การเงินบมจ.ล็อกซเล่ย์ และบริษัทย่อยสิ้นสุด 31 ธ.ค 2541
03 March 1999
- 13 -
ณ 31 ธันวาคม 2541 และ 2540 ราคาตลาดรวมของเงินลงทุนในบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่ง
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนมีมูลค่าต่ำกว่าราคาทุนรวมเป็นจำนวนเงินประมาณ 915.3 ล้านบาท และ 1,068 ล้าน
บาท ตามลำดับ ส่วนปรับปรุงมูลค่าดังกล่าวได้แสดงไว้ในบัญชี "ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการลดลงของมูลค่าเงินลง
ทุนระยะยาวในหลักทรัพย์จดทะเบียน" และแสดงไว้ภายใต้ "ขาดทุนสะสมเกินทุน" ในงบดุล
บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัท ล็อกซเล่ย์ ฮิตาชิ เคเบิ้ล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และเงินลงทุนในบริษัท
ไทยเทเลโฟนแอนด์เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตามวิธีส่วนได้เสีย ต่อมาในปี 2540 และ 2539บริษัทได้
ขายเงินลงทุนส่วนหนึ่งซึ่งมีผลทำให้อัตราส่วนการถือครองหุ้นในบริษัทดังกล่าวไม่ถึงร้อยละ 20 บริษัทจึงเปลี่ยนวิธี
การบันทึกเงินลงทุนจากเดิมไปใช้วิธีบันทึกบัญชีตามราคาทุน โดยถือเอายอดคงเหลือในบัญชีตามวิธีส่วนได้เสียที่คง
เหลืออยู่เป็นราคาทุนของเงินลงทุน
4.6 เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
งบการเงินรวม
บัญชีนี้ประกอบด้วย
พันบาท
อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงิน
วัตถุประสงค์ 2541 2540 2541 2540
เงินให้กู้ยืมระยะสั้น
หจก. แอล.บี.แอล อัลกาเมดเต็ด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MOR MOR 238,850 184,850
Multimedia Telephony, Inc. (Philippines) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 15.00% 15.00% 93,044 120,364
อื่น ๆ 36,630 167,131
รวมเงินให้กู้ยืมระยะสั้น 368,524 472,345
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ( 10,400) -
เงินให้กู้ยืมระยะสั้น - สุทธิ 358,124 472,345
เงินให้กู้ยืมระยะยาว
บริษัท ไทยเทเลโฟน
แอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MLR+0.5% MLR+0.5% 375,000 375,000
อื่น ๆ 34,186 21,348
รวมเงินให้กู้ยืมระยะยาว 409,186 396,348
- 14 -
งบการเงินเฉพาะบริษัท
บัญชีนี้ประกอบด้วย
พันบาท
อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงิน
วัตถุประสงค์ 2541 2540 2541 2540
เงินให้กู้ยืมระยะสั้น
หจก. แอล.บี.แอล อัลกาเมดเต็ด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MOR MOR 238,850 184,850
Multimedia Telephony, Inc. (Philippines) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 15.00% 15.00% 93,044 120,364
อื่น ๆ 52,881 101,632
รวมเงินลงทุนระยะสั้น 384,775 406,846
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ( 10,400) -
เงินลงทุนระยะสั้น - สุทธิ 374,375 406,846
เงินให้กู้ยืมระยะยาว
บริษัท ไทยเทเลโฟนแอนด์
เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MLR+0.5% MLR+0.5% 375,000 375,000
- 15 -
4.7 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
บัญชีนี้ประกอบด้วย
บา ท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท
2541 2540 2541 2540
ราคาประเมิน
ที่ดิน - ราคาทุนเดิม 48,072,500 48,072,500 48,072,500 48,072,500
ส่วนเกินทุนจากการ
ตีราคาที่ดิน 205,481,500 205,481,500 205,481,500 205,481,500
ที่ดิน - ราคาประเมิน 253,554,000 253,554,000 253,554,000 253,554,000
ราคาทุน
ที่ดิน 41,349,635 41,470,052 5,123,993 5,123,993
อาคารและส่วนปรับปรุง 1,100,819,637 1,058,021,694 463,856,641 453,259,986
เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและ
เครื่องใช้สำนักงาน 1,034,998,912 987,551,800 382,493,382 382,876,186
เครื่องมือและอุปกรณ์ 74,470,654 114,110,727 - -
อุปกรณ์สำนักงานให้เช่า 64,236,420 24,491,933 39,996,205 25,445,346
ยานพาหนะ 59,954,213 67,081,206 38,021,977 44,355,357
อุปกรณ์โทรคมนาคม
(หมายเหตุ 4.19) 536,670,516 508,336,779 - -
งานระหว่างก่อสร้าง 2,164,030 29,744,932 63,000 971,632
รวม 3,168,218,017 3,084,363,123 1,183,109,198 1,165,586,500
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม (1,121,439,747) ( 911,034,042) ( 514,680,703) ( 420,561,145)
ที่ดิน อาคาร
และอุปกรณ์ - สุทธิ 2,046,778,270 2,173,329,081 668,428,495 745,025,355
ในปี 2540 บริษัทได้ประเมินราคาที่ดินซึ่งเดิมบันทึกบัญชีไว้ในราคาทุนจำนวนเงินประมาณ 48.1
ล้านบาท ด้วยราคาประเมินเป็นจำนวนเงินประมาณ 253.6 ล้านบาท บริษัทประเมินราคาที่ดิน ดังกล่าว โดยอาศัย
ข้อมูลที่ได้รับจากบริษัทผู้ประเมินราคาอิสระส่วนเกินจากการประเมินราคาที่ดินจำนวนประมาณ 205.5 ล้านบาท
บันทึกไว้ในบัญชี "ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน" ซึ่งแสดงไว้ภายใต้ "ขาดทุนสะสมเกินทุน" ในงบดุล
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดินนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้
- 16 -
ค่าเสื่อมราคาที่บันทึกเป็นต้นทุนและค่าใช้จ่ายสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม มีจำนวนเงิน
ประมาณ 277.7 ล้านบาท (116.9 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2541 และ 264.7 ล้านบาท (114.6 ล้าน
บาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2540
4.8 สินทรัพย์อื่น
บัญชีนี้ประกอบด้วย
บา ท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท
2541 2540 2541 2540
ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
(หมายเหตุ 4.2) 1,341,955,112 1,757,576,157 1,340,003,866 1,757,576,157
เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกิน
สินทรัพย์สุทธิ (หมายเหตุ 2) 162,322,716 181,319,983 - -
ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่ายหุ้นกู้
แปลงสภาพรอตัดบัญชี - สุทธิ 56,302,263 89,813,283 56,302,263 89,813,283
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย - สุทธิ 90,427,933 77,785,814 40,000,707 37,961,125
เงินมัดจำ เงินประกันและอื่น ๆ 414,450,526 400,886,567 22,225,628 31,689,458
รวม 2,065,458,550 2,507,381,804 1,458,532,464 1,917,040,023
4.9 เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
บัญชีนี้ประกอบด้วย
บา ท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท
2541 2540 2541 2540
เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร 293,512,187 354,370,456 10,947,245 4,815,283
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร
ในประเทศและต่างประเทศ 842,893,100 1,291,374,537 384,559,200 549,870,000
หนี้สินจากการรับรองตั๋วเงินและ
จากการทำทรัสต์รีซีทส์ 396,357,094 476,986,580 347,155,281 411,308,871
ตั๋วเงินจ่าย 56,000,000 178,000,000 - -
รวม 1,588,762,381 2,300,731,573 742,661,726 965,994,154
- 17 -
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541 และ 2540 บริษัทและบริษัทย่อยมีวงเงินเบิกเกินบัญชี
ธนาคารและเงินกู้ยืมกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ในวงเงินรวม 2,737 ล้านบาท (717 ล้านบาท
เฉพาะของบริษัท) และ 6,054 ล้านบาท (3,707 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ตามลำดับ โดยมีอัตรา
ดอกเบี้ยในปี 2541 ระหว่างร้อยละ 9 ถึงร้อยละ 28 ต่อปีสำหรับเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินในประเทศ
และอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.1 ถึงร้อยละ 2.3 ต่อปีสำหรับเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่างประเทศ และมี
อัตราดอกเบี้ยในปี 2540 ร้อยละ 9 ถึง ร้อยละ 28 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินในประเทศ
และอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.3 ถึงร้อยละ 1.4 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่างประเทศ
ตามเงื่อนไขของสัญญาเกี่ยวกับการทำทรัสต์รีซีทส์ บริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งนำเข้า
สินค้าที่สั่งเข้ามาภายใต้การใช้เครดิตของธนาคาร ดังนั้น บริษัทและบริษัทย่อยดังกล่าว จึงต้องมีภาระ
ผูกพันต่อธนาคารสำหรับสินค้าดังกล่าวทั้งที่คงเหลืออยู่หรือขายไป
4.10 เงินกู้ยืมระยะยาว
ในเดือนมีนาคม 2537 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคารใน
ประเทศแห่งหนึ่ง โดยได้รับวงเงินสินเชื่อเป็นจำนวนเงินรวม 400 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นเงินกู้สกุลเหรียญ
สหรัฐอเมริกาเทียบเท่าเงินสกุลบาท และเงินกู้สกุลบาทรวม 2 จำนวน ๆ ละ 200 ล้านบาทเท่า ๆ กัน
โดยเงินกู้ยืมจำนวนแรกมีดอกเบี้ยตามอัตรา SINGAPORE INTERBANK OFFERED RATE (SIBOR)
บวกร้อยละ 2 ต่อปี ส่วนเงินกู้ยืมจำนวนที่สองมีดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR) ที่ประกาศ
โดยธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเงินกู้ยืมนี้มีกำหนดชำระคืนเป็นงวดทุกงวดสามเดือนรวม 32 งวด โดย
เริ่มชำระงวดแรกภายหลังครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันเบิกเงินกู้ เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยการ
จดจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของบริษัทย่อย ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2540 บริษัทย่อยดังกล่าวได้
ทำสัญญาเปลี่ยนสกุลเงินของเงินกู้จากสกุลเหรียญสหรัฐอเมริกาเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่
ตกลงกันเป็นจำนวนเงินประมาณ 178.8 ล้านบาท และได้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ขั้นต่ำ (MLR) ที่ประกาศโดยธนาคารผู้ให้กู้ ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2541 บริษัทย่อยได้มีการเจรจาขอ
เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายชำระคืนเงินกู้กับธนาคารผู้ให้กู้และได้รับอนุมัติให้ขยายระยะเวลาปลอดเงิน
ต้น ออกไปอีก 26 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2541 ส่วนดอกเบี้ยให้ชำระเป็นรายเดือน
- 18 -
ในเดือนตุลาคม 2537 และกันยายน 2538 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจาก
ธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเป็นจำนวนเงิน 60 ล้านบาท และ 15 ล้านบาท โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นงวดสิ้นสุด
เดือนเมษายน 2544 และเดือนเมษายน 2543 ตามลำดับ เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยการจำนองเครื่องจักรและอุปกรณ์
ดำเนินงานของบริษัทย่อย
ในเดือนธันวาคม 2540 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากธนาคารในประเทศ
แห่งหนึ่งเป็นจำนวนเงิน 50 ล้านบาท โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นรายเดือนตามจำนวนที่กำหนดในสัญญาโดยเริ่มตั้ง
แต่เดือนมกราคม 2541 เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541 ยอดคงเหลือของ
เงินกู้ยืมดังกล่าวมีจำนวนเงินประมาณ 16.7 ล้านบาท
4.11 เงินกู้ยืมระยะสั้นและเงินทดรองจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
งบการเงินรวม
บัญชีนี้ประกอบด้วย
พันบาท
อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงิน
วัตถุประสงค์ 2541 2540 2541 2540
เงินกู้ยืมระยะสั้น
บริษัท เอเชีย แปซิฟิค โพสต์ จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 15.75% 15.75% 33,477 17,177
บริษัท ซีทีดับบลิว เบต้า จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 12.75% - 4,500 -
เงินทดรอง
กิจการร่วมค้า บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทีลิตี้
เซอร์วิส จำกัด และ หจก. ศิริพงษ์
ก่อสร้าง เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ - - 10,918 -
อื่น ๆ 4,857 496
รวมเงินกู้ยืมระยะสั้น
และเงินทดรองจาก
บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 53,752 17,673
- 19 -
4.12 หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ
ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ
จำหน่ายในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น
100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลก
เปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพหรือไถ่ถอนเท่ากับ 2,455 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อย
ละ 3.5 ต่อปี หลังภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนใน วันที่ 20 เมษายน 2548 อย่างไรก็ตาม ผู้
ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 500 บาท ณ เวลาใดเวลา
หนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548 หรือใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวัน
ที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไข
และ ข้อกำหนดบางประการตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้
บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2541 จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวก
ส่วนเพิ่มต่าง ๆ กัน รวมเป็นหุ้นละ 1,237 หรือ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกาขึ้นกับระยะเวลาที่ไถ่ถอน ทั้งนี้บริษัท
ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2539 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตราต่างประเทศ
จำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มเติมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 105 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น
105,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลก
เปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่ เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพเท่ากับ 2,646 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.5
ต่อปี หลังภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 4 เมษายน 2544 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้
สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 450 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็
ได้ในระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2544 นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บาง
ส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 จนถึงวันที่ 3 เมษายน 2544 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้ว
รวมเป็นหุ้นละ 1,210 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2543 และ 1,272 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2544 ทั้งนี้บริษัท
ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
(ยังมีต่อ)