งบการเงินระหว่างกาล บมจ.ล็อกซเล่ย์ และบริษัทย่อย (ต่อ2)
31 August 1998
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทย่อย
หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
วันที่ 30 มิถุนายน 2541 และ 2540
1. ผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ
งบการเงินระหว่างกาลสำหรับงวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุด วันที่ 30 มิถุนายน 2541
นี้ได้รวมผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินที่มีต่อบริษัท บริษัทย่อย และบริษัท
ร่วมเท่าที่บริษัทดังกล่าวทราบและสามารถประมาณการได้ วิกฤติการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจาก
ความผันผวนของค่าเงินตราสกุลต่างๆ ของประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ตลาดหุ้น อัตรา
ดอกเบี้ยและภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ซบเซาและถดถอยอย่างต่อเนื่องในปี 2540 ถึงปัจจุบัน
ภาวะวิกฤติดังกล่าวยัง คงมีอยู่และอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท บริษัทย่อยและ
บริษัทร่วมอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกในอนาคต ผลที่สุดของความไม่แน่นอนในอนาคต ยังไม่สามารถ
ทราบได้ในปัจจุบันงบการเงินระหว่างกาลสำหรับงวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
2541 นี้ จึงไม่ได้รวมรายการปรับปรุงที่อาจมีขึ้นจากผลของความไม่แน่นอนในอนาคต ดังกล่าว
อย่างไรก็ดี บริษัทดังกล่าวจะรายงานผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไว้ในงบการเงินเมื่อทราบ
และสามารถประมาณการได้
2. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินระหว่างกาลรวม
งบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ได้รวมบัญชีของ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และ
บริษัทต่าง ๆ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นโดยทางตรงหรือ
ทางอ้อมหรือบริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม ดังต่อไปนี้
อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง
ณ วันที่ 30 มิถุนายน
2541 2540
ทางตรง ทางอ้อม ทางตรง ทางอ้อม
บริษัทย่อย
บริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด 99 - 99 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ เมียนมาร์ จำกัด
(ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 99 -
- 2 -
อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง
ณ วันที่ 30 มิถุนายน
2541 2540
ทางตรง ทางอ้อม ทางตรง ทางอ้อม
บริษัท ล็อกซเล่ย์ ไวร์เลส จำกัด 99 - 99 -
บริษัท จาโก จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 99 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ พลังงาน จำกัด
(ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 45 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทีลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด 90 - 90 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ คอมแวร์ จำกัด 70 - 70 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ แปซิฟิค จำกัด 70 - 70 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ นิวเท็ค จำกัด 67 - 67 -
บริษัท การค้าลาว จำกัด 67 - 67 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาสท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด 60 - 60 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟรา จำกัด 60 - 60 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด 55 - 55 -
บริษัท ล็อกซ์ดาต้า จำกัด 52 - 52 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ แซทเทลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด
(ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 51 - 51 -
บริษัท โปรเฟสชั่นนัล คอมพิวเตอร์ จำกัด - 99 - 99
บริษัท เน็ทวัน เน็ทเวิร์ค โซลูชั่น จำกัด - 98 49 -
บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด - 55 55 -
บริษัท โอเพ่น ซิสเต็มส์ อินทิเกรเตอร์ จำกัด - 83 67 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น จำกัด - 65 65 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด - 65 65 -
- 3 -
อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง
ณ วันที่ 30 มิถุนายน
2541 2540
ทางตรง ทางอ้อม ทางตรง ทางอ้อม
บริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม
บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด 50 - 50 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 40 - 40 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์กราฟ (ประเทศไทย) จำกัด - - - 50
บริษัท ไดนามิค อินทิเกรเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด - - - 50
บริษัท นอร์ธ-อีสท์ เอเซีย เทเลโฟน แอนท์
เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด - 49 - 49
บริษัท ล็อกซเล่ย์ วีดีโอ โพสต์ (กรุงเทพ) จำกัด - 31 - 31
รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยต่างๆ ดังกล่าว
ข้างต้นได้แสดงหักกลบลบกันในงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้แล้ว
ในเดือนพฤษภาคม 2537 บริษัทได้ลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม-
มิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฮัทชิสัน) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55
ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้นของฮัทชิสัน บริษัทต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของ
บริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นผลให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "เงินลงทุนในบริษัทย่อย
ส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ
12 ปี ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 มีจำนวนเงินประมาณ 24.9
ล้านบาท
ในเดือนสิงหาคม 2540 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ซื้อหุ้นทุนของฮัทชิสันทั้งหมดจากบริษัท
และผู้ถือหุ้นรายอื่น ในการนี้ บริษัทย่อยดังกล่าวต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ
ของบริษัทดังกล่าว ซึ่งได้แสดงไว้ในบัญชี " เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ "
ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งบริษัทย่อยตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ 8 ปี ยอดคงเหลือที่
ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 มีจำนวนเงินประมาณ 77.9 ล้านบาท
- 4 -
บริษัทได้นำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งบริษัทลงทุนไว้ร้อยละ 50
ในเดือนพฤษภาคม 2537 มารวมในการจัดทำงบการเงินรวมด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีอำนาจ
ในการควบคุม ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้นของ บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัทได้จ่ายเงินค่า
ซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่าง
ดังกล่าวไว้ในบัญชี " เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ " ภายใต้สินทรัพย์อื่น
ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้
ตัดบัญชีมีจำนวนเงินประมาณ 37.8 ล้านบาท นอกจากนี้ ในการนำงบการเงินของบริษัท
ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด มาจัดทำงบการเงินรวมนั้น บริษัทได้บันทึกผลขาดทุนในขาดทุนสะสม
เกินทุนของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด ทั้งหมดในงบการเงินรวมด้วย ผลขาดทุนดังกล่าว
ได้รวมผลขาดทุนที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวน 27 ล้านบาท ซึ่งบริษัทบันทึกรอตัดบัญชี
ไว้ในบัญชีสินทรัพย์อื่นและตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี อย่างไรก็ดี บริษัทได้นำ
ส่วนแบ่งในกำไรของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด เฉพาะที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาหักออก
จากยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวหมดแล้วในปี 2538
ในระหว่างไตรมาสที่สามของปี 2539 บริษัทได้เข้าลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ล็อกซเล่ย์
ยูทิลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด จำนวนร้อยละ 90 ในการนี้ บริษัทจ่ายเงินค่าหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์
สุทธิของบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี " เงินลงทุนใน
บริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา
ประมาณ 15 ปี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมี
จำนวนเงินประมาณ 51.6 ล้านบาท
บริษัทบันทึกเงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทร่วมสำหรับงบการเงินรวมและเงินลงทุนในหุ้น
ทุนของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะบริษัทตามวิธีส่วนได้เสียในกรณีที่บริษัทย่อย
และ/หรือบริษัทร่วมแสดงผลการดำเนินงานขาดทุน บริษัทจะหยุดบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วน
ได้เสียเมื่อยอดคงเหลือในบัญชีเงินลงทุนของบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนี้ลดลงเป็นศูนย์
และหลังจากนั้นจะไม่บันทึกรับรู้ส่วนแบ่งผลขาดทุนเพิ่มอีก เนื่องจากบริษัทไม่มีภาระผูกพันหรือ
ค้ำประกันบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วม บริษัทจะกลับมาบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียอีก
ครั้งก็ต่อเมื่อ ในเวลาต่อมาบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนั้นมีกำไรและส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าว
ที่เป็นของบริษัทมีจำนวนเท่ากับส่วนแบ่งผลขาดทุนที่บริษัทยังไม่ได้บันทึกรับรู้เนื่องจากการหยุดใช้
วิธีส่วนได้เสียดังกล่าว
- 5 -
3. การเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชี
3.1 ในเดือนธันวาคม 2540 บริษัทเริ่มถือปฏิบัติในการบันทึกภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ซึ่งเกิด
จากความแตกต่างด้านเวลาในการรายงานรายได้และค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษีอากร
โดยให้เริ่มย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นไป ภาษีเงินได้สำหรับรายการที่
ยังถือเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายไม่ได้ในการคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร
บันทึกไว้ในบัญชี ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ในงบดุล ซึ่งจะบันทึกเป็นรายได้หรือตัดบัญชี
เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีเมื่อรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่บันทึกไว้เกิดขึ้นจริงหรือถือหักเป็นค่าใช้
จ่ายได้แล้วในการคำนวณภาษีเงินได้ ผลจากการบันทึกภาษีเงินได้ตามวิธีดังกล่าวข้างต้น
มีผลทำให้กำไรสุทธิสำหรับงวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540
เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเงินประมาณ 20 ล้านบาท และ 116.1 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้เป็น
การบันทึกผลสะสมของภาษีเงินได้รอตัดบัญชีสำหรับความแตกต่างด้านเวลาของงวด
สามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 (เป็นจำนวนเงินประมาณ 20
ล้านบาท และ 38.5 ล้านบาท ตามลำดับ) และของปีก่อน ๆ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม
2539 (เป็นจำนวนเงินประมาณ 77.6 ล้านบาท)
งบการเงินระหว่างกาลของบริษัทย่อยที่รวมอยู่ในงบการเงินระหว่างกาลนี้ไม่ได้
ปรับปรุงด้วยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ อย่างไรก็
ตามฝ่ายบริหารเชื่อว่า ผลกระทบดังกล่าวจะไม่เป็นสาระสำคัญต่องบการเงินระหว่างกาลนี้
3.2 ในปี 2540 บริษัทได้ประเมินราคาที่ดินซึ่งเดิมบันทึกบัญชีไว้ในราคาทุนจำนวนเงิน
ประมาณ 48.1 ล้านบาท ด้วยราคาประเมินเป็นจำนวนเงินประมาณ 253.6 ล้านบาท
บริษัทประเมินราคาที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยข้อมูลที่ได้รับจากบริษัทผู้ประเมินราคาอิสระ
ส่วนเกินจากการประเมินราคาที่ดินจำนวนประมาณ 205.5 ล้านบาท บันทึกไว้ในบัญชี
" ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน " ซึ่งแสดงไว้ภายใต้ ส่วนของผู้ถือหุ้น ในงบดุล
4 รายการบัญชีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น
ต้นทุนขายและบริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นรายการที่เกิดขึ้นกับบริษัทย่อย
บริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันบางแห่ง บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดยมีผู้ถือหุ้น กรรมการ
และ/หรือ ผู้บริหารในตำแหน่งที่สำคัญร่วมกัน งบการเงินระหว่างกาลนี้ได้รวมผลของรายการ
ระหว่างบริษัท บริษัทย่อยและบริษัทที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามปกติธุรกิจ ยอดคงเหลือ
ที่เป็นสาระสำคัญที่มีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 และ 2540
ได้แสดงแยกไว้ต่างหากในงบดุล
- 6 -
รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
2541 และ 2540 ซึ่งรวมอยู่ในงบการเงินระหว่างกาลมีดังนี้
พันบาท
สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท
2541 2540 2541 2540
ขายผลิตภัณฑ์และบริการ 69,241 24,372 37,285 233,583
ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 2,860 163 2,991 3,359
ต้นทุนขายและบริการ 39,823 130,967 72,944 272,105
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 4,534 - 800 2,281
พันบาท
สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท
2541 2540 2541 2540
ขายผลิตภัณฑ์และบริการ 88,266 44,424 134,329 387,834
ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 8,492 3,642 13,386 11,506
ต้นทุนขายและบริการ 73,789 265,526 129,125 469,670
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 4,534 - 3,066 2,281
5. ลูกหนี้การค้าและอื่น ๆ
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 บริษัทมีลูกหนี้การค้าที่เกินกำหนดชำระหนี้ซึ่งแยกตามอายุหนี้ที่ค้าง
ชำระได้ดังนี้
พันบาท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท
มากกว่า 3 เดือน ถึง 6 เดือน 258,875 151,370
มากกว่า 6 เดือน ถึง 12 เดือน 155,666 106,230
มากกว่า 12 เดือนขึ้นไป 253,042 202,970
รวม 667,583 460,570
บริษัทได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับงวดสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ไว้เป็นจำนวนเงิน
ประมาณ 282.9 ล้านบาท (195 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) จากประสบการณ์การเก็บเงินที่ผ่านมา
ฝ่ายบริหารเชื่อว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญดังกล่าวเพียงพอ
- 10 -
บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัท ล็อกซเล่ย์ ฮิตาชิ เคเบิ้ล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และเงินลงทุนในบริษัท
ไทยเทเลโฟนแอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตามวิธีส่วนได้เสียต่อมาในปี 2540 และ 2539
บริษัทได้ขายเงินลงทุนของบริษัทดังกล่าวส่วนหนึ่งซึ่งมีผลทำให้อัตราส่วนการถือครองหุ้นในบริษัทดังกล่าว
ไม่ถึงร้อยละ 20 บริษัทจึงเปลี่ยนวิธีการบันทึกเงินลงทุนจากเดิมไปใช้วิธีบันทึกบัญชีตามราคาทุนโดยถือเอา
ยอดคงเหลือในบัญชีตามวิธีส่วนได้เสียที่คงเหลืออยู่เป็นราคาทุนของเงินลงทุน
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 ราคาตลาดรวมของเงินลงทุนในบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเป็นหลัก
ทรัพย์จดทะเบียนมีมูลค่าต่ำกว่าราคาทุนรวมเป็นจำนวนเงินประมาณ 934.2 ล้านบาท ส่วนปรับปรุงมูลค่า
ดังกล่าวได้แสดงไว้ในบัญชี " ค่าเผื่อผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการลดลงของมูลค่าเงินลงทุนระยะยาว
ในหลักทรัพย์จดทะเบียน" และแสดงไว้ภายใต้ " ส่วนของผู้ถือหุ้น " ในงบดุล
7. เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
งบการเงินรวม
บัญชีนี้ประกอบด้วย
พันบาท
อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงิน
วัตถุประสงค์ 2541 2540 2541 2540
เงินให้กู้ยืมระยะสั้น
หจก.แอล.บี.แอลอัลกาเมดเต็ด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 15.75% 13.25% 184,850 184,850
Multimedia Telephony, Inc. (Philippines)
เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 15.00% 15.00% 104,713 77,860
บริษัท เอกภาวี จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ - 21.00% - 84,963
อื่น ๆ 91,230 25,230
รวมเงินให้กู้ยืมระยะสั้น 380,793 372,903
เงินให้กู้ยืมระยะยาว
บริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอม
มิวนิเคชั่นจำกัด(มหาชน) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MLR+0.5% MLR+0.5% 375,000 375,000
บริษัท ไทยเซลลูโลส
โปรดักส์ จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MOR+1% MOR+1% 10,400 10,400
บริษัท แฟกซ์ แอนด์
โฟน จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ - 15.00% - 3,319
รวมเงินให้กู้ยืมระยะยาว 385,400 388,719
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (10,400) -
สุทธิ 375,000 388,719
- 11 -
งบการเงินเฉพาะบริษัท
บัญชีนี้ประกอบด้วย
พันบาท
อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงิน
วัตถุประสงค์ 2541 2540 2541 2540
เงินให้กู้ยืมระยะสั้น
หจก.แอล.บี.แอล อัลกาเมดเต็ด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 15.75% 13.25% 184,850 184,850
Multimedia Telephony,
Inc. (Philippines) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 15.00% 15.00% 104,713 77,860
อื่น ๆ 118,398 40,481
รวมเงินลงทุนระยะสั้น 407,961 303,191
เงินให้กู้ยืมระยะยาว
บริษัท ไทยเทเลโฟนแอนด์ เทเลคอม
มิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MLR+0.5% MLR+0.5% 375,000 375,000
บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาสท์ แอนด์
มีเดีย จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 15.75% - 18,469 -
บริษัท ไทยเซลลูโลส
โปรดักส์ จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MOR+ 1% MOR+ 1% 10,400 10,400
รวมเงินให้กู้ยืมระยะยาว 403,869 385,400
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (28,869) -
สุทธิ 375,000 385,400
8. เงินกู้ยืมและเงินทดรองจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
งบการเงินรวม
บัญชีนี้ประกอบด้วย
พันบาท
อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงิน
วัตถุประสงค์ 2541 2540 2541 2540
เงินกู้ยืมระยะสั้น
บริษัท เอเชีย แปซิฟิค
โพสต์ จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 15.75% 13.25% 19,425 10,359
เงินทดรอง
กิจการร่วมค้า บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทิลิตี้
เซอร์วิส จำกัด และ หจก. ศิริพงษ์
ก่อสร้าง เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ - - 5,670 -
รวมเงินกู้ยืมระยะสั้น
และเงินทดรอง 25,095 10,359
(ยังมีต่อ)