การเงินระหว่างกาลไตรมาส 2/2542 (ต่อ)
16 August 1999
บริษัทที่เกี่ยวข้องกันและบริษัทอื่น
หลักทรัพย์เผื่อขาย-ในมูลค่ายุติธรรม
ในปี 2542 และในราคาทุนรวมหรือ
ตลาดรวมที่ต่ำกว่าในปี 2541
บริษัท ไทยเทเลโฟนแอนด์
เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) 2,011,435 1,753,873 - -
บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด 194,279 35,621 13,061 14,530
อื่น ๆ 6,055 13,788 210 -
รวม 2,211,769 1,803,282 13,271 14,530
หัก ค่าเผื่อการด้อยค่าของหลักทรัพย์
เผื่อขาย ( - ) ( 934,244)
สุทธิ 2,211,769 869,038
เงินลงทุนทั่วไป-ในราคาทุน
บริษัท บีเอชพี สตีล (ไทยแลนด์) จำกัด 450,000 450,000 - -
กองทุนรวมหุ้นบุริมสิทธิ-หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
ของบมจ. ธนาคารกสิกรไทย 100,000 - 5,153 -
Space Imaging, Inc. - 51,133 - -
อื่น ๆ 110,132 87,340 150 150
รวม 660,132 588,473 5,303 150
หัก ค่าเผื่อการด้อยค่าของ
เงินลงทุนทั่วไป ( 20,000) ( - )
สุทธิ 640,132 588,473
- 13 -
บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัท ล็อกซเล่ย์ ฮิตาชิ เคเบิ้ล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และเงินลงทุนในบริษัท
ไทยเทเลโฟนแอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตามวิธีส่วนได้เสีย ต่อมาในปี 2540 และ 2539
บริษัทได้ขายเงินลงทุนของบริษัทดังกล่าวส่วนหนึ่งซึ่งมีผลทำให้อัตราส่วนการถือครองหุ้นในบริษัทดังกล่าว
ไม่ถึงร้อยละ 20 บริษัทจึงเปลี่ยนวิธีการบันทึกเงินลงทุนจากเดิมไปใช้วิธีบันทึกบัญชีตามราคาทุน โดยถือเอา
ยอดคงเหลือในบัญชีตามวิธีส่วนได้เสียที่คงเหลืออยู่เป็นราคาทุนของเงินลงทุน
บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัท ไทย ฟลายอิ้ง เซอร์วิส จำกัด ตามวิธีส่วนได้เสีย ต่อมาในปี 2541
ทางบริษัท ไทย ฟลายอิ้ง เซอร์วิส จำกัด ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนโดยทางบริษัทมิได้ใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งมีผล
ทำให้อัตราส่วนการถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวต่ำกว่าร้อยละ 20 บริษัทจึงเปลี่ยนวิธีการบันทึกเงินลงทุนจากเดิม
ไปใช้วิธีบันทึกบัญชีตามราคาทุน โดยถือเอายอดคงเหลือในบัญชีตามวิธีส่วนได้เสียที่คงเหลืออยู่เป็นราคาทุน
ของเงินลงทุน
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 เงินลงทุนในตราสารทุนในความต้องการของตลาดซึ่งถือเป็นหลักทรัพย์
เผื่อขายและจัดประเภทไว้เป็นเงินลงทุนระยะยาวแสดงในราคาตามมูลค่ายุติธรรมซึ่งถือตามข้อมูลราคาเสนอซื้อ
ครั้งสุดท้ายจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่วนต่างระหว่างราคาตามบัญชีกับมูลค่ายุติธรรมของ
หลักทรัพย์เผื่อขายบันทึกเป็นรายการแยกต่างหากภายใต้ส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุลและ ณ วันที่ 30 มิถุนายน
2541 เงินลงทุนดังกล่าวตีราคาในราคาทุนรวมหรือราคาตลาดรวมที่ต่ำกว่า ซึ่งมูลค่าราคาตลาดรวมของ
เงินลงทุนของหลักทรัพย์เผื่อขายมีมูลค่าต่ำกว่าราคาทุนรวมเป็นจำนวนเงินประมาณ 934.2 ล้านบาท
ส่วนปรับปรุงมูลค่าดังกล่าวได้แสดงไว้ในบัญชี "ค่าเผื่อการด้อยค่าของหลักทรัพย์เผื่อขาย" ภายใต้ "ส่วนของ
ผู้ถือหุ้น" ในงบดุล
8.เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
งบการเงินรวม
บัญชีนี้ประกอบด้วย
พันบาท
อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงิน
วัตถุประสงค์ 2542 2541 2542 2541
เงินให้กู้ยืมระยะสั้น
หจก. แอล.บี.แอล อัลกาเมดเต็ด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MOR MOR 238,850 184,850
Multimedia Telephony, Inc. (Philippines) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ PHIBOR+2.5% PHIBOR+2.5% 96,014 104,713
อื่น ๆ 41,358 91,230
รวมเงินให้กู้ยืมระยะสั้น 376,222 380,793
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ( 10,400) ( - )
เงินให้กู้ยืมระยะสั้น - สุทธิ 365,822 380,793
- 14 -
พันบาท
อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงิน
วัตถุประสงค์ 2542 2541 2542 2541
เงินให้กู้ยืมระยะยาว
บริษัท ไทยเทเลโฟน
แอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MLR+0.5% MLR+0.5% 375,000 375,000
บริษัท ล็อกซคอม บี.วี. จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 15.00% - 35,670 -
บริษัท ไทยเซลลูโลส โปรดักส์ จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ - MOR+1% - 10,400
รวมเงินให้กู้ยืมระยะยาว 410,670 385,400
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ( - ) ( 10,400)
เงินให้กู้ยืมระยะยาว - สุทธิ 410,670 375,000
งบการเงินเฉพาะบริษัท
บัญชีนี้ประกอบด้วย
พันบาท
อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงิน
วัตถุประสงค์ 2542 2541 2542 2541
เงินให้กู้ยืมระยะสั้น
หจก. แอล.บี.แอล อัลกาเมดเต็ด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MOR MOR 238,850 184,850
Multimedia Telephony, Inc. (Philippines) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ PHIBOR+2.5% PHIBOR+2.5% 96,014 104,713
อื่น ๆ 67,429 118,398
รวมเงินลงทุนระยะสั้น 402,293 407,961
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ( 10,400) ( - )
เงินลงทุนระยะสั้น - สุทธิ 391,893 407,961
เงินให้กู้ยืมระยะยาว
บริษัท ไทยเทเลโฟนแอนด์
เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MLR+0.5% MLR+0.5% 375,000 375,000
บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาสท์ แอนด์
มีเดีย จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ - 15.75% - 18,469
บริษัท ไทยเซลลูโลส โปรดักส์ จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ - MOR+ 1% - 10,400
รวมเงินให้กู้ยืมระยะยาว 375,000 403,869
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ( - ) ( 28,869)
เงินให้กู้ยืมระยะยาว - สุทธิ 375,000 375,000
- 15 -
9.เงินกู้ยืมระยะสั้นและเงินทดรองจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
งบการเงินรวม
บัญชีนี้ประกอบด้วย
พันบาท
อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงิน
วัตถุประสงค์ 2542 2541 2542 2541
เงินกู้ยืมระยะสั้น
บริษัท เอเชีย แปซิฟิค โพสต์ จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ - 15.75% - 19,425
บริษัท ซีทีดับบลิว เบต้า จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MOR+1% - 9,000 -
เงินทดรอง
กิจการร่วมค้า บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทีลิตี้
เซอร์วิส จำกัด และ หจก. ศิริพงษ์
ก่อสร้าง เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ - - 7,270 5,670
อื่น ๆ 2,981 -
รวมเงินกู้ยืมระยะสั้น
และเงินทดรอง 19,251 25,095
10. หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ
ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศจำหน่ายใน
ต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น
100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาท
ตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพหรือไถ่ถอนเท่ากับ 2,455 ล้านบาท
หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี หลังภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่
20 เมษายน 2548 อย่างไรก็ตามผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทใน
ราคาแปลงสภาพหุ้นละ 500 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่
20 มีนาคม 2548 หรือใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่ม
แล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการตามที่ระบุ
ไว้ในหนังสือชี้ชวน นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่
เดือนพฤษภาคม 2541 จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มต่าง ๆ กัน รวมเป็นหุ้นละ
1,237 หรือ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกาขึ้นกับระยะเวลาที่ไถ่ถอน ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและ
ข้อกำหนดบางประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
-16 -
ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2539 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตรา
ต่างประเทศจำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มเติมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 105 ล้าน
เหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 105,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐ
อเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่ เมื่อครบกำหนดแปลง
สภาพเท่ากับ 2,646 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี หลังภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่าย โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 4 เมษายน 2544 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถ
ใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 450 บาท ณ เวลาใด
เวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2544 นอกจากนี้ บริษัท
สามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 จนถึง
วันที่ 3 เมษายน 2544 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,210 เหรียญสหรัฐอเมริกา
ในปี 2543 และ 1,272 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2544 ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและ
ข้อกำหนดที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม
2538 ผู้ถือหุ้นมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท (แบ่งเป็น 40
ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท)
และต่อมาได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 460 ล้านบาท
(แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่า
หุ้นละ 10 บาท) โดยให้สำรองหุ้นสามัญจำนวนรวม 12 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้เพื่อรองรับการใช้สิทธิใน
การแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้จดทะเบียนมติเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์
เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2538 และวันที่ 20 มีนาคม 2539 ตามลำดับ
เริ่มตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ราคาตลาดของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โดยทั่วไปรวมทั้งของบริษัทตกต่ำอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่นำหุ้นกู้มาแปลง
สภาพตามจำนวนที่ประมาณไว้ทั้งหมด ดังนั้น บริษัทจึงถือเป็นนโยบายที่จะบันทึกตั้งสำรองค่าใช้
จ่ายทางการเงินสำหรับส่วนเพิ่มที่จะต้องจ่ายหากผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดในอัตรา
ร้อยละ 80 ของส่วนเพิ่มทั้งหมดที่ต้องจ่ายในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ทั้งหมดใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด
โดยเฉลี่ยตามระยะเวลาที่ให้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 สำรอง
ค่าใช้จ่ายทางการเงินดังกล่าวมีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,319.4 ล้านบาท รวมสำรอง
ค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มิถุนายน 2542 จำนวนประมาณ
178 ล้านบาท เนื่องจากใกล้ถึงช่วงเวลาของการใช้สิทธิแปลงสภาพก่อนกำหนด ดังนั้น บริษัทได้
- 17 -
แต่งตั้งบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อให้ความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ของหุ้นกู้
แปลงสภาพดังกล่าว ในขณะนี้ ขั้นตอนของการปรับโครงสร้างได้ดำเนินไปในทางที่เป็นประโยชน์
ต่อบริษัท และฝ่ายบริหารเชื่อว่าผลการปรับโครงสร้างหนี้นี้จะเป็นผลดีต่อบริษัทในที่สุด ดังนั้น
ฝ่ายบริหารเห็นว่าสำรองค่าใช้จ่ายจำนวนดังกล่าวเพียงพอ
11.กำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการเปลี่ยน
ระบบอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ผลจากการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมาเป็นระบบอัตราแลก
เปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ทำให้บริษัท
และบริษัทย่อยมีผลกำไร (ขาดทุน) สุทธิจากการชำระหนี้สินและรับชำระทรัพย์สินที่เป็นเงินตรา
ต่างประเทศในระหว่างงวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 และจากการ
แปลงค่าหนี้สินสุทธิที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 โดยการใช้
อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าวเป็นกำไร (ขาดทุน) จำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 195.5 ล้านบาท
และ (11.6) ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับงบการเงินระหว่างกาลรวม และ 189.1 ล้านบาท และ
(16.6) ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับงบการเงินระหว่างกาลเฉพาะบริษัท และผลกำไร (ขาดทุน)
สุทธิจากการชำระหนี้สินและรับชำระทรัพย์สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศในระหว่างงวดสามเดือน
และหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และจากการแปลงค่าหนี้สินสุทธิที่เป็นเงินตรา
ต่างประเทศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยการใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าว เป็นกำไร
(ขาดทุน) จำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ (759.8) ล้านบาท และ 1,016.6 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับงบการเงินระหว่างกาลรวม และ (774.8) ล้านบาท และ 1,014.1 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับงบการเงินระหว่างกาลเฉพาะบริษัท ซึ่งได้แสดงแยกเป็นรายการต่างหากในงบกำไรขาดทุน
สำหรับงวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2542 และ 2541
12.สัญญา
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2542 และ 2541
ก) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมค้ากับบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์
อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ไอบีเอ็ม เวิลด์เทรด คอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อเข้าร่วม
ดำเนินการจัดหาระบบเบ็ดเสร็จสำหรับโครงการบันทึกข้อมูลภาษีด้วยคอมพิวเตอร์กับ
กรมสรรพากรในมูลค่าตามสัญญารวม 1,814 ล้านบาท ซึ่งบริษัทย่อยดังกล่าวรับผิดชอบใน
อัตราร้อยละ 44.738 ของผลได้ผลเสียอันเกิดจากกิจการร่วมค้า
- 18 -
ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2541 สัญญาตั้งกิจการร่วมค้าดังกล่าวได้ถูกยกเลิก
ในการนี้ ทำให้เกิดผลเสียหายสุทธิกับบริษัทย่อยขึ้นจำนวนเงินประมาณ 37 ล้านบาท
ซึ่งบันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดดังกล่าวแล้ว
ข) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) โดยได้รับ
สัมปทานการให้บริการวิทยุติดตามตัวภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา ภายใต้เงื่อนไข
ของสัญญา บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์การสื่อสารให้องค์การ
โทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยมีสิทธิใช้อุปกรณ์ดังกล่าวตลอดอายุของสัมปทานและต้องจ่าย
ผลประโยชน์ให้กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยปีละ 1 ล้านบาท บริษัทย่อยได้มอบ
หนังสือค้ำประกันธนาคารเป็นจำนวนเงิน 141.7 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันแก่องค์การ
โทรศัพท์แห่งประเทศไทย ส่วนหนึ่งของหนังสือค้ำประกันธนาคารนี้ค้ำประกันโดยเงินฝาก
ประจำจำนวนเงินประมาณ 18.5 ล้านบาท
ค) บริษัทย่อยสองแห่งมีสัญญาร่วมลงทุนในการให้บริการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร
แห่งประเทศไทย (กสท.) ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่
จะต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุม ตลอดจนบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ตามที่ตกลง
ในสัญญา นอกจากนี้บริษัทย่อยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่
กสท. นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ
สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลาสิบ (10) ปี เริ่มตั้งแต่วันแรกที่เปิดบริการโดยบริษัท
ย่อยไม่มีสิทธิเลิกสัญญาเว้นแต่จะเข้ากรณีตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ในการนี้บริษัทย่อยมี
สิทธิที่จะเรียกเก็บค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ จากผู้ใช้บริการตามที่ระบุไว้ในสัญญา
ง) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมลงทุนในการให้บริการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่าน
ดาวเทียมกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว
บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุมตลอดจนบำรุงรักษา
เครื่องมือและอุปกรณ์ตามที่ตกลงในสัญญา นอกจากนี้บริษัทย่อยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ใน
เครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่ กสท. นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ
- 19 -
สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลายี่สิบสอง (22) ปี เริ่มตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการหรือ
ครบกำหนดสิบสอง (12) เดือนนับตั้งแต่วันที่ในสัญญาแล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน
โดยบริษัทย่อยไม่มีสิทธิเลิกสัญญาเว้นแต่จะเข้ากรณีตามที่กำหนดในสัญญา ในการนี้
บริษัทย่อยมีสิทธิที่จะเรียกเก็บค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ จากผู้ใช้บริการตามที่ระบุ
ไว้ในสัญญา
(ยังมีต่อ)