งบการเงินระหว่างกาลงวดสามเดือนและเก้าเดือนบมจ.ล็อกซเล่ย์

01 December 1997
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ----------------------------------------------------------------- ----------------------------------------- งบการเงินระหว่างกาล สำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 และ รายงานของผู้สอบบัญชี ----------------------------------------------------------------- ----------------------------------------------------------------- ------- รายงานของผู้สอบบัญชี เสนอ คณะกรรมการบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุล ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 และงบกำไรขาดทุนสำหรับ งวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ตามมาตรฐาน ที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ระบบในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน และการสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มี ขอบเขตจำกัดกว่าการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อแสดงความเห็นต่อ งบการเงินมาก ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินที่สอบทานได้ บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย อย่างไรก็ตาม ณ วันที่ จัดทำงบการเงินระหว่างกาลนี้ งบการเงินระหว่างกาลของบริษัทร่วมบางแห่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการ บันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียยังไม่ได้สอบทานโดยผู้สอบบัญชี เงินลงทุนในบริษัทร่วมเหล่านี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 มีจำนวนเงินรวมประมาณ 920.83 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของสินทรัพย์รวม ณ วันเดียวกัน ส่วนได้เสียในผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมเหล่านี้ที่แสดงรวม ไว้ในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 มียอดเป็น ขาดทุนจำนวนเงินประมาณ 9.04 ล้านบาท และ 2.71 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.35 และ 0.11 ของขาดทุนสุทธิสำหรับแต่ละงวดสิ้นสุดวันเดียวกันตามลำดับ - 2 - ยกเว้นผลของรายการปรับปรุงที่อาจมีขึ้นถ้าได้ทราบผลการสอบทานงบการ เงินระหว่างกาลของบริษัทร่วมดังกล่าวในวรรคที่สาม ข้าพเจ้าไม่พบสิ่ง ที่เป็นสาระสำคัญอื่นซึ่งอาจจะต้องนำมาปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาล นี้ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปจากการสอบทานของข้าพเจ้าดังกล่าวข้างต้น (นายวิเชียร ธรรมตระกูล) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 3183 กรุงเทพมหานคร 14 พฤศจิกายน 2540 ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) งบดุล ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 สิ น ท รั พ ย์ พันบาท 2540 2539 สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและเงินฝากธนาคาร 417,707 217,584 เงินลงทุนระยะสั้นในตั๋วสัญญาใช้เงิน 305,490 1,851,527 ลูกหนี้การค้า กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จำนวนประมาณ 110 ล้านบาท ในปี 2540 (หมายเหตุ 2.1) 442,928 354,945 กิจการอื่น - สุทธิจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 43 ล้านบาท ในปี 2540 และ 43.18 ล้านบาท ในปี 2539 1,185,365 855,736 สินค้าคงเหลือ - สุทธิ 1,426,898 1,386,192 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 2.1) 355,044 119,503 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (หมายเหตุ 2.1) 475,290 365,621 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 4,608,722 5,151,108 เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม - วิธีส่วนได้เสีย (หมายเหตุ 2.1) 2,491,860 3,589,444 เงินลงทุนในบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน - ในราคาทุน (หมายเหตุ 2.1) 2,631,920 742,856 เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 2.1) 375,000 - ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 557,728 489,349 สินทรัพย์อื่น 179,027 214,521 รวมสินทรัพย์ 10,844,257 10,187,278 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) งบดุล ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น พันบาท 2540 2539 หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 1,009,556 492,713 เจ้าหนี้และตั๋วเงินจ่ายการค้า กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 2.1) 162,987 234,108 กิจการอื่น 406,382 401,703 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 332,385 410,048 รวมหนี้สินหมุนเวียน 1,911,310 1,538,572 หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ (หมายเหตุ 2.2) 7,506,485 5,105,855 หนี้สินอื่น (หมายเหตุ 2.2) 775,464 292,750 รวมหนี้สิน 10,193,259 6,937,177 ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น - หุ้นสามัญ มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ทุนจดทะเบียน - 52,000,000 หุ้น หุ้นที่ออกและเรียกชำระเต็มมูลค่าแล้ว - 40,000,000 หุ้น (หมายเหตุ 2.4) 400,000 400,000 ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ 1,485,000 1,485,000 กำไร (ขาดทุน) สะสม จัดสรรเพื่อทุนสำรองตามกฎหมาย (หมายเหตุ 2.3) 52,000 52,000 ที่ยังไม่ได้จัดสรร (1,286,002) 1,313,101 ส่วนของผู้ถือหุ้น - สุทธิ 650,998 3,250,101 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 10,844,257 10,187,278 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) งบกำไรขาดทุน สำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 พันบาท งวดสามเดือน งวดเก้าเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 2539 2540 2539 รายได้ (หมายเหตุ 2.1) ขายผลิตภัณฑ์และบริการ - สุทธิ 1,252,490 927,828 3,584,463 2,849,001 ส่วนได้เสียในกำไร (ขาดทุน) ของ บริษัทย่อยและบริษัทร่วม - สุทธิ (53,114) 139,993 8,832 337,783 ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 229,544 211,754 795,610 1,016,339 รวมรายได้ 1,428,920 1,279,575 4,388,905 4,203,123 ต้นทุนและค่าใช้จ่าย (หมายเหตุ 2.1) ต้นทุนขายและบริการ 1,123,711 785,978 3,067,964 2,382,839 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 355,217 318,737 961,781 899,568 ดอกเบี้ยจ่าย 92,698 50,048 201,464 157,827 ค่าตอบแทนกรรมการ 1,225 1,230 6,610 8,030 ค่าใช้จ่ายอื่น (หมายเหตุ 2.2) 266,035 38,975 391,712 228,975 รวมต้นทุนและค่าใช้จ่าย 1,838,886 1,194,968 4,629,531 3,677,239 กำไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้และก่อน รายการพิเศษ (409,966) 84,607 (240,626) 525,884 ภาษีเงินได้ (76,917) (9,690) - 98,930 กำไร (ขาดทุน) ก่อนรายการพิเศษ (333,049) 94,297 (240,626) 426,954 รายการพิเศษ (หมายเหตุ 2.4) (2,282,535) - (2,282,535) - กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (2,615,584) 94,297 (2,523,161) 426,954 กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น (บาท) กำไร (ขาดทุน) ก่อนรายการพิเศษ (8.33) 2.36 (6.02) 10.67 รายการพิเศษ (57.06) - (57.06) - กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (65.39) 2.36 (63.08) 10.67 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล วันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 1. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ บริษัทตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้จากลูกหนี้ที่มีอยู่ จำนวน หนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้นี้ประมาณขึ้นจากประสบการณ์การเรียกเก็บหนี้ในอดีตควบคู่กับการวิเคราะห์ ฐานะการเงินในปัจจุบันของลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ บริษัทตีราคาสินค้าคงเหลือในราคาทุนถัวเฉลี่ยหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า เงินลงทุนในหุ้นทุน บริษัทบันทึกเงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย ในกรณีที่บริษัทย่อย และ/หรือบริษัทร่วมแสดงผลการดำเนินงานขาดทุน บริษัทจะหยุดบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียเมื่อ ยอดคงเหลือในบัญชีเงินลงทุนของบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนั้นลดลงเป็นศูนย์ซึ่งหลังจากนั้นจะไม่ บันทึกรับรู้ส่วนแบ่งผลขาดทุนเพิ่มอีก บริษัทจะกลับมาบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียอีกครั้งก็ต่อเมื่อ ในเวลาต่อมาบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนั้นมีกำไรและส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวที่เป็นของบริษัทมี จำนวนเกินกว่าส่วนแบ่งผลขาดทุนที่บริษัทยังไม่ได้บันทึกรับรู้เนื่องจากการหยุดใช้วิธีส่วนได้เสียดังกล่าว เงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันซึ่งถือไว้เป็นเงินลงทุนระยะยาวตีราคาในราคาทุน กำไรหรือขาดทุนจากเงินลงทุนดังกล่าวจะบันทึกบัญชีเมื่อจำหน่ายเงินลงทุนนั้นแล้ว ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชี บริษัทตัดค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์ เป็นเวลา 5 ปี ถึง 20 ปี ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่ายหุ้นกู้แปลงสภาพตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงเป็นเวลา 5 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ - 2 - รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ บริษัทบันทึกรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งมียอดคงเหลือ ณ วันที่ในงบดุลแปลงค่า โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าวหรือตามอัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้วแต่กรณี กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าบันทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในงวดปัจจุบัน การรับรู้รายได้และต้นทุน บริษัทบันทึกรายได้ตามสัญญาซึ่งต้องใช้เวลาในการติดตั้งเป็นเวลานานตามสัดส่วนของงานที่แล้ว เสร็จ ส่วนต้นทุนที่เกี่ยวข้องจะบันทึกบัญชีเมื่อเกิดรายการ กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นคำนวณโดยการหารกำไร (ขาดทุน) สุทธิสำหรับงวดด้วยจำนวนหุ้นที่ได้รับ ชำระแล้ว ณ วันที่ในงบดุล บริษัทไม่ได้แสดงกำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่เพื่อเปรียบเทียบเนื่องจากกำไร ต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่ที่คำนวณได้แตกต่างจากกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานในจำนวนที่ไม่เป็นสาระสำคัญ 2. ข้อมูลเพิ่มเติม 2.1 รายการบัญชีกับบริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ ค่าธรรมเนียม รายได้อื่น ต้นทุนขายและ บริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเป็นรายการที่เกิดขึ้นกับบริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่ เกี่ยวข้องกันบางแห่ง บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดยการมีผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือผู้บริหารใน ตำแหน่งที่สำคัญร่วมกัน งบการเงินระหว่างกาลนี้ได้รวมผลของรายการดังกล่าวตามเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกัน ระหว่างบริษัทกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว ยอดคงเหลือที่มีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 ได้แสดงแยกไว้ต่างหากในงบดุล - 3 - 2.2 หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศจำหน่าย ในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพหรือไถ่ถอนเท่ากับ 2,455 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 เมษายน 2548 อย่างไรก็ตามผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 500 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548 หรือใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการตามที่ระบุไว้ในหนังสือ ชี้ชวน นอกจากนี้บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2541 จนถึง วันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มรวมเป็นหุ้นละ 1,237 หรือ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกาขึ้นกับระยะเวลาที่ไถ่ถอน ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดบาง ประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2539 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตราต่างประเทศ จำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มเติมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 105 ล้านเหรียญสหรัฐ อเมริกา (แบ่งเป็น 105,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือ เทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพเท่ากับ 2,646 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 4 เมษายน 2544 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลง สภาพหุ้นละ 450 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2544 นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่ เดือนเมษายน 2542 จนถึงวันที่ 3 เมษายน 2544 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,210 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2543 และ 1,272 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2544 ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติ ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน - 4 - เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้มีมติเมื่อ วันที่ 11 มกราคม 2538 ให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท(แบ่งเป็น 40 ล้านหุ้นมูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และต่อมาได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท)โดยให้สำรองหุ้นสามัญ จำนวนรวม 12 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้ เพื่อรองรับการใช้สิทธิในการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้จด ทะเบียนมติเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2538 และวันที่ 20 มีนาคม 2539 ตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ราคาตลาดของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดย ทั่วไปรวมทั้งของบริษัทตกต่ำอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่นำหุ้นกู้มาแปลงสภาพตามจำนวน ที่ประมาณไว้ทั้งหมด ดังนั้น บริษัทจึงถือเป็นนโยบายที่จะบันทึกตั้งสำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับส่วน เพิ่มที่จะต้องจ่ายหากผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด ในอัตราร้อยละ 80 ของส่วนเพิ่มทั้งหมดที่ต้องจ่าย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ทั้งหมดใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดโดยเฉลี่ยตามระยะเวลาที่ให้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดฝ่าย บริหารเชื่อว่าสำรองจำนวนดังกล่าวเพียงพอ เนื่องจากราคาตลาดของหุ้นสามัญของบริษัทในปัจจุบันเป็น ราคาในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ในภาวะตกต่ำผิดปกติและช่วงเวลาของการใช้สิทธิแปลง สภาพก่อนกำหนดที่จะมีผลใช้บังคับยังมีเวลาอีกประมาณ 3 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1 และ 4 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 2 ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 สำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินดังกล่าว มี จำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 694.6 ล้านบาท (รวมสำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับงวดสามเดือน และเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 จำนวนประมาณ 266.0 ล้านบาทและ 391.4 ล้านบาท ตามลำดับ) 2.3 ทุนสำรอง บัญชีนี้ได้แก่ เงินสำรองที่บริษัทจัดสรรสะสมตามพระราชบัญญัติกฎหมายมหาชนซึ่งกำหนดให้บริษัท จัดสรรทุนสำรองอย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิสำหรับปีหลังจากหักยอดขาดทุนสะสมต้นปี (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรองจะมียอดเป็นร้อยละ 10 ของทุนดทะเบียนของบริษัท ทุนสำรองนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงิน ปันผลไม่ได้ - 5 - 2.4 รายการพิเศษ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 กระทรวงการคลังได้ประกาศเปลี่ยนแปลงระบบอัตราการแลก เปลี่ยนเงินตราต่างประเทศใหม่เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ ผล ดังกล่าวทำให้บริษัทมีผลเสียหายสุทธิจากการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สำหรับหนี้สินสุทธิที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าไว้ สำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 เป็นจำนวนเงิน 2,282.5 ล้านบาท ซึ่งคำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 ผลเสียหายดังกล่าวประกอบด้วย ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงและที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงเป็นจำนวนเงินประมาณ 24 ล้านบาท และ 2,258.5 ล้านบาท ตามลำดับ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 002/2540-2542 ลงวันที่ 19 กันยายน 2540 บริษัทได้บันทึกผลเสียหายดังกล่าวในบัญชีกำไร(ขาดทุน) จากการใช้ระบบแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว สำหรับไตรมาสสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 และ แสดงเป็นรายการพิเศษแยกต่างหากในงบกำไรขาดทุน 2.5 ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 บริษัทมี ก. เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังไม่ได้ใช้เป็นจำนวนเงินประมาณ 1,570.35 ล้านบาท ข. หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการประกันการประมูลงานกับลูกค้าเป็นจำนวนเงินรวม ประมาณ 874.56 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้ให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันเพื่อค้ำประกัน การประมูลงาน ดังกล่าว ค. ภาระผูกพันภายใต้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคารบางแห่งเป็น จำนวนเงินเทียบเท่าประมาณ 1,274.77 ล้านบาท - 6 - 2.6 การจัดประเภทบัญชีใหม่ รายการบัญชีบางรายการในงบการเงินระหว่างกาลสำหรับงวดปี 2539 ได้จัดประเภทใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการแสดงรายการในงบการเงินระหว่างกาลสำหรับงวดปี 2540