งบการเงินระหว่างกาลสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุด 31 มี.ค 2540
29 May 1997
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
-----------------------------------------------------------------
-----------------------------------------
งบการเงินระหว่างกาล
สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539
และ
รายงานของผู้สอบบัญชี
-----------------------------------------------------------------
-----------------------------------------------------------------
-----------------------------------
รายงานของผู้สอบบัญชี
เสนอ คณะกรรมการบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 และงบกำไรขาดทุนสำหรับงวด
สามเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ส่วนงบการเงินระหว่างกาล
ของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2539 ที่นำ
มาแสดงเปรียบเทียบสอบทานโดยนายธวัช ภูษิตโภยไคย ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีในสำนักงานเดียวกัน
กับข้าพเจ้า การสอบทานดังกล่าวกระทำตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
รับอนุญาตแห่งประเทศไทย
การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
ระบบในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน
และการสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มี
ขอบเขตจำกัดกว่าการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อแสดงความเห็นต่อ
งบการเงินมาก ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินระหว่างกาลที่สอบทานได้
บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย อย่างไรก็ดี ณ วันที่
จัดทำงบการเงินระหว่างกาลนี้ งบการเงินระหว่างกาลของบริษัทร่วมบางแห่งที่ใช้เป็นเกณฑ์
ในการบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียยังไม่ได้สอบทานโดยผู้สอบบัญชี เงินลงทุนในบริษัทร่วม
เหล่านี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 มีจำนวนเงินรวมประมาณ 929.8 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ
8.4 ของสินทรัพย์รวม ณ วันเดียวกัน ส่วนได้เสียในผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมเหล่านี้ที่แสดง
รวมไว้ในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2540 มีจำนวนเงินสุทธิ
ประมาณ 9.3 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 12.2 ของกำไรสุทธิสำหรับงวดสิ้นสุดวันเดียวกัน
- 2 -
ยกเว้น ผลของรายการปรับปรุงที่อาจมีขึ้นถ้าได้ทราบผลการสอบทานงบการเงินระหว่างกาล
ของบริษัทร่วมดังกล่าวในวรรคสาม ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญอื่นซึ่งอาจจะต้องนำมาปรับปรุง
งบการเงินระหว่างกาลให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปจากการสอบทานของข้าพเจ้าดังกล่าว
ข้างต้น
(นายวิเชียร ธรรมตระกูล)
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ทะเบียนเลขที่ 3183
กรุงเทพมหานคร
23 พฤษภาคม 2540
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
สอบทานแล้ว
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
งบดุล
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539
สิ น ท รั พ ย์
พันบาท
2540 2539
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินลงทุนระยะสั้นในตั๋วสัญญาใช้เงิน 886,741 946,294
ลูกหนี้การค้า - สุทธิ 893,357 958,300
สินค้าคงเหลือ - สุทธิ 1,431,563 1,101,120
ลูกหนี้และเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 1) 1,205,307 553,816
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 564,814 686,416
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 4,981,782 4,245,946
เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม - วิธีส่วนได้เสีย
(หมายเหตุ 1) 2,536,115 2,717,510
เงินลงทุนในบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน - ในราคาทุน
(หมายเหตุ 1) 2,842,593 471,164
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 532,668 395,562
สินทรัพย์อื่น 194,190 156,004
รวมสินทรัพย์ 11,087,348 7,986,186
โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล
ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
สอบทานแล้ว
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
งบดุล
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
พันบาท
2540 2539
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร 568,823 1,493,639
เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย 447,705 246,586
เจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 1) 256,340 239,444
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 667,049 359,638
รวมหนี้สินหมุนเวียน 1,939,917 2,339,307
หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ (หมายเหตุ 3) 5,334,100 2,455,000
เงินทุนเลี้ยงชีพพนักงาน 73,122 54,530
หนี้สินอื่น (หมายเหตุ 3) 369,461 -
รวมหนี้สิน 7,716,600 4,848,837
ส่วนของผู้ถือหุ้น (หมายเหตุ 3) 3,370,748 3,137,349
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 11,087,348 7,986,186
โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล
ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
สอบทานแล้ว
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
งบกำไรขาดทุน
สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539
พันบาท
2540 2539
รายได้ (หมายเหตุ 1)
ขายผลิตภัณฑ์และบริการ - สุทธิ 1,102,434 699,180
ส่วนได้เสียในผลการดำเนินงานของบริษัทย่อย
และบริษัทร่วม - สุทธิ 19,343 84,793
ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 432,882 343,943
รวมรายได้ 1,554,659 1,127,916
ต้นทุนและค่าใช้จ่าย (หมายเหตุ 1)
ต้นทุนขายและบริการ 935,770 588,275
ค่าใช้จ่ายอื่น (หมายเหตุ 3) 481,351 335,473
ภาษีเงินได้ 60,949 29,966
รวมต้นทุนและค่าใช้จ่าย 1,478,070 953,714
กำไรสุทธิ 76,589 174,202
กำไรต่อหุ้น (บาท) 1.91 4.36
โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล
ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
วันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539
1. รายการบัญชีกับบริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น ต้นทุนขาย
และบริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริการเป็นรายการที่เกิดขึ้นกับบริษัทย่อย บริษัทร่วมและ
บริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน งบการเงินระหว่างกาลนี้ได้รวมผลของรายการดังกล่าวตามเกณฑ์ที่ตกลง
ร่วมกันระหว่างบริษัทและบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว ยอดคงเหลือที่มีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
เหล่านี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539 ได้แสดงแยกไว้ต่างหากในงบดุล
2. กำไรต่อหุ้น
กำไรต่อหุ้นสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539 คำนวณโดยการหาร
กำไรสุทธิด้วยจำนวนหุ้นที่ได้รับชำระแล้ว ณ วันที่ในงบดุล บริษัทไม่ได้แสดงกำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่
เพื่อการเปรียบเทียบ เนื่องจากการลดลงของกำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่ที่คำนวณได้มีจำนวนไม่เป็นสาระ
สำคัญ
3. หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ
ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศจำหน่าย
ในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น
100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาท
ตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพหรือไถ่ถอนเท่ากับ 2,455 ล้านบาท
หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 เมษายน 2548
อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ
500 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548
หรือ ใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ
1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการตามที่ระบุไว้ในหนังสือ
ชี้ชวน นอกจากนี้บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
2541 จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มรวมเป็นหุ้นละ 1,237 หรือ 1,310
เหรียญสหรัฐอเมริกาขึ้นกับระยะเวลาที่ไถ่ถอน ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดบาง
ประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
- 2 -
ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2539 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตราต่างประเทศ
จำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มเติมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 105 ล้านเหรียญสหรัฐ
อเมริกา (แบ่งเป็น 105,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือ
เทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพเท่ากับ 2,646
ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 4 เมษายน
2544 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพ
หุ้นละ 450 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 4 มีนาคม
2544 นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนเมษายน
2542 จนถึงวันที่ 3 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,210 เหรียญสหรัฐ
อเมริกา ในปี 2543 และ 1,272 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2544 ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข
และข้อกำหนดที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2538
ผู้ถือหุ้นมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท (แบ่งเป็น 40 ล้านหุ้น มูลค่า
หุ้นละ 10 บาท) เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และต่อมาได้
มีมติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46
ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท)
โดยให้สำรองหุ้นสามัญ จำนวนรวม 12 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้ เพื่อรองรับการใช้สิทธิในการแปลงสภาพหุ้นกู้
เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้จดทะเบียนมติเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อ วันที่ 27 มกราคม 2538
และวันที่ 20 มีนาคม 2539 ตามลำดับ
ในปี 2539 ราคาตลาดของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยทั่วไปรวมทั้งของ
บริษัทตกต่ำอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่นำหุ้นกู้มาแปลงสภาพตามจำนวนที่ประมาณไว้
ทั้งหมด ดังนั้น บริษัทจึงถือเป็นนโยบายที่จะบันทึกตั้งสำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับส่วนเพิ่มที่จะ
ต้องจ่ายหากผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด ในอัตราร้อยละ 80 ของส่วนเพิ่มทั้งหมดที่ต้องจ่ายใน
กรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ทั้งหมดใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดโดยเฉลี่ยตามระยะเวลาที่ให้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด
ฝ่ายบริหารเชื่อว่าสำรองจำนวนดังกล่าวเพียงพอ เนื่องจากราคาตลาดของหุ้นสามัญของบริษัทในปัจจุบัน
เป็นราคาในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ในภาวะตกต่ำผิดปกติและช่วงเวลาของการใช้
สิทธิแปลงสภาพก่อนกำหนดที่จะมีผลใช้บังคับยังมีเวลาอีกประมาณ 3 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่
1 และ 4 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 2 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 สำรองค่าใช้จ่ายทางการเงิน
ดังกล่าวมีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 369.5 ล้านบาท (รวมสำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับงวด
สามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2540 จำนวนประมาณ 66.3 ล้านบาท)
- 3 -
4. เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน
ในการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2540 ผู้ถือหุ้นได้มีมติอนุมัติให้
จ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิปี 2539 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 120,000,000 บาท(ในอัตรา
หุ้นละ 3 บาท)
5. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 บริษัทมี
ก. เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังไม่ได้ใช้เป็นจำนวนเงินประมาณ 1,348.2 ล้านบาท
ข. หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการประกันการประมูลงานกับลูกค้าเป็นจำนวนเงิน
รวมประมาณ 784.3 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้ให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันเพื่อค้ำประกันการ
ประมูลงานดังกล่าว
ค. ภาระผูกพันภายใต้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคารบางแห่งเป็น
จำนวนเงินเทียบเท่าประมาณ 7.3 ล้านบาท