การเงินบมจ.ล็อกซเล่ย์ และบริษัทย่อยสิ้นสุด 31 ธ.ค 2541

03 March 1999
- 2 - 2.เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมนี้ได้รวมบัญชีของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทต่าง ๆ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อมหรือ บริษัทที่ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม ดังต่อไปนี้ อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541 2540 ทางตรง ทางอ้อม ทางตรง ทางอ้อม บริษัทย่อย บริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด 99 - 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ เมียนมาร์ จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ ไวร์เลส จำกัด 99 - 99 - บริษัท จาโก จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ พลังงาน จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 45 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทีลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด 90 - 90 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ คอมแวร์ จำกัด 70 - 70 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ นิวเท็ค จำกัด 67 - 67 - บริษัท การค้าลาว จำกัด 67 - 67 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ แปซิฟิค จำกัด 63 - 70 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาสท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด 60 - 60 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟรา จำกัด 60 - 60 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด 55 - 55 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ แซทเทลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 51 - 51 - บริษัท โปรเฟสชั่นนัล คอมพิวเตอร์ จำกัด - 99 - 99 บริษัท ล็อกซ์ดาต้า จำกัด - 99 52 - บริษัท เน็ทวัน เน็ทเวิร์ค โซลูชั่น จำกัด - 98 49 - บริษัท โอเพ่น ซิสเต็มส์ อินทิเกรเตอร์ จำกัด - 92 83 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น จำกัด - 65 65 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด - 65 65 - บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด - 55 - 55 - 3 - อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541 2540 ทางตรง ทางอ้อม ทางตรง ทางอ้อม บริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด 50 - 50 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 40 - 40 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์กราฟ (ประเทศไทย) จำกัด - - - 50 บริษัท ไดนามิค อินทิเกรเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด - - - 50 บริษัท นอร์ธ-อีสท์ เอเซีย เทเลโฟน แอนท์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด - 44 - 49 บริษัท ล็อกซเล่ย์ วีดีโอ โพสต์ (กรุงเทพ) จำกัด - 31 - 31 รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นได้แสดงหักกลบลบกันในงบการเงินรวมนี้แล้ว ในเดือนสิงหาคม 2540 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ซื้อหุ้นทุนของบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม มิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ทั้งหมดจากบริษัทและผู้ถือหุ้นรายอื่น ในการนี้ บริษัทย่อย ดัง กล่าวต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว ซึ่งได้แสดงไว้ในบัญชี "เงินลง ทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งบริษัทย่อยตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย ภายในเวลาประมาณ 8 ปี ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541 มีจำนวนเงิน ประมาณ 72.7 ล้านบาท บริษัทได้นำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งบริษัทลงทุนไว้ร้อยละ 50 ในเดือนพฤษภาคม 2537 มารวมในการจัดทำงบการเงินรวมด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีอำนาจ ใน การควบคุม ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้นของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัทได้จ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่า มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "เงิน ลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายใน เวลา 15 ปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541 ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมีจำนวนเงินประมาณ 36.1 ล้านบาท - 4 - ในระหว่างไตรมาสที่สามของปี 2539 บริษัทได้เข้าลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทีลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด จำนวนร้อยละ 90 ในการนี้ บริษัทได้จ่ายเงินค่าหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ของบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "เงินลงทุนในบริษัทย่อย ส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ 15 ปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541 ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมีจำนวนเงินประมาณ 49.6 ล้านบาท 3.นโยบายการบัญชีที่สำคัญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ บริษัทและบริษัทย่อยตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ ได้จากลูกหนี้ที่มีอยู่ จำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้นี้ประมาณขึ้นจากประสบการณ์การเรียกเก็บหนี้ ในอดีตควบคู่กับการวิเคราะห์ฐานะการเงินในปัจจุบันของลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ บริษัทและบริษัทย่อยตีราคาสินค้าคงเหลือในราคาทุนถัวเฉลี่ยหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า เงินลงทุนในหุ้นทุน บริษัทบันทึกเงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทร่วมสำหรับงบการเงินรวมและเงินลงทุน ในหุ้นทุนของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมสำหรับงบการเงินเฉพาะบริษัทตามวิธีส่วนได้เสีย ในกรณีที่บริษัท ย่อยและ/หรือบริษัทร่วมแสดงผลการดำเนินงานขาดทุน บริษัทจะหยุดบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย เมื่อยอดคงเหลือในบัญชีเงินลงทุนของบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนั้นลดลงเป็นศูนย์และหลังจากนั้นจะ ไม่บันทึกรับรู้ส่วนแบ่งผลขาดทุนเพิ่มอีก บริษัทจะกลับมาบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียอีกครั้งก็ต่อ เมื่อในเวลาต่อมาบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนั้นมีกำไรและส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวที่เป็นของบริษัท มีจำนวนเท่ากับส่วนแบ่งผลขาดทุนที่บริษัทยังไม่ได้บันทึกรับรู้เนื่องจากการหยุดใช้วิธีส่วนได้เสียดังกล่าว เงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันซึ่งถือไว้เป็นเงินลงทุนระยะยาวตีราคาใน ราคาทุน กำไรหรือขาดทุนจากเงินลงทุนดังกล่าวจะบันทึกบัญชีเมื่อจำหน่ายเงินลงทุนนั้นแล้ว เงินลงทุนในทรัพย์จดทะเบียนของบริษัทที่เกี่ยวข้องกันซึ่งถือไว้เป็นเงินลงทุนระยะยาว ตีราคาตามราคาทุนรวมหรือราคาตลาดรวมแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า ส่วนปรับปรุงมูลค่าของ เงินลง ทุนดังกล่าวได้แสดงแยกไว้เป็นรายการต่างหากภายใต้ "ขาดทุนสะสมเกินทุน" ในงบดุล - 5 - ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชี บริษัทและบริษัทย่อยตัดค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้ งานโดยประมาณของสินทรัพย์เป็นเวลา 5 ปี ถึง 25 ปี เครื่องมือและอุปกรณ์ภายใต้สัญญาบริการที่ ผูก พันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้คู่สัญญาตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายตามอายุของสัญญาที่เกี่ยวข้อง ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่ายหุ้นกู้แปลงสภาพตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงเป็น เวลา 5 ปี การแปลงค่างบการเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ งบการเงินของบริษัทย่อยที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศที่นำมาจัดทำงบการเงินรวมนี้ได้จัดทำ ขึ้น โดยใช้สกุลเงินตราต่างประเทศของประเทศนั้น ๆ เป็นหน่วยเงินตราซึ่งใช้ในการรายงาน งบการเงินดัง กล่าวได้ถูกแปลงค่าเป็นเงินบาทเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดทำงบการเงินรวมดังนี้ ก) สินทรัพย์และหนี้สิน ใช้อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคาร ณ วันที่ในงบดุล ยกเว้นยอดคงเหลือของบัญชีระหว่างกัน ซึ่งแปลงค่าโดย ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ และ ข) รายได้และค่าใช้จ่ายใช้อัตรา ถัวเฉลี่ย กำไรหรือ ขาดทุนจากการแปลงค่าแสดงไว้เป็น "ผลสะสมของการปรับปรุงที่เกิดจากการแปลงค่างบการเงินที่เป็น เงินตราต่างประเทศ" ซึ่งแสดงไว้ภายใต้ "ขาดทุนสะสมเกินทุน" ในงบดุล รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ บริษัทและบริษัทย่อยบันทึกรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทโดยใช้ อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งมียอดคงเหลือ ณ วันที่ในงบดุล แปลงค่าโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าวหรือตามอัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้าแล้วแต่กรณี กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าบันทึกเป็นรายได้หรือ ค่าใช้จ่ายในปีปัจจุบัน การรับรู้รายได้และต้นทุน บริษัทและบริษัทย่อยบันทึกรายได้ตามสัญญาซึ่งต้องใช้เวลาในการติดตั้งเป็นเวลานาน ตามสัดส่วนของงานที่แล้วเสร็จ ส่วนต้นทุนที่เกี่ยวข้องจะบันทึกบัญชีเมื่อเกิดรายการ - 6 - กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคำนวณโดยการหารกำไร (ขาดทุน) สุทธิด้วย จำนวนหุ้นที่รับชำระเต็มมูลค่าในระหว่างปีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก บริษัทได้แสดงกำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็ม ที่เพื่อการเปรียบเทียบ โดยการหารกำไรสุทธิหลังปรับปรุงดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับหุ้น กู้แปลงสภาพ ด้วยจำนวนหุ้นสามัญในระหว่างปีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (รวมหุ้น ซึ่งเทียบเท่าหุ้นสามัญ จากการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้) ในปี 2541 อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้แสดงกำไรต่อหุ้นแบบลดลง เต็มที่ เพื่อการเปรียบเทียบในปี 2540 เนื่องจากกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานเป็นขาดทุนต่อหุ้น 4. ข้อมูลเพิ่มเติม 4.1 รายการบัญชีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ ค่าธรรมเนียมและรายได้ อื่น ต้นทุนขายและบริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นรายการที่เกิดขึ้นกับบริษัทย่อย บริษัท ร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันบางแห่ง บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดยมีผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือ ผู้ บริหารในตำแหน่งที่สำคัญร่วมกัน งบการเงินเฉพาะบริษัทและ งบการเงินรวมนี้รวมผลของรายการ ดังกล่าวซึ่งเป็นไปตามปกติธุรกิจ ยอดคงเหลือ ที่เป็นสาระสำคัญที่มีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน เหล่านี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541 และ 2540 ได้แสดงแยกไว้ต่างหากในงบดุล รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นในระหว่างปี 2541 และ 2540 ซึ่งรวมอยู่ในงบ การเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทมีดังนี้ พันบาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2541 2540 2541 2540 ขายผลิตภัณฑ์และบริการ 161,981 82,177 250,694 472,260 ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 19,271 96,701 36,128 118,702 ต้นทุนขายและบริการ 228,377 373,073 340,993 683,138 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 11,188 - 5,139 6,094 - 7 - 4.2 การเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชีภาษีเงินได้ ในเดือนธันวาคม 2540 บริษัทได้เริ่มถือปฏิบัติในการบันทึกภาษีเงินได้รอตัด บัญชี ซึ่งเกิดจากความแตกต่างด้านเวลาในการรายงานรายได้และค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษีอากร โดยเริ่มย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นไป ภาษีเงินได้สำหรับ รายการที่ยังถือเป็น รายได้หรือค่าใช้จ่ายไม่ได้ในการคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรได้บันทึกไว้ในบัญชี "ภาษีเงิน ได้รอตัดบัญชี" ในงบดุล ซึ่งจะบันทึกเป็นรายได้หรือตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีเมื่อรายได้หรือค่าใช้ จ่ายที่บันทึกไว้เกิดขึ้นจริงหรือถือหักเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายได้แล้วในการคำนวณภาษีเงินได้ ผลจากการ บันทึกภาษีเงินได้ตามวิธีดังกล่าวข้างต้นมีผลทำให้ขาดทุนสุทธิสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2540 ลดลงเป็นจำนวนเงิน 1,757.6 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นการบันทึกผลสะสมของภาษีเงินได้รอตัดบัญชีสำหรับ ความ แตกต่างด้านเวลาของปีปัจจุบัน (เป็นจำนวนเงินประมาณ 1,680 ล้านบาท) และของปี ก่อน ๆ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2539 (เป็นจำนวนเงินประมาณ 77.6 ล้านบาท) ยอดคงเหลือของบัญชี "ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี" ในงบดุลรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541 ได้รวมภาษีเงินได้รอตัดบัญชีของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งจำนวนเงินประมาณ 1.9 ล้าน บาท เนื่องจากบริษัทย่อยดังกล่าวได้เริ่มถือปฏิบัติในการบันทึกภาษีเงินได้รอตัดบัญชีซึ่งเกิดจากความ แตกต่างด้านเวลาในการรายงานรายได้และค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษีอากร โดย ให้เริ่มย้อนหลังตั้ง แต่วันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้ ปรับปรุงผลสะสมของการเปลี่ยน แปลงดังกล่าวในงบการเงินรวมของปี 2540 เนื่องจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 บริษัทถือหุ้นใน บริษัทดังกล่าวน้อยกว่าร้อยละ 50 งบการเงินของบริษัทย่อยอื่น ๆ ที่รวมอยู่ในงบการเงินรวมนี้ไม่ได้ปรับปรุงด้วย ผล กระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารเชื่อว่าผลกระ ทบดังกล่าวจะไม่เป็นสาระสำคัญต่องบการเงินรวมนี้ - 8 - 4.3 ลูกหนี้การค้าและอื่น ๆ บัญชีนี้ประกอบด้วย บา ท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2541 2540 2541 2540 ลูกหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 134,536,007 200,227,826 324,929,552 413,610,150 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ - ( 21,756,955) - ( 103,296,955) ลูกหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ 134,536,007 178,470,871 324,929,552 310,313,195 ลูกหนี้บริษัทอื่น 2,005,937,673 2,806,616,734 972,176,420 1,083,297,247 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ( 296,298,474) ( 230,402,504) ( 217,000,000) ( 81,703,045) ลูกหนี้บริษัทอื่น - สุทธิ 1,709,639,199 2,576,214,230 755,176,420 1,001,594,202 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541 บริษัทและบริษัทย่อยมีลูกหนี้การค้าที่เกินกำหนดชำระหนี้ซึ่ง แยกตามอายุหนี้ที่ค้างชำระได้ดังนี้ ล้านบาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท มากกว่า 3 เดือน ถึง 6 เดือน 169.9 105.2 มากกว่า 6 เดือน ถึง 12 เดือน 388.8 346.1 มากกว่า 12 เดือนขึ้นไป 361.8 205.6 รวม 920.5 656.9 บริษัทและบริษัทย่อยตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ไว้ เป็นจำนวนเงินประมาณ 296.3 ล้านบาท (217 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) จากประสบการณ์ การเก็บเงินที่ผ่าน มาฝ่ายบริหารเชื่อว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญดังกล่าวเพียงพอ - 9 - 4.4 สินค้าคงเหลือ บัญชีนี้ประกอบด้วย บา ท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2541 2540 2541 2540 สินค้าคงเหลือ 607,114,517 851,804,173 282,196,561 582,221,609 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับงาน โครงการ 452,615,446 992,868,733 405,908,462 945,389,272 สินค้าระหว่างทาง 3,082,959 11,315,136 3,082,959 11,315,136 รวม 1,062,812,922 1,855,988,042 691,187,982 1,538,926,017 หัก ค่าเผื่อขาดทุนจากมูลค่า ที่ลดลง ( 88,444,142) ( 39,078,576) ( 79,000,000) ( 30,000,000) สุทธิ 974,368,780 1,816,909,466 612,187,982 1,508,926,017 (ยังมีต่อ)