งบการเงินระหว่างกาลไตรมาส 2/2542 (ต่อ)

16 August 1999
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล วันที่ 30 มิถุนายน 2542 และ 2541 "ยังไม่ได้ตรวจสอบ" "สอบทานแล้ว" 1.ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและความผันผวนของค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางปี 2540 ยังคงมีผลต่อการดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อยอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่เสนอรายงานนี้ แม้ว่าในรอบบัญชีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันความผันผวนของค่าเงินบาทได้เปลี่ยนแปลงไป ในทิศทางที่ดีขึ้น มีการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และสถาบันการเงินในประเทศปล่อยสินเชื่อ ให้แก่ภาคธุรกิจเอกชนมากขึ้นก็ตาม แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำโดยทั่วไปในภูมิภาคนี้ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นไปได้ช้า อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารของบริษัท ได้กำหนดแผนงานและมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจนี้ เช่น ก) การสอบทานเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการตามโครงการลงทุนต่าง ๆ ต่อไป ข) มีมาตรการที่จะลดการถือครองเงินลงทุนในธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักของบริษัท ค) การกำหนดวิธีการควบคุมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดค่าใช้จ่ายในเวลา เดียวกัน ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในประเทศและภาคพื้นเอเซียแปซิฟิกส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน ของบริษัทและบริษัทย่อย ภาวะการณ์ดังกล่าวอาจเกิดต่อเนื่องและอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนิน งานต่อไปในอนาคต ซึ่งผลกระทบดังกล่าวยังไม่สามารถทราบได้ในปัจจุบัน ผลที่สุดของความ ไม่แน่นอนข้างต้นอาจมีสาระสำคัญต่อสินทรัพย์และหนี้สินที่แสดงอยู่ ณ วันที่ในงบดุล งบการเงิน ระหว่างกาลนี้ไม่ได้รวมรายการปรับปรุงที่อาจจะมีขึ้นจากผลของความไม่แน่นอนนั้นแต่จะรายงาน ในงบการเงินเมื่อทราบและสามารถประมาณการได้ - 2 - 2.เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินระหว่างกาลรวม งบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ได้รวมบัญชีของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทต่าง ๆ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือบริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม ดังต่อไปนี้ อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 2541 ทางตรง ทางอ้อม ทางตรง ทางอ้อม บริษัทย่อย บริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด 99 - 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ เมียนมาร์ จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ ไวร์เลส จำกัด 99 - 99 - บริษัท จาโก จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ พลังงาน จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทีลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด 90 - 90 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาสท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด 74 - 60 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ คอมแวร์ จำกัด 70 - 70 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ นิวเท็ค จำกัด 67 - 67 - บริษัท การค้าลาว จำกัด 67 - 67 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ แปซิฟิค จำกัด 63 - 70 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟรา จำกัด 60 - 60 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด 55 - 55 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ แซทเทลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 51 - 51 - บริษัท โปรเฟสชั่นนัล คอมพิวเตอร์ จำกัด - 99 - 99 บริษัท ล็อกซ์ดาต้า จำกัด - 99 52 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น โฮลดิ้ง จำกัด - 99 - - บริษัท เน็ทวัน เน็ทเวิร์ค โซลูชั่น จำกัด - 98 - 98 บริษัท โอเพ่น ซิสเต็มส์ อินทิเกรเตอร์ จำกัด - 92 - 83 บริษัท ล็อกซเล่ย์ วีดีโอ โพสต์ (กรุงเทพ) จำกัด - 74 - 31 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น จำกัด - 65 - 65 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด - 65 - 65 บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด - 55 - 55 บริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด 50 - 50 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 40 - 40 - บริษัท นอร์ธ-อีสท์ เอเซีย เทเลโฟน แอนท์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด - 49 - 49 - 3 - รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยต่าง ๆ ดังกล่าว ข้างต้นได้แสดงหักกลบลบกันในงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้แล้ว ในเดือนสิงหาคม 2540 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ซื้อหุ้นทุนของฮัทชิสันทั้งหมดจากบริษัท และผู้ถือหุ้นรายอื่น ในการนี้ บริษัทย่อยดังกล่าวต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ของบริษัทดังกล่าว ซึ่งได้แสดงไว้ในบัญชี "เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งบริษัทย่อยตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ 8 ปี ยอดคงเหลือที่ ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 มีจำนวนเงินประมาณ 67.5 ล้านบาท บริษัทได้นำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งบริษัทลงทุนไว้ร้อยละ 50 ในเดือนพฤษภาคม 2537 มารวมในการจัดทำงบการเงินรวมด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีอำนาจ ในการควบคุม ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้นของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัทได้จ่ายเงินค่า ซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่าง ดังกล่าวไว้ในบัญชี "เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ ตัดบัญชีมีจำนวนเงินประมาณ 34.4 ล้านบาท ในระหว่างไตรมาสที่สามของปี 2539 บริษัทได้เข้าลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทีลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด จำนวนร้อยละ 90 ในการนี้ บริษัทจ่ายเงินค่าหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์ สุทธิของบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "เงินลงทุนใน บริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา ประมาณ 15 ปี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมี จำนวนเงินประมาณ 47.6 ล้านบาท บริษัทบันทึกเงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทร่วมสำหรับงบการเงินรวมและเงินลงทุนในหุ้น ทุนของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะบริษัทตามวิธีส่วนได้เสีย ในกรณีที่บริษัทย่อย และ/หรือบริษัทร่วมแสดงผลการดำเนินงานขาดทุน บริษัทจะหยุดบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วน ได้เสียเมื่อยอดคงเหลือในบัญชีเงินลงทุนของบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนี้ลดลงเป็นศูนย์ และหลังจากนั้นจะไม่บันทึกรับรู้ส่วนแบ่งผลขาดทุนเพิ่มอีก เนื่องจากบริษัทไม่มีภาระผูกพันหรือ ค้ำประกันบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วม บริษัทจะกลับมาบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียอีก ครั้งก็ต่อเมื่อ ในเวลาต่อมาบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนั้นมีกำไรและส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าว ที่เป็นของบริษัทมีจำนวนเท่ากับส่วนแบ่งผลขาดทุนที่บริษัทยังไม่ได้บันทึกรับรู้เนื่องจากการหยุดใช้ วิธีส่วนได้เสียดังกล่าว - 4 - 3.การเปลี่ยนแปลงทางบัญชี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 บริษัทถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 ซึ่งกำหนด โดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยซึ่งกำหนดให้บริษัทแสดงเงินลงทุนใน หลักทรัพย์เผื่อขายที่จัดประเภทไว้เป็นเงินลงทุนระยะยาวในราคาตามมูลค่ายุติธรรม และรับรู้มูลค่าของ เงินลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นรายการแยกต่างหากภายใต้ส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุล ทั้งนี้ มาตรฐานการ บัญชีฉบับดังกล่าวให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป (ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2542 บริษัทบันทึกเงินลงทุนดังกล่าวในราคาทุนรวมหรือราคา ตลาดรวมที่ต่ำกว่า) 4.กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคำนวณโดยการหารกำไร (ขาดทุน) สุทธิด้วยจำนวนหุ้น ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่รับชำระเต็มมูลค่าในระหว่างงวด บริษัทได้แสดงกำไรต่อหุ้นปรับลดเพื่อการ เปรียบเทียบโดยการหารกำไร (ขาดทุน) สุทธิหลังปรับปรุงด้วยดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับ หุ้นกู้แปลงสภาพด้วยจำนวนหุ้นสามัญเทียบเท่าปรับลดในระหว่างงวดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก งบการเงินรวม สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน จำนวนเงิน จำนวนหุ้น กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น (พันบาท) (หุ้น) (บาท) 2542 2541 2542 2541 2542 2541 กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรสุทธิที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ 189,585 ( 538,484) 40,000,000 40,000,000 4.74 (13.46) ผลกระทบของหุ้นสามัญเทียบเท่า ปรับลด-หุ้นกู้แปลงสภาพ ( 29,658) 678,275 10,790,000 10,790,000 กำไรต่อหุ้นปรับลด กำไรที่เป็นของหุ้นสามัญสมมติว่า มีการแปลงเป็นหุ้นสามัญ 159,927 139,791 50,790,000 50,790,000 3.15 2.75 สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน จำนวนเงิน จำนวนหุ้น กำไรต่อหุ้น (พันบาท) (หุ้น) (บาท) 2542 2541 2542 2541 2542 2541 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรสุทธิที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ 46,853 758,038 40,000,000 40,000,000 1.17 18.95 ผลกระทบของหุ้นสามัญเทียบเท่า ปรับลด-หุ้นกู้แปลงสภาพ 230,390 ( 497,812) 10,790,000 10,790,000 กำไรต่อหุ้นปรับลด กำไรที่เป็นของหุ้นสามัญสมมติว่า มีการแปลงเป็นหุ้นสามัญ 277,243 260,226 50,790,000 50,790,000 5.46 5.12 - 5 - งบการเงินเฉพาะบริษัท สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน จำนวนเงิน จำนวนหุ้น กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น (พันบาท) (หุ้น) (บาท) 2542 2541 2542 2541 2542 2541 กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไร (ขาดทุน) สุทธิที่เป็นของ ผู้ถือหุ้นสามัญ 197,240 ( 523,970) 40,000,000 40,000,000 4.93 (13.10) ผลกระทบของหุ้นสามัญเทียบเท่า ปรับลด-หุ้นกู้แปลงสภาพ ( 29,658) 678,275 10,790,000 10,790,000 กำไรต่อหุ้นปรับลด กำไรที่เป็นของหุ้นสามัญสมมติว่า มีการแปลงเป็นหุ้นสามัญ 167,582 154,305 50,790,000 50,790,000 3.30 3.04 สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน จำนวนเงิน จำนวนหุ้น กำไรต่อหุ้น (พันบาท) (หุ้น) (บาท) 2542 2541 2542 2541 2542 2541 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรสุทธิที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ 40,480 771,475 40,000,000 40,000,000 1.01 19.29 ผลกระทบของหุ้นสามัญเทียบเท่า ปรับลด-หุ้นกู้แปลงสภาพ 230,390 ( 497,812) 10,790,000 10,790,000 กำไรต่อหุ้นปรับลด กำไรที่เป็นของหุ้นสามัญสมมติว่า มีการแปลงเป็นหุ้นสามัญ 270,870 273,663 50,790,000 50,790,000 5.33 5.39 5.รายการบัญชีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น ต้นทุนขายและ บริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นรายการที่เกิดขึ้นกับบริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่ เกี่ยวข้องกันบางแห่ง บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดยมีผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือ ผู้บริหารในตำแหน่งที่สำคัญ ร่วมกัน งบการเงินระหว่างกาลนี้ได้รวมผลของรายการระหว่างบริษัท บริษัทย่อยและบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามปกติธุรกิจ ยอดคงเหลือที่เป็นสาระสำคัญที่มีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 และ 2541 ได้แสดงแยกไว้ต่างหากในงบดุล - 6 - รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 และ 2541 ซึ่งรวมอยู่ในงบการเงินระหว่างกาลมีดังนี้ พันบาท สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2542 2541 2542 2541 ขายผลิตภัณฑ์และบริการ 40,952 69,241 44,002 37,285 ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 35,485 2,860 44,309 2,991 ต้นทุนขายและบริการ 347 39,823 29,412 72,944 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 1,445 4,534 15,278 800 พันบาท สำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2542 2541 2542 2541 ขายผลิตภัณฑ์และบริการ 68,571 88,266 97,034 134,329 ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 36,661 8,492 53,635 13,386 ต้นทุนขายและบริการ 15,214 73,789 79,767 129,125 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 3,174 4,534 30,034 3,066 6.ลูกหนี้การค้าและอื่น ๆ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 บริษัทมีลูกหนี้การค้าที่เกินกำหนดชำระหนี้ซึ่งแยกตามอายุ หนี้ที่ค้างชำระได้ดังนี้ พันบาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท มากกว่า 3 เดือน ถึง 6 เดือน 183,080 77,114 มากกว่า 6 เดือน ถึง 12 เดือน 262,586 160,136 มากกว่า 12 เดือนขึ้นไป 686,954 451,857 รวม 1,132,620 689,107 บริษัทและบริษัทย่อยได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับงวดสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 ไว้เป็นจำนวนเงินประมาณ 297.66 ล้านบาท (215.71 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) จากประสบการณ์การเก็บเงินที่ผ่านมาฝ่ายบริหารเชื่อว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญดังกล่าวเพียงพอ (ยังมีต่อ)