งบการเงินระหว่างกาลรวมสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย 2540 และ 2539
29 August 1997
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
-----------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------
งบการเงินระหว่างกาลรวม
สำหรับงวดสามเดือนและหกเดือน
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539
และ
รายงานของผู้สอบบัญชี
-----------------------------------------------------------------
-----------------------------------------------------------------
-----
รายงานของผู้สอบบัญชี
เสนอ คณะกรรมการบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุลรวม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 และงบกำไร
ขาดทุนรวมสำหรับงวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด
(มหาชน) และบริษัทย่อยตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่ง
ประเทศไทย
การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
ระบบในการจัดทำงบการเงินระหว่างกาลรวม การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์
ข้อมูลทางการเงิน และการสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี
ซึ่งการสอบทานนี้มีขอบเขตจำกัดกว่าการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปเพื่อแสดง
ความเห็นต่องบการเงินรวมมาก ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินรวมที่สอบทานได้
บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย อย่างไรก็ดี ณ วันที่จัดทำงบการเงิน
ระหว่างกาลรวมนี้ งบการเงินระหว่างกาลของบริษัทร่วมบางแห่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการบันทึกเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสียยังไม่ได้สอบทานโดยผู้สอบบัญชี เงินลงทุนในบริษัทร่วมเหล่านี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน
2540 มีจำนวนเงินรวมประมาณ 942.5 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6.57 ของสินทรัพย์รวม ณ
วันเดียวกัน ส่วนได้เสียในผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมเหล่านี้ที่แสดงรวมไว้ในงบกำไรขาดทุนรวม
สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 มียอดเป็นขาดทุนจำนวนเงินประมาณ 3 ล้านบาท
และสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 มียอดเป็นกำไรจำนวนเงินประมาณ 6.3
ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10.35 และ 7.85 ของกำไรสุทธิรวมสำหรับแต่ละงวดสิ้นสุดวันเดียวกัน
ตามลำดับ
- 2 -
ยกเว้นผลของรายการปรับปรุงที่อาจมีขึ้นถ้าได้ทราบผลการสอบทานงบการเงินระหว่างกาล
ของบริษัทร่วมดังกล่าวในวรรคที่สาม ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญอื่นซึ่งอาจจะต้องนำมาปรับปรุง
งบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปจากการสอบทานของข้าพเจ้า
ดังกล่าวข้างต้น
(นายวิเชียร ธรรมตระกูล)
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ทะเบียนเลขที่ 3183
กรุงเทพมหานคร
20 สิงหาคม 2540
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
สอบทานแล้ว
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
งบดุลรวม
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539
สิ น ท รั พ ย์
พันบาท
2540 2539
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและเงินฝากธนาคาร 146,604 234,315
เงินลงทุนระยะสั้นในตั๋วสัญญาใช้เงิน 658,923 2,348,686
ลูกหนี้การค้า
กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 3.1) 340,745 171,520
กิจการอื่น - สุทธิ 2,758,530 2,061,528
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 3.1) 760,190 125,403
สินค้าคงเหลือ - สุทธิ 2,343,321 1,439,839
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 351,935 354,444
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 7,360,248 6,735,735
เงินลงทุนในบริษัทร่วม - วิธีส่วนได้เสีย (หมายเหตุ 3.1) 1,460,633 2,671,062
เงินลงทุนในบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน - ในราคาทุน (หมายเหตุ 3.1) 2,869,901 746,740
เงินลงทุนในกิจการร่วมค้า - ราคาทุน 9,577 1,742
เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 3.1) 3,319 -
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ (หมายเหตุ 3.5) 1,946,739 1,583,474
สินทรัพย์อื่น (หมายเหตุ 1) 697,092 367,385
รวมสินทรัพย์ 14,347,509 12,106,138
โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล
ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
สอบทานแล้ว
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
งบดุลรวม
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
พันบาท
2540 2539
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 1,900,751 958,268
เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย
กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 3.1) 384,981 283,056
กิจการอื่น 1,190,188 719,467
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 3.1) 10,833 8,500
เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้าส่วนที่ถึงกำหนดในหนึ่งปี 308,390 173,166
เงินกู้ยืมระยะยาวส่วนที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี
(หมายเหตุ 3.2) 74,674 193,403
ภาษีเงินได้ค้างจ่าย 92,018 113,516
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 429,108 386,261
รวมหนี้สินหมุนเวียน 4,390,943 2,835,637
เงินกู้ยืมระยะยาว - สุทธิจากส่วนที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี
(หมายเหตุ 3.2) 314,541 366,392
เงินกู้ยืมระยะยาวจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 3.1) 1,956 -
เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า 217,883 174,541
หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ (หมายเหตุ 3.3) 5,297,200 5,105,855
เงินทุนเลี้ยงชีพพนักงาน 100,015 74,345
หนี้สินอื่น (หมายเหตุ 3.3) 430,649 192,431
รวมหนี้สิน 10,753,187 8,749,201
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อย 398,945 308,634
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
สอบทานแล้ว
- 2 -
พันบาท
2540 2539
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนเรือนหุ้น - หุ้นสามัญ มูลค่าหุ้นละ 10 บาท
ทุนจดทะเบียน - 52,000,000 หุ้น
หุ้นที่ออกและเรียกชำระเต็มมูลค่าแล้ว
- 40,000,000 หุ้น (หมายเหตุ 3.3) 400,000 400,000
ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ 1,485,000 1,485,000
ส่วนปรับปรุงจากการแปลงค่างบการเงินที่เป็นเงินตรา
ต่างประเทศ (714) -
กำไรสะสม
จัดสรรเพื่อทุนสำรอง (หมายเหตุ 3.4) 52,000 40,000
ที่ยังไม่ได้จัดสรร 1,259,091 1,123,303
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 3,195,377 3,048,303
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 14,347,509 12,106,138
โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล
ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
สอบทานแล้ว
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
งบกำไรขาดทุนรวม
สำหรับงวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539
พันบาท
งวดสามเดือน งวดหกเดือน
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
2540 2539 2540 2539
รายได้ (หมายเหตุ 3.1)
ขายผลิตภัณฑ์และบริการ - สุทธิ 2,494,996 2,355,899 4,899,967 3,974,406
ส่วนได้เสียในกำไรของ
บริษัทร่วม-สุทธิ 24,949 115,030 68,897 206,076
ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 170,683 477,319 637,968 832,341
รวมรายได้ 2,690,628 2,948,248 5,606,832 5,012,823
ต้นทุนและค่าใช้จ่าย (หมายเหตุ 3.1)
ต้นทุนขายและบริการ 1,867,444 1,791,559 3,713,556 3,002,271
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
(หมายเหตุ 3.3) 640,660 815,134 1,498,199 1,429,033
ดอกเบี้ยจ่าย 99,841 84,992 199,206 168,861
ภาษีเงินได้ 31,015 103,108 106,989 137,071
รวมต้นทุนและค่าใช้จ่าย 2,638,960 2,794,793 5,517,950 4,737,236
กำไรก่อนขาดทุนสุทธิของบริษัทย่อย
ก่อนซื้อเงินลงทุนและส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนน้อยในกำไรสุทธิของบริษัทย่อย 51,668 153,455 88,882 275,587
ขาดทุนสุทธิของบริษัทย่อยก่อนซื้อเงินลงทุน - 312 - 312
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในขาดทุน
(กำไร) สุทธิของบริษัทย่อย (22,843) (10,361) (8,242) 7,655
กำไรสุทธิ 28,825 143,406 80,640 283,554
กำไรต่อหุ้น (บาท) 0.72 3.59 2.02 7.09
โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล
ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม
วันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539
1. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม
งบการเงินรวมนี้ได้รวมบัญชีของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทต่าง ๆ ซึ่ง
เป็นบริษัทย่อยหรือบริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม ดังต่อไปนี้
อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง
ณ วันที่ 30 มิถุนายน
2540 2539
บริษัทย่อย
บริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น
เทคโนโลยี จำกัด 99 99
บริษัท ล็อกซเล่ย์ เมียนมาร์ จำกัด
(ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 99
บริษัท ล็อกซเล่ย์ ไวร์เลส จำกัด
(เดิมชื่อบริษัท เซลลูล่าร์ โปรดักส์ แอนด์
เซอร์วิส จำกัด) 99 99
บริษัท จาโก จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทิลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด 90 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ คอมแวร์ จำกัด 70 70
บริษัท ล็อกซเล่ย์ แปซิฟิก จำกัด 70 -
บริษัท โปรเฟสชั่นนัลคอมพิวเตอร์ จำกัด - 67
บริษัท โอเพ่น ซีสเต็ม อินทิเกรเตอร์ จำกัด 67 67
บริษัท ล็อกซเล่ย์ นิวเท็ค จำกัด 67 67
บริษัท การค้าลาว จำกัด 67 67
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น จำกัด 65 65
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด 65 65
บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาส แอนด์ มีเดีย จำกัด 60 60
- 2 -
อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง
ณ วันที่ 30 มิถุนายน
2540 2539
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟรา จำกัด 60 60
บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์
(ประเทศไทย) จำกัด 55 55
บริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด 55 55
บริษัท ล็อกซ์ดาต้า จำกัด 52 52
บริษัท ล็อกซเล่ย์ แซทเทลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์
จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 51 51
บริษัท ทีเอ็นที ลอจีสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด - 51
บริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
มีอำนาจควบคุม
บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด
(เดิมชื่อบริษัท ธนากรเทรดดิ้ง จำกัด) 50 50
บริษัท ล็อกซเล่ย์ พลังงาน จำกัด
(ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 45 45
บริษัท ล็อกซเล่ย์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด 40 40
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์กราฟ (ประเทศไทย) จำกัด - 40
รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัทต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น
ได้แสดงหักกลบลบกันในงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้แล้ว
ในเดือนพฤษภาคม 2537 บริษัทได้ลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม-
มิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย)จำกัด (ฮัทชิสัน) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55
ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้นของฮัทชิสัน บริษัทต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของ
บริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นผลให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "เงินลงทุนในบริษัทย่อย
ส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ
12 ปี ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 มีจำนวนเงินประมาณ 24.9
ล้านบาท
- 3 -
อนึ่ง เนื่องจากบริษัทถือหุ้นในบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด
("ฮัทชิสัน") เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55 ในเดือนพฤษภาคม 2537 ดังกล่าว
ข้างต้น ดังนั้น บริษัทจึงเปลี่ยนแปลงการรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนในบริษัทดังกล่าวที่มีอยู่เดิม
และที่เกิดขึ้นใหม่โดยในช่วงที่บริษัทถือหุ้นของบริษัทนี้เพียงร้อยละ 45 บริษัทบันทึกบัญชีเงิน
ลงทุนในฮัทชิสันตามวิธีส่วนได้เสีย บริษัทจึงไม่ได้บันทึกรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนที่เป็นส่วนของ
บริษัทในงบการเงิน อย่างไรก็ดี เมื่อบริษัทถือหุ้นเป็นร้อยละ 55 บริษัทต้องนำงบการเงินของ
ฮัทชิสันมาจัดทำงบการเงินรวม ในการนี้ บริษัทได้บันทึกรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนของฮัทชิสัน
ทั้งหมดในงบการเงินรวมด้วย ผลขาดทุนดังกล่าวได้รวมผลขาดทุนในฮัทชิสันที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนน้อยจำนวน 60.4 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้บันทึกรอตัดบัญชีไว้ในบัญชีสินทรัพย์อื่น และตัดบัญชีเป็น
ค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงภายในเวลาประมาณ 12 ปี นอกจากนี้ บริษัทจะนำส่วนแบ่งกำไรของ
ฮัทชิสันที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาหักออกจากยอดที่ยังตัดบัญชีไม่หมดเมื่อฮัทชิสันมีกำไรด้วย
อย่างไรก็ตาม ในปี 2539 ฮัทชิสันได้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัททำให้ขาดทุนสะสมเกินทุนของ
ฮัทชิสันหมดไป บริษัทจึงได้ปรับปรุงยอดคงเหลือในขาดทุนสะสมเกินทุนส่วนที่เป็นของ ผู้ถือหุ้น
ส่วนน้อยที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีจำนวนเงินรวมประมาณ 35.8 ล้านบาท กับส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยใน
ฮัทชิสันซึ่งเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุนดังกล่าว
บริษัทได้นำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท ธนากร
เทรดดิ้ง จำกัด) ซึ่งบริษัทลงทุนไว้ร้อยละ 50 ในเดือนพฤษภาคม 2537 มารวมในการจัดทำงบ
การเงินรวมด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีอำนาจในการควบคุม ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้นของบริษัท
ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัทได้จ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว
ซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่า
สินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี ณ วันที่ 30
มิถุนายน 2540 ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี มีจำนวนเงินประมาณ 41.3 ล้านบาท นอกจากนี้
ในการนำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด มาจัดทำงบการเงินรวมนั้น บริษัทได้
บันทึกผลขาดทุนในขาดทุนสะสมเกินทุนของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด ทั้งหมดในงบการเงิน
รวมด้วย ผลขาดทุนดังกล่าวได้รวมผลขาดทุนที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวน 27 ล้านบาท
ซึ่งบริษัทได้บันทึกรอตัดบัญชีไว้ในบัญชีสินทรัพย์อื่นและตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี
อย่างไรก็ดี บริษัทได้นำส่วนแบ่งในกำไรของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด เฉพาะที่เป็น
ของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาหักออกจากยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวหมดแล้วในปี 2538
- 4 -
ในระหว่างไตรมาสที่สามของปี 2539 บริษัทได้เข้าลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ล็อกซเล่ย์
ยูทิลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด จำนวนร้อยละ 90 ในการนี้ บริษัทได้จ่ายเงินค่าหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์
สุทธิของบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "เงินลงทุนใน
บริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา
ประมาณ 15 ปี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมี
จำนวนเงินประมาณ 55.5 ล้านบาท
2. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
บริษัทและบริษัทย่อยตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้
จากลูกหนี้ที่มีอยู่ จำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้นี้ประมาณขึ้นจากประสบการณ์การเรียกเก็บ
หนี้ในอดีตควบคู่กับการวิเคราะห์ฐานะการเงินในปัจจุบันของลูกหนี้
สินค้าคงเหลือ
บริษัทและบริษัทย่อยตีราคาสินค้าคงเหลือในราคาทุนถัวเฉลี่ยหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า
เงินลงทุนในหุ้นทุน
บริษัทบันทึกเงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย ในกรณีที่บริษัทร่วม
แสดงผลการดำเนินงานขาดทุน บริษัทจะหยุดบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียเมื่อยอดคงเหลือ
ในบัญชีเงินลงทุนของบริษัทร่วมนั้นลดลงเป็นศูนย์ซึ่งหลังจากนั้นจะไม่บันทึกรับรู้ส่วนแบ่งผลขาดทุน
เพิ่มอีก บริษัทจะกลับมาบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียอีกครั้งก็ต่อเมื่อในเวลาต่อมา บริษัท
ร่วมนั้นมีกำไร และส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวที่เป็นของบริษัทมีจำนวนเกินกว่าส่วนแบ่งผลขาดทุน
ที่บริษัทยังไม่ได้บันทึกรับรู้เนื่องจากมีการหยุดใช้วิธีส่วนได้เสียดังกล่าว
เงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันซึ่งถือไว้เป็นเงินทุนระยะยาวตีราคา
ในราคาทุน กำไรหรือขาดทุนจากเงินลงทุนดังกล่าวจะบันทึกบัญชีเมื่อจำหน่ายเงินลงทุนนั้นแล้ว
- 5 -
ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชี
บริษัทและบริษัทย่อยตัดค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการ
ใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์เป็นเวลา 5 ปี ถึง 25 ปี เครื่องมือและอุปกรณ์ภายใต้สัญญา
บริการที่ผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้คู่สัญญาตามที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงิน 3.5
ตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายตามอายุของสัญญาที่เกี่ยวข้อง
ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่ายหุ้นกู้แปลงสภาพบริษัทตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงเป็น
เวลา 5 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ
รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
บริษัทและบริษัทย่อยบันทึกรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทโดยใช้
อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งมียอด
คงเหลือ ณ วันที่ในงบดุล แปลงค่าโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าวหรือตามอัตราแลก
เปลี่ยนตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้วแต่กรณี กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าบันทึกเป็นรายได้
หรือ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
การรับรู้รายได้และต้นทุน
บริษัทและบริษัทย่อยบันทึกรายได้ตามสัญญาซึ่งต้องใช้เวลาในการติดตั้งเป็นเวลานาน
ตามสัดส่วนของงานที่แล้วเสร็จ ส่วนต้นทุนที่เกี่ยวข้องจะบันทึกบัญชีเมื่อเกิดรายการ
กำไรต่อหุ้น
กำไรต่อหุ้นคำนวณโดยการหารกำไรสุทธิรวมสำหรับงวดด้วยจำนวนหุ้นที่มีอยู่ ณ วันที่
ในงบดุล บริษัทไม่ได้แสดงกำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่เพื่อการเปรียบเทียบ เนื่องจากกำไรต่อหุ้น
แบบลดลงเต็มที่ที่คำนวณได้แตกต่างจากกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานในจำนวนที่ไม่เป็นสาระสำคัญ
(ยังมีต่อ)