,391 หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ (หมายเหตุ 6 และ 7)2,455,000 - เงินทุนเลี้ยงชีพพนักงาน 65,752 50,453 หนี้สินอื่น 2,387 334 รวมหนี้สิน 6,707,299 4,340,634 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อย 320,836 145,033 ส่วนของผู้ถือหุ้น (หมายเหตุ 6 และ 7) 3,044,897 2,655,506 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 10,073,032 7,141,173 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายธวัช ภูษิตโภยไคย ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2539 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกำไรขาดทุนรวม สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2539 และ 2538 พั น บา ท 2539 2538 รายได้ (หมายเหตุ 3) ขายผลิตภัณฑ์และบริการ 1,618,507 1,462,343 ส่วนได้เสียในกำไรของบริษัทร่วม-สุทธิ 91,046 92,796 ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น (หมายเหตุ 5) 355,022 104,732 รวมรายได้ 2,064,575 1,659,871 ต้นทุนและค่าใช้จ่าย (หมายเหตุ 3) ต้นทุนขายและบริการ 1,210,712 1,084,337 ค่าใช้จ่ายอื่น (หมายเหตุ 5) 697,768 496,548 ภาษีเงินได้ 33,963 6,626 รวมต้นทุนและค่าใช้จ่าย 1,942,443 1,587,511 กำไรก่อนส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในขาดทุนสุทธิของบริษัทย่อย122,132 72,360 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในขาดทุนสุทธิของบริษัทย่อย 18,016 1,675 กำไรสุทธิ 140,148 74,035 กำไรต่อหุ้น (บาท) 3.50 1.85 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายธวัช ภูษิตโภยไคย ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2539 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม วันที่ 31 มีนาคม 2539 และ 2538 1. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมนี้ได้รวมบัญชีของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทต่าง ๆ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยหรือบริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มี อำนาจควบคุม ดังต่อไปนี้ ถือหุ้นในอัตราร้อยละ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2539 2538 บริษัทย่อย บริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด 99 99 บริษัท ล็อกซเล่ย์ เมียนมาร์ จำกัด (ยังไม่ได้ ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 99 บริษัท เซลลูล่าร์ โปรดักส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ คอมแวร์ จำกัด 70 - บริษัท โปรเฟสชั่นนัลคอมพิวเตอร์ จำกัด 67 67 บริษัท โอเพ่น ซีสเต็ม อินทิเกรเตอร์ จำกัด 67 67 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด 65 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาส แอนด์ มีเดีย จำกัด 60 60 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟรา จำกัด 60 60 บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด 55 55 บริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด 55 55 บริษัท ล็อกซ์ดาต้า จำกัด 52 52 บริษัท ล็อกซเล่ย์ แซทเทลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 51 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ นิวเท็ค จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 51 - บริษัท ทีเอ็นที ลอจีสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51 - - 2 - ถือหุ้นในอัตราร้อยละ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2539 2538 บริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อบริษัท ธนากรเทรดดิ้ง จำกัด) 50 50 บริษัท ล็อกซเล่ย์ พลังงาน จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชย์กิจหลัก) 45 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ พร็อพเพอตี้ จำกัด 40 40 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์กราฟ (ประเทศไทย) จำกัด 40 40 รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัทต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้แสดงหักกลบลบกันในงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้แล้ว ในไตรมาสที่สองของปี 2537 บริษัทได้ลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม- มิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฮัทชิสัน) และบริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด เพิ่มขึ้นจาก เดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55 ในเดือนพฤษภาคม 2537 ณ วันที่บริษัท ซื้อหุ้นของบริษัทฮัทชิสัน บริษัทต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัท ดังกล่าว ซึ่งเป็นผลให้ บริษัทต้องบันทึกรับรู้ไว้เป็น จำนวนเงินลงทุนในบริษัทย่อย ส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ ในบัญชีสินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา ประมาณ 12 ปี ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2539 มีจำนวนเงิน ประมาณ 28.6 ล้านบาท อนึ่ง เนื่องจากบริษัทถือหุ้นในบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฮัทชิสัน) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55 ในเดือนพฤษภาคม 2537 ดังกล่าว ข้างต้น ดังนั้น บริษัทจึงต้องเปลี่ยนแปลงการรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนใน บริษัทดังกล่าวที่มีอยู่เดิมและที่เกิดขึ้นใหม่กล่าวคือในช่วงที่บริษัทถือหุ้นของบริษัทนี้เพียง ร้อยละ 45 บริษัทบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทนี้ตามวิธีส่วนได้เสีย บริษัทจึงไม่ได้บันทึก รับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนที่เป็นส่วนของบริษัทในงบการเงิน อย่างไรก็ดี เมื่อบริษัทถือหุ้น เป็นร้อยละ 55 บริษัทต้องนำงบการเงินของฮัทชิสันมาจัดทำงบการเงินรวม ในการนี้ บริษัทต้องบันทึกรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนในงบการเงินรวมด้วย โดยบริษัทปรับปรุง ผลขาดทุนสะสมเกินทุน ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2537 ที่เป็นส่วนของบริษัทแยกเป็น สองส่วนกล่าวคือ ส่วนที่กระทบงบการเงินงวดก่อนปี 2537 - 3 - จะปรับปรุงกับบัญชีกำไรสะสมต้นงวดและส่วนที่กระทบงบการเงินในปี 2537 จะปรับปรุงกับบัญชีกำไรขาดทุนสำหรับปี 2537 สำหรับส่วนแบ่งผลขาดทุนสะสม เกินทุนในฮัทชิสันที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจะบันทึกรอตัดบัญชีไว้ในบัญชีสินทรัพย์อื่น และตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงภายในเวลาประมาณ 12 ปี นอกจากนี้ จะนำส่วนแบ่งกำไรของฮัทชิสันที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาหักออกจากยอดที่ยังตัดบัญชี ไม่หมดเมื่อบริษัทนี้มีกำไรด้วย ขาดทุนสะสมเกินทุนในบริษัทย่อยนี้ที่กระทบงบการเงิน งวดก่อน ๆ ซึ่งปรับปรุงกับกำไรสะสมต้นงวด ณ วันที่ 1 มกราคม 2537 มีจำนวนเงิน ประมาณ 45.9 ล้านบาท ส่วนยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2539 มีจำนวนเงินประมาณ 35.4 ล้านบาท สำหรับเงินลงทุนในบริษัท ล๊อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท ธนากรเทรดดิ้ง จำกัด) ซึ่งบริษัทลงทุนไว้ร้อยละ 50 ในเดือน พฤษภาคม 2537 บริษัทได้นำงบการเงินของบริษัทดังกล่าวมารวมในการจัดทำงบการเงินรวมด้วย เนื่องจากบริษัทมีอำนาจในการควบคุม ในการนี้บริษัทได้บันทึกผลขาดทุนสะสมเกินทุน ของบริษัท ล๊อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด ณ วันที่บริษัทเริ่มลงทุนไว้ในบัญชีสินทรัพย์อื่น และตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี อย่างไรก็ดี เมื่อบริษัท ล๊อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด มีกำไร ส่วนแบ่งในกำไรของบริษัทเฉพาะที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย จะนำมาหักออกจากยอดที่ยังตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายไม่หมดด้วย ยอดคงเหลือในบัญชีนี้ ที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2539 มีจำนวนเงินประมาณ 45.7 ล้านบาท 2. กำไรต่อหุ้น กำไรต่อหุ้นสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2539 และ 2538 คำนวณโดยการหารกำไรสุทธิด้วยจำนวนหุ้นที่ได้รับชำระแล้ว ณ วันที่ในงบดุล 3. รายการบัญชีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน รายการธุรกิจบางส่วนของบริษัทและบริษัทย่อยเกิดจากรายการบัญชีกับบริษัท ที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดยการมีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน งบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ได้รวมผลของรายการดังกล่าวตามเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกัน ระหว่างบริษัทและบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว - 4 - 4. ลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือ ลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือส่วนที่เป็นงานระหว่างติดตั้งส่วนหนึ่งเป็นรายการ ที่เกิดกับหน่วยงานราชการซึ่งใช้เวลาในการติดตั้งมากกว่าหนึ่งปี ทั้งนี้บริษัทและบริษัท ย่อยได้รับเงิน ล่วงหน้าจากลูกค้าแล้วส่วนหนึ่ง 5. เงินกู้ยืมระยะยาว รายได้และค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ในเดือนมีนาคม 2536 บริษัทได้รับวงเงินสินเชื่อจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นเงินประมาณ 41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามเงื่อนไขของสัญญาดังกล่าว บริษัทจะจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมนี้เพียงร้อยละ 65 ส่วน จำนวนเงินกู้ยืมอีก ร้อยละ 35 ของวงเงินกู้ให้ถือเป็นเงินให้เปล่า เว้นแต่กรณีบริษัท ผิดเงื่อนไขในสัญญา เงินกู้นี้มีอัตรา ดอกเบี้ยตามอัตรา LONDON INTERBANK OFFERED RATE (LIBOR) บวกร้อยละ 2.775 ต่อปี และมีกำหนดชำระคืนเป็นงวด ทุกงวดหกเดือนรวม 20 งวด โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2537 บริษัทถือปฏิบัติในการบันทึกเงินต้นจากการกู้ยืมเงินจากวงเงินกู้ยืมดังกล่าวเพียง ร้อยละ 65 ของเงินกู้ที่เบิกใช้ในแต่ละคราว และบันทึกจำนวนที่เหลืออีกร้อยละ 35 ซึ่งถือเป็นเงินให้เปล่าไว้ในบัญชี รายได้รอตัดบัญชี ในงบดุล เนื่องจากฝ่ายบริหาร เชื่อว่าบริษัทจะสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินให้เปล่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาได้ นอกจากนี้ภายใต้เงื่อนไขตามสัญญา ดังกล่าว บริษัทได้จ่ายค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน กู้จำนวน 12 ล้านบาท ซึ่งได้บันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี และแสดงไว้เป็นส่วนหนึ่ง ของสินทรัพย์อื่นในงบดุล รายได้รอตัดบัญชีและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินกู้รอตัดบัญชีนี้ จะทยอยรับรู้เป็นรายได้และค่าใช้จ่ายตามอายุของสัญญาเงินกู้ ในระหว่างไตรมาสที่ 1 ของปี 2539 บริษัทได้ชำระคืนเงินกู้ยืมดังกล่าวทั้งจำนวน ก่อนกำหนดเป็นจำนวนเงินรวมเทียบเท่าประมาณ 454.2 ล้านบาท (รวมค่าธรรมเนียม การชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนดจำนวน 4.3 ล้านบาท) และบันทึกยอดคงเหลือที่ยังไม่ตัดบัญชี ของรายได้และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินกู้รอตัดบัญชีเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน ในงบกำไรขาดทุน - 5 - ในเดือนมีนาคม 2537 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคารในประเทศ แห่งหนึ่ง โดยได้รับวงเงินสินเชื่อเป็นจำนวนเงินรวม 400 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นเงินกู้ สกุลเหรียญสหรัฐอเมริกาเทียบเท่าเงินสกุลบาท และเงินกู้สกุลบาทรวม 2 จำนวน ๆ ละ 200 ล้านบาทเท่า ๆ กัน โดยเงินกู้ยืมจำนวนแรกมีดอกเบี้ยตามอัตรา SINGAPORE INTERBANK OFFERED RATE (SIBOR) บวกร้อยละ 2 ต่อปี ส่วนเงินกู้ยืมจำนวนที่สอง มีดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR) ที่ประกาศโดยธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เงินกู้ยืมนี้มีกำหนดชำระคืนเป็นงวดทุกงวด สามเดือนรวม 24 งวด โดยเริ่มชำระ งวดแรกภายหลังครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันเบิก เงินกู้ เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดย การจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2539 บริษัทย่อย ได้เบิกเงินกู้จากวงเงินดังกล่าวแล้วประมาณ 365 ล้านบาท (แบ่งเป็นเงินกู้สกุลเหรียญ สหรัฐอเมริกาประมาณ 8 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือเทียบเท่าเงินสกุลบาทประมาณ 200 ล้านบาท และเงินกู้สกุลบาทจำนวน 165 ล้านบาท) ในเดือนตุลาคม 2537 และกันยายน 2538 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงิน จากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเป็นจำนวนเงิน 60 ล้านบาท และ 15 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นงวดสิ้นสุดเดือนเมษายน 2544 และเดือนกันยายน 2543 ตามลำดับ เงินกู้ยืมนี้ค้ำ ประกันโดยการจำนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ดำเนินงาน บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีเงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารในประเทศสองแห่งจำนวนเงิน 126.7 ล้านบาท และ 45 ล้านบาท ซึ่งมีดอกเบี้ยตามอัตรา MOR บวกร้อยละ 0.5 ต่อปี โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นงวดจนถึงเดือนมีนาคม 2540 และตุลาคม 2539 ตามลำดับ เงินกู้ยืมเหล่านี้ค้ำประกันโดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 6. หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตรา ต่างประเทศจำหน่ายในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ คงที่เมื่อแปลงสภาพหรือไถ่ถอนเท่ากับ 2,455 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 3.5 ต่อปี ซึ่งผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทได้ ไม่เกินวันที่ 20 มีนาคม 2548 ในราคาแปลงสภาพตามที่ได้กำหนดไว้ หรือครบกำหนด ไถ่ถอนในวันที่ 20 เมษายน 2548 ตามอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ - 6 - ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548 หรือ ใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไขและ ข้อกำหนดบางประการตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน นอกจากนี้บริษัทสามารถใช้สิทธิ ไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2541 จนถึง วันที่ 20 เมษายน 2543 ถ้าเข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในการนี้บริษัทต้องปฏิบัติตาม เงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อ วันที่ 11 มกราคม 2538 ผู้ถือหุ้นมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท (แบ่งเป็น 40 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่า หุ้นละ 10 บาท) โดยให้สำรองหุ้นสามัญ จำนวน 6 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้ เพื่อรองรับการใช้สิทธิในการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้ จดทะเบียนเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2538 7. ทุนเรือนหุ้นและหุ้นกู้แปลงสภาพเงินตราต่างประเทศ ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ผู้ถือหุ้นได้มีมติดังนี้ ก) ให้บริษัทออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพเงินตราต่างประเทศ ซึ่ง สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในวงเงินไม่เกิน 120 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอายุ ไม่เกิน 10 ปี เพื่อเสนอขายแก่ผู้ลงทุนต่างประเทศทั้งจำนวนโดยให้สิทธิในการ ไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพคืนก่อนครบกำหนดแก่ผู้ถือหุ้นแปลงสภาพ (Put Option) ทั้งนี้บริษัทจะนำหุ้นกู้ชนิดแปลงสภาพดังกล่าวเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2539 บริษัทยังไม่ได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ ดังกล่าวข้างต้น ข) ให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และให้สำรองหุ้นสามัญ จำนวน 6 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้ เพื่อรอง รับการใช้สิทธิในการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้จดทะเบียนเพิ่มทุนกับ กระทรวงพาณิชย์แล้ว เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2539 - 7 - 8. เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน ในการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2539 ผู้ถือหุ้นได้มี มติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิปี 2538 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 140,000,000 บาท (ในอัตราหุ้นละ 3.50 บาท) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2539 บริษัทยังไม่ได้บันทึกเงินปันผลที่ประกาศจ่ายนี้ไว้ในบัญชี 9. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ณ วันที่ 31 มีนาคม 2539 ก. บริษัทและบริษัทย่อยมีเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังไม่ได้ใช้เป็นจำนวนเงิน รวมประมาณ 1,626 ล้านบาท ข. บริษัทและบริษัทย่อยมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการประกันการ ประมูลงานกับลูกค้าเป็นจำนวนประมาณ 1,023 ล้านบาท ซึ่งบริษัทและบริษัทย่อยได้ ให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันเพื่อค้ำประกันการประมูลงานดังกล่าว ค. บริษัทมีภาระผูกพันภายใต้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับ ธนาคารบางแห่งเป็นจำนวนเงินเทียบเท่าประมาณ 226 ล้านบาท ง. บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการค้ำประกันกับ ธนาคารให้กับกิจการร่วมค้าเป็นจำนวนเงินประมาณ 133 ล้านบาท