งบการเงินระหว่างกาลงวดสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย 2540 และ 2539

29 August 1997
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ------------------------------------------------------------ งบการเงินระหว่างกาล สำหรับงวดสามเดือนและหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 และ รายงานของผู้สอบบัญชี ----------------------------------------------------------------- รายงานของผู้สอบบัญชี เสนอ คณะกรรมการบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 และงบกำไรขาดทุนสำหรับ งวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละงวดของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบใน การจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินและการสอบถาม เจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มีขอบเขตจำกัดกว่าการ ตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินมาก ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินที่สอบทานได้ บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย อย่างไรก็ดี ณ วันที่จัดทำ งบการเงินระหว่างกาลนี้ งบการเงินระหว่างกาลของบริษัทร่วมบางแห่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการบันทึกเงิน ลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียยังไม่ได้สอบทานโดยผู้สอบบัญชี เงินลงทุนในบริษัทร่วมเหล่านี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 มีจำนวนเงินรวมประมาณ 942.5 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 8.4 ของสินทรัพย์รวม ณ วันเดียวกัน ส่วนได้เสียในผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมเหล่านี้ที่แสดงรวมไว้ในงบกำไรขาดทุน สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 มียอดเป็นขาดทุนจำนวนเงินประมาณ 3 ล้านบาท และสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 มียอดเป็นกำไรจำนวนเงินประมาณ 6.3 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 18.85 และ 6.84 ของกำไรสุทธิสำหรับแต่ละงวดสิ้นสุดวันเดียวกัน ตามลำดับ - 2 - ยกเว้นผลของรายการปรับปรุงที่อาจมีขึ้นถ้าได้ทราบผลการสอบทานงบการเงินระหว่างกาลของ บริษัทร่วมดังกล่าวในวรรคที่สาม ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญอื่นซึ่งอาจจะต้องนำมาปรับปรุง งบการเงินระหว่างกาลนี้ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปจากการสอบทานของข้าพเจ้าดังกล่าว ข้างต้น (นายวิเชียร ธรรมตระกูล) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 3183 กรุงเทพมหานคร 18 สิงหาคม 2540 ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) งบดุล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 สิ น ท รั พ ย์ พันบาท 2540 2539 สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและเงินฝากธนาคาร 23,421 109,321 เงินลงทุนระยะสั้นในตั๋วสัญญาใช้เงิน 525,475 2,135,518 ลูกหนี้การค้า กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 2.1) 649,177 532,388 กิจการอื่น - สุทธิ 1,065,563 933,368 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 2.1) 688,591 145,595 สินค้าคงเหลือ - สุทธิ 1,855,942 1,084,639 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 196,875 247,527 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 5,005,044 5,188,356 เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม - วิธีส่วนได้เสีย (หมายเหตุ 2.1) 2,556,922 3,197,655 เงินลงทุนในบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน - ในราคาทุน (หมายเหตุ 2.1) 2,948,981 741,058 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 563,713 446,056 สินทรัพย์อื่น 158,595 223,238 รวมสินทรัพย์ 11,233,255 9,796,363 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) งบดุล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น พันบาท 2540 2539 หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 761,793 335,929 เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 2.1) 275,491 253,588 กิจการอื่น 681,867 312,019 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 443,560 384,047 รวมหนี้สินหมุนเวียน 2,162,711 1,285,583 หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ (หมายเหตุ 2.2) 5,297,200 5,105,855 เงินทุนเลี้ยงชีพพนักงาน 78,241 59,120 หนี้สินอื่น (หมายเหตุ 2.2) 428,521 190,000 รวมหนี้สิน 7,966,673 6,640,558 ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น - หุ้นสามัญ มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ทุนจดทะเบียน - 52,000,000 หุ้น หุ้นที่ออกและเรียกชำระเต็มมูลค่าแล้ว - 40,000,000 หุ้น (หมายเหตุ 2.2) 400,000 400,000 ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ 1,485,000 1,485,000 กำไรสะสม จัดสรรเพื่อทุนสำรอง (หมายเหตุ 2.3) 52,000 40,000 ที่ยังไม่ได้จัดสรร 1,329,582 1,230,805 รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 3,266,582 3,155,805 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 11,233,255 9,796,363 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) งบกำไรขาดทุน สำหรับงวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 พันบาท งวดสามเดือน งวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 2539 2540 2539 รายได้ (หมายเหตุ 2.1) ขายผลิตภัณฑ์และบริการ - สุทธิ 1,229,538 1,221,993 2,331,972 1,921,173 ส่วนได้เสียในกำไรของ บริษัทย่อยและบริษัทร่วม - สุทธิ 42,603 112,997 61,946 197,790 ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 133,184 460,642 566,067 804,585 รวมรายได้ 1,405,325 1,795,632 2,959,985 2,923,548 ต้นทุนและค่าใช้จ่าย (หมายเหตุ 2.1) ต้นทุนขายและบริการ 1,008,483 1,008,584 1,944,253 1,596,860 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (หมายเหตุ 2.2) 309,827 495,076 737,626 777,607 ดอกเบี้ยจ่าย 55,214 54,862 108,766 107,804 ภาษีเงินได้ 15,967 78,655 76,917 108,620 รวมต้นทุนและค่าใช้จ่าย 1,389,491 1,637,177 2,867,562 2,590,891 กำไรสุทธิ 15,834 158,455 92,423 332,657 กำไรต่อหุ้น (บาท) 0.40 3.96 2.31 8.32 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล วันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 1. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ บริษัทตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้จากลูกหนี้ ที่มีอยู่ จำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้นี้ประมาณขึ้นจากประสบการณ์การเรียกเก็บหนี้ในอดีต ควบคู่กับการวิเคราะห์ฐานะการเงินในปัจจุบันของลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ บริษัทตีราคาสินค้าคงเหลือในราคาทุนถัวเฉลี่ยหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า เงินลงทุนในหุ้นทุน บริษัทบันทึกเงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย ในกรณี ที่บริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมแสดงผลการดำเนินงานขาดทุน บริษัทจะหยุดบันทึกเงินลงทุน ตามวิธีส่วนได้เสียเมื่อยอดคงเหลือในบัญชีเงินลงทุนของบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนั้นลดลง เป็นศูนย์ซึ่งหลังจากนั้นจะไม่บันทึกรับรู้ส่วนแบ่งผลขาดทุนเพิ่มอีก บริษัทจะกลับมาบันทึกเงินลงทุน ตามวิธีส่วนได้เสียอีกครั้งก็ต่อเมื่อในเวลาต่อมาบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนั้นมีกำไร และส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวที่เป็นของบริษัทมีจำนวนเกินกว่าส่วนแบ่งผลขาดทุนที่บริษัทยังไม่ได้ บันทึกรับรู้เนื่องจากการหยุดใช้วิธีส่วนได้เสียดังกล่าว เงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันซึ่งถือไว้เป็นเงินลงทุนระยะยาวตีราคาใน ราคาทุน กำไรหรือขาดทุนจากเงินลงทุนดังกล่าวจะบันทึกบัญชีเมื่อจำหน่ายเงินลงทุนนั้นแล้ว ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชี บริษัทตัดค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณ ของสินทรัพย์เป็นเวลา 5 ปี ถึง 20 ปี ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่ายหุ้นกู้แปลงสภาพตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงเป็นเวลา 5 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ - 2 - รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ บริษัทบันทึกรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งมียอดคงเหลือ ณ วันที่ใน งบดุลแปลงค่าโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าวหรือตามอัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญา ซื้อขายล่วงหน้าแล้วแต่กรณี กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าบันทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงาน การรับรู้รายได้และต้นทุน บริษัทบันทึกรายได้ตามสัญญาซึ่งต้องใช้เวลาในการติดตั้งเป็นเวลานานตามสัดส่วน ของงานที่แล้วเสร็จ ส่วนต้นทุนที่เกี่ยวข้องจะบันทึกบัญชีเมื่อเกิดรายการ กำไรต่อหุ้น กำไรต่อหุ้นคำนวณโดยการหารกำไรสุทธิสำหรับงวดด้วยจำนวนหุ้นที่ได้รับชำระแล้ว ณ วันที่ในงบดุล บริษัทไม่ได้แสดงกำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่เพื่อการเปรียบเทียบ เนื่องจาก กำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่ที่คำนวณได้แตกต่างจากกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานในจำนวนที่ไม่เป็น สาระสำคัญ 2. ข้อมูลเพิ่มเติม 2.1 รายการบัญชีกับบริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ ค่าธรรมเนียม รายได้อื่น ต้นทุนขายและบริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเป็นรายการที่เกิดขึ้นกับ บริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันบางแห่ง บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดย การมีผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือผู้บริหารในตำแหน่งที่สำคัญร่วมกัน งบการเงินระหว่าง กาลนี้ได้รวมผลของรายการดังกล่าวตามเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกันระหว่างบริษัทกับบริษัท ที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว ยอดคงเหลือที่มีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 ได้แสดงแยกไว้ต่างหากในงบดุล - 3 - 2.2 หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงิน ต่างประเทศจำหน่ายในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อ ครบกำหนดแปลงสภาพหรือไถ่ถอนเท่ากับ 2,455 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 เมษายน 2548 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 500 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548 หรือใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคา บวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไขและ ข้อกำหนดบางประการตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน นอกจากนี้บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอน หุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2541 จนถึง วันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มรวมเป็นหุ้นละ 1,237 หรือ 1,310 เหรียญสหรัฐ อเมริกาขึ้นกับระยะเวลาที่ไถ่ถอน ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนด บางประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2539 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตรา ต่างประเทศจำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มเติมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 105 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 105,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อ ครบกำหนดแปลงสภาพเท่ากับ 2,646 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 4 เมษายน 2544 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้ สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 450 บาท ณ เวลา ใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2544 นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 จนถึงวันที่ 3 เมษายน 2544 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,210 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2543 และ 1,272 เหรียญสหรัฐอเมริกาในปี 2544 ทั้งนี้บริษัท ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน - 4 - เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้มีมติเมื่อ วันที่ 11 มกราคม 2538 ให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท (แบ่งเป็น 40 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และต่อมาได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียน ของบริษัทจาก 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) โดยให้สำรองหุ้นสามัญ จำนวนรวม 12 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้ เพื่อรองรับการใช้สิทธิในการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้จด ทะเบียนมติเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2538 และวันที่ 20 มีนาคม 2539 ตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ราคาตลาดของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยโดยทั่วไปรวมทั้งของบริษัทตกต่ำอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่ นำหุ้นกู้มาแปลงสภาพตามจำนวนที่ประมาณไว้ทั้งหมด ดังนั้น บริษัทจึงถือเป็นนโยบายที่จะ บันทึกตั้งสำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับส่วนเพิ่มที่จะต้องจ่ายหากผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิ ไถ่ถอนก่อนกำหนด ในอัตราร้อยละ 80 ของส่วนเพิ่มทั้งหมดที่ต้องจ่ายในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งหมดใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดโดยเฉลี่ยตามระยะเวลาที่ให้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด ฝ่ายบริหารเชื่อว่าสำรองจำนวนดังกล่าวเพียงพอ เนื่องจากราคาตลาดของหุ้นสามัญของ บริษัทในปัจจุบันเป็นราคาในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ในภาวะตกต่ำ ผิดปกติและช่วงเวลาของการใช้สิทธิแปลงสภาพก่อนกำหนดที่จะมีผลใช้บังคับยังมีเวลาอีก ประมาณ 3 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1 และ 4 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 2 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 สำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินดังกล่าวมีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ประมาณ 428.5 ล้านบาท (รวมสำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับงวดสามเดือน และหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 จำนวนประมาณ 59.1 ล้านบาทและ 125.4 ล้านบาท ตามลำดับ) 2.3 ทุนสำรอง บัญชีนี้ได้แก่ เงินสำรองที่บริษัทจัดสรรสะสมตามพระราชบัญญัติกฎหมายมหาชน ซึ่งกำหนดให้บริษัทจัดสรรทุนสำรองอย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิสำหรับปีหลังจาก หักยอดขาดทุนสะสมต้นปี (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรองจะมียอดเป็นร้อยละ 10 ของทุน จดทะเบียนของบริษัท ทุนสำรองนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้ - 5 - 2.4 ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 บริษัทมี ก. เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังไม่ได้ใช้เป็นจำนวนเงินประมาณ 1,551.49 ล้านบาท ข. หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการประกันการประมูลงานกับลูกค้าเป็นจำนวนเงิน รวมประมาณ 815.87 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้ให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันเพื่อค้ำ ประกัน การประมูลงานดังกล่าว ค. ภาระผูกพันภายใต้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคารบางแห่งเป็น จำนวนเงินเทียบเท่าประมาณ 238.36 ล้านบาท 2.5 การจัดประเภทบัญชีใหม่ รายการบัญชีบางรายการในงบการเงินระหว่างกาลสำหรับงวดปี 2539 ได้จัด ประเภทใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการแสดงรายการในงบการเงินระหว่างกาลสำหรับงวดปี 2540 2.6 เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 กระทรวงการคลังประกาศเปลี่ยนแปลงระบบอัตรา การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศใหม่เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวภาย ใต้การจัดการ ผลดังกล่าวทำให้บริษัทมีผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศสำหรับหนี้สิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 เป็นเงินรวมประมาณ 741.73 ล้านบาท คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งบริษัทยังไม่ได้บันทึกไว้ในบัญชีสำหรับไตรมาสสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540