การเงินบมจ.ล็อกซเล่ย์ และบริษัทย่อยสิ้นสุด 31 ธ.ค 2541

03 March 1999
- 20 - เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2538 ผู้ถือหุ้นมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท (แบ่งเป็น 40 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และต่อมาได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 460 ล้านบาท (แบ่ง เป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) โดยให้สำรองหุ้นสามัญจำนวนรวม 12 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้เพื่อรองรับการใช้สิทธิในการแปลงสภาพหุ้น กู้เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้ จดทะเบียนมติเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2538 และวันที่ 20 มีนาคม 2539 ตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ราคาตลาดของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย โดยทั่วไปรวมทั้งของบริษัทตกต่ำอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่นำหุ้นกู้มา แปลงสภาพตามจำนวนที่ประมาณไว้ทั้งหมด ดังนั้น บริษัทจึงถือเป็นนโยบายที่จะบันทึกตั้งสำรองค่าใช้ จ่ายทางการเงินสำหรับส่วนเพิ่มที่จะต้องจ่ายหากผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิ ไถ่ถอนก่อนกำหนดในอัตราร้อยละ 80 ของส่วนเพิ่มทั้งหมดที่ต้องจ่าย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งหมดใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดโดยเฉลี่ยตาม ระยะเวลาที่ให้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด ฝ่ายบริหารเชื่อว่าสำรองจำนวนดังกล่าวเพียงพอ เนื่องจาก ราคาตลาดของหุ้นสามัญของบริษัทในปัจจุบันเป็นราคาในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ใน ภาวะตกต่ำ ผิดปกติและช่วงเวลาของการใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดที่จะมีผลใช้บังคับยังมีเวลาอีก ประมาณ 1 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1 และ 2 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงภาพครั้งที่ 2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541 สำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินดังกล่าวมีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,139.6 ล้านบาท (รวมสำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2541 จำนวนประมาณ 391.4 ล้าน บาท) นอกจากนั้น ในขณะนี้บริษัทได้ทำสัญญากับบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินแห่งหนึ่งเพื่อกำหนดแนว ทางปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ของหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าว - 21 - 4.13 เงินทุนเลี้ยงชีพพนักงาน บริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งจัดให้มีเงินกองทุนเลี้ยงชีพประเภทจ่ายสมทบสำหรับ พนักงานเกือบทั้งหมด พนักงานจะเข้าเป็นสมาชิกได้เมื่อเป็นพนักงานประจำแล้ว ทั้งนี้พนักงานจะจ่ายเข้ากองทุนทุก เดือนเท่ากับร้อยละ 5 ของเงินเดือน และบริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งจะตั้งสำรองเป็นรายเดือนในอัตราต่าง ๆ กัน ของเงินเดือนพนักงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาทำงานของพนักงานแต่ละคน ยอดที่บริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งตั้ง สำรองสำหรับปีและบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีจำนวนเงิน ประมาณ 12.1 ล้านบาท (7.5 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2541 และ 19.6 ล้านบาท (14.8 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2540 4.14 ทุนสำรอง บัญชีนี้ได้แก่เงินสำรองที่บริษัทจัดสรรสะสมตามพระราชบัญญัติกฎหมายมหาชนซึ่ง กำหนดให้บริษัทจัดสรรทุนสำรองอย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิสำหรับปีหลังจากหักยอดขาดทุนสะสมต้นปี (ถ้า มี) จนกว่าทุนสำรองจะมียอดเป็นร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนของบริษัท ทุนสำรองนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ ได้ 4.15 ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น บัญชีนี้ประกอบด้วย บา ท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2541 2540 2541 2540 กำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุน 132,775,846 237,110,714 188,399,765 250,624,958 ดอกเบี้ยรับ 272,862,030 252,247,800 247,342,447 203,857,907 เงินปันผล ค่าธรรมเนียม ค่าบริการและอื่น ๆ 467,765,191 339,946,607 240,380,796 206,750,997 รวม 873,403,067 829,305,121 676,123,008 661,233,862 - 22 - 4.16 ค่าใช้จ่ายอื่น บัญชีนี้ประกอบด้วย บา ท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2541 2540 2541 2540 สำรองค่าใช้จ่ายจากการใช้สิทธิ ไถ่ถอนหุ้นกู้แปลงสภาพ ก่อนกำหนด (หมายเหตุ 4.12) 391,420,126 712,282,339 391,420,126 712,282,339 ค่าเบี้ยปรับให้หน่วยราชการ 141,557,947 - 141,557,947 - ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่ายหุ้นกู้ แปลงสภาพตัดบัญชี 33,511,020 33,619,196 33,511,020 33,619,196 อื่น ๆ 110,423,689 29,982 35,963,195 7,181 รวม 676,912,782 745,931,517 602,452,288 745,908,716 4.17 กำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการเปลี่ยน ระบบอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ผลจากการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอย ตัวภายใต้การจัดการ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ทำให้บริษัทและบริษัทย่อยมีผลกำไรสุทธิจากการชำระ หนี้สินและรับชำระทรัพย์สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ในระหว่างปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2541 และ สำหรับงวด หกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 จากการแปลงค่าหนี้สินสุทธิที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541 และวันที่ 30 มิถุนายน 2540 โดยการใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าวเป็นกำไรจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,247.3 ล้านบาท และ 173.2 ล้านบาท สำหรับงบการเงินรวมและ 2,241.8 ล้านบาท และ 173.2 ล้านบาท สำหรับงบการเงินเฉพาะบริษัท ซึ่งได้แสดงแยกเป็นรายการต่างหากในงบกำไรขาดทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2541 และ 2540 ส่วนผลขาดทุนสำหรับงวดหกเดือนหลังสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2540 จากการแปลง ค่าหนี้สินสุทธิที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าว เป็น จำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 3,355.1 ล้านบาท สำหรับ งบการเงินรวม และ 3,209.1 ล้านบาท สำหรับงบ การเงินเฉพาะบริษัท บริษัทและบริษัทย่อยบันทึกเป็น ผลขาดทุนเป็นรายการพิเศษในงบกำไรขาดทุนของปี 2540 ตามประกาศฉบับที่ 002/2540-2542 ลงวันที่ 19 กันยายน 2540 ที่ออกโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบ บัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย - 23 - 4.18 ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน รายละเอียดข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน สำหรับปี 2541 และ 2540 มีดังนี้ งบการเงินรวม ล้านบาท ธุรกิจสายระบบสารสนเทศ ธุรกิจสายการค้า-อุตสาหกรรม อื่น ๆ รวม 2541 2540 2541 2540 2541 2540 2541 2540 ขายสุทธิ 4,486 5,645 3,445 3,625 177 349 8,108 9,619 ต้นทุนขาย (3,332) (4,083) (2,924) (3,134) ( 124) ( 388) ( 6,380) ( 7,605) กำไรขั้นต้น 1,154 1,562 521 491 53 ( 39) 1,728 2,014 กำไรจากการดำเนินงาน 170 179 171 19 328 203 669 401 เงินปันผลรับจากเงิน ลงทุนในบริษัทอื่น 16 41 ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ( 201) ( 263) ดอกเบี้ยจ่าย ( 565) ( 548) ค่าตอบแทนกรรมการ ( 4) ( 8) ค่าใช้จ่ายอื่น ( 677) ( 746) ส่วนได้เสียในผลการ ดำเนินงานของ บริษัทร่วม - สุทธิ 261 ( 64) กำไรจากอัตรา แลกเปลี่ยน 2,247 173 ภาษีเงินได้ ( 462) 258 ส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนน้อยในกำไร สุทธิของบริษัทย่อย ( 20) ( 24) กำไร (ขาดทุน) ก่อนรายการพิเศษ และผลสะสมจาก การเปลี่ยนแปลง วิธีการบัญชี 1,264 ( 780) รายการพิเศษ - ( 3,355) ผลสะสมจากการ เปลี่ยนแปลงวิธีการ บัญชี - 78 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,264 ( 4,057) สินทรัพย์ถาวร - สุทธิ 962 1,025 20 19 1,065 1,129 2,047 2,173 สินทรัพย์อื่น 10,607 12,571 สินทรัพย์รวม 12,654 14,744 - 24 - งบการเงินเฉพาะบริษัท ล้านบาท ธุรกิจสายการค้า- ธุรกิจสายระบบสารสนเทศ อุตสาหกรรม อื่น ๆ ร วม 2541 2540 2541 2540 2541 2540 2541 2540 ขายสุทธิ 2,246 2,560 1,151 1,606 70 51 3,467 4,217 ต้นทุนขาย (1,947) (2,301) ( 952) (1,403) ( 43) ( 24) ( 2,942) (3,728) กำไรขั้นต้น 299 259 199 203 27 27 525 489 กำไรจากการดำเนินงาน ( 14) ( 75) 30 ( 56) 346 301 362 170 เงินปันผลรับจากเงิน ลงทุนในบริษัทอื่น 16 41 ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ( 201) ( 263) ดอกเบี้ยจ่าย ( 342) ( 338) ค่าตอบแทนกรรมการ ( 2) ( 7) ค่าใช้จ่ายอื่น ( 602) ( 746) ส่วนได้เสียในผลการ ดำเนินงานของ บริษัทย่อยและ บริษัทร่วม - สุทธิ 255 ( 68) กำไรจากอัตรา แลกเปลี่ยน 2,242 173 ภาษีเงินได้ ( 418) 305 กำไร (ขาดทุน) ก่อนรายการพิเศษ และผลสะสมจากการ เปลี่ยนแปลงวิธีการ บัญชี 1,310 ( 733) รายการพิเศษ - ( 3,355) ผลสะสมจากการ เปลี่ยนแปลงวิธีการ บัญชี - 78 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,310 ( 4,010) สินทรัพย์ถาวร - สุทธิ 30 60 11 11 627 674 668 745 สินทรัพย์อื่น 9,347 10,715 สินทรัพย์รวม 10,015 11,460 - 25 - บริษัทและบริษัทย่อยประกอบธุรกิจ 2 ประเภทหลัก กล่าวคือ ธุรกิจสายระบบ สารสนเทศ และธุรกิจสายการค้าอุตสาหกรรม กำไรจากการดำเนินงานของแต่ละส่วนงานเกิดขึ้นจากยอดรายได้รวมหักด้วย ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ดอกเบี้ยจ่าย ค่าตอบแทนกรรมการค่าใช้ จ่ายอื่นและภาษีเงินได้ไม่ได้รวมอยู่ในการคำนวณกำไรจากการดำเนินงานของส่วนงาน สินทรัพย์ถาวรของแต่ละส่วนงานเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินงานของส่วน งานนั้น ๆ ส่วนสินทรัพย์อื่น ๆ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเงินสดและเงินฝากธนาคาร สินค้าคงเหลือและเงินลง ทุนในหลักทรัพย์อื่น 4.19 สัญญา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2541 และ 2540 ก) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมค้ากับบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ไอบีเอ็ม เวิลด์เทรด คอร์ปอเรชั่น จำกัดเพื่อเข้า ร่วมดำเนินการจัดหาระบบเบ็ดเสร็จสำหรับโครงการบันทึกข้อมูลภาษีด้วยคอมพิวเตอร์กับกรมสรรพากร ในมูลค่าตามสัญญารวม 1,814 ล้านบาท ซึ่งบริษัทย่อยดังกล่าวรับผิดชอบในอัตราร้อยละ 44.738 ของ ผลได้ผลเสียอันเกิดจากกิจการร่วมค้า ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2541 สัญญาตั้งกิจการร่วมค้าดังกล่าวได้ถูกยก เลิก ในการนี้ทำให้เกิดผลเสียหายสุทธิกับบริษัทย่อยขึ้นจำนวนเงินประมาณ 37 ล้านบาท ซึ่งบันทึกไว้ เป็นค่าใช้จ่ายในงบการเงินรวมนี้แล้ว ข) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) โดย ได้รับสัมปทานการให้บริการวิทยุติดตามตัวภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา ภายใต้เงื่อนไขของ สัญญา บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์การสื่อสารให้องค์การโทรศัพท์แห่ง ประเทศไทยโดยมีสิทธิใช้อุปกรณ์ดังกล่าวตลอดอายุของสัมปทานและต้องจ่ายผลประโยชน์ให้กับองค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทยในอัตราที่ระบุในสัญญา บริษัทย่อยได้มอบหนังสือค้ำประกันธนาคารเป็นจำนวน เงิน 141.1 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ส่วนหนึ่งของหนังสือค้ำ ประกันธนาคารนี้ค้ำประกันโดยเงินฝากประจำจำนวนเงินประมาณ 18.2 ล้านบาท - 26 - ค) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมลงทุนในการให้บริการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ ผ่านดาวเทียมกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญา ดังกล่าว บริษัท ย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุมตลอดจนบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ตามที่ ตกลงในสัญญา นอกจากนี้ บริษัทย่อยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่ กสท. นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลายี่สิบสอง (22) ปี เริ่มตั้งแต่วันแรกที่เปิด ให้บริการหรือครบกำหนดสิบสอง (12) เดือนนับตั้งแต่วันที่ในสัญญาแล้วแต่วันใดจะ เกิดขึ้นก่อน โดย บริษัทย่อยไม่มีสิทธิเลิกสัญญาเว้นแต่จะเข้ากรณีตามที่กำหนดในสัญญา ในการนี้ บริษัทย่อยมีสิทธิที่จะ เรียกเก็บค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ จากผู้ใช้บริการตามที่ระบุไว้ในสัญญา ง) บริษัทย่อยสองแห่งมีสัญญาร่วมลงทุนในการให้บริการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ กับการ สื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว บริษัทย่อย มีภาระ ผูกพันที่จะต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุม ตลอดจนบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ตามที่ตกลงใน สัญญา นอกจากนี้บริษัทย่อยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่ กสท. นับตั้งแต่ วันแรกที่เปิดให้บริการ สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลาสิบ (10) ปี เริ่มตั้งแต่วันแรกที่เปิดบริการ โดยบริษัทย่อยไม่มีสิทธิเลิกสัญญาเว้นแต่จะเข้ากรณีตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ในการนี้ บริษัทย่อยมี สิทธิที่จะเรียกเก็บค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ จากผู้ใช้บริการตามที่ระบุไว้ในสัญญา จ) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมค้ากับหน่วยงานราชการของต่างประเทศแห่งหนึ่งเพื่อ วางระบบและให้บริการด้านโทรคมนาคมในพื้นที่ที่ตกลงกัน ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว บริษัท ย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุม ตลอดจนบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์การ โทรคมนาคมดังกล่าวตามที่ตกลงในสัญญา นอกจากนี้ บริษัทจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในระบบและอุปกรณ์ โทรคมนาคมดังกล่าวให้กับหน่วยงานราชการที่เป็นคู่สัญญาในวันที่สิ้นสุดระยะเวลาสัมปทาน (ยังมีต่อ)