ส่งงบการเงินของ บมจ.ล็อกซเล่ย์ และบริษัทย่อยไตรมาส 3/2538

29 พฤศจิกายน 2538
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ---------------------------------------------------------------- --------------------------------------------------------- งบการเงินระหว่างกาลรวม สำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2538 และ 2537 และ รายงานของผู้สอบบัญชี ----------------------------------------------------------------- ----------------------------------------------------------------- ------------------------------------------------- รายงานของผู้สอบบัญชี เสนอ คณะกรรมการบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุลรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2538 และ 2537 และ งบกำไรขาดทุนรวมสำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละงวดของ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคม นักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการทำความ เข้าใจเกี่ยวกับระบบในการจัดทำงบการเงินระหว่างกาลรวม การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบ เทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน และการสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่ เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มีขอบเขตจำกัดกว่าการตรวจสอบ ตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินรวมมาก ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินรวมที่สอบทานได้ บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย ส่วนได้เสียในกำไรของ บริษัทร่วม - สุทธิ ที่แสดงไว้ในงบกำไรขาดทุนรวมสำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2538 และ 2537 คำนวณตามงบการเงินของบริษัทร่วมที่ยัง ไม่ได้ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี ยกเว้นเรื่องที่กล่าวในวรรคที่สามข้างต้น ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ อื่นซึ่งอาจจะต้องนำมาปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ให้เป็นไปตามหลักการบัญชี ที่รับรองทั่วไปจากการสอบทานของข้าพเจ้าดังกล่าวข้างต้น (นายธวัช ภูษิตโภยไคย) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 1724 กรุงเทพมหานคร 18 พฤศจิกายน 2538 ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุลรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2538 และ 2537 สิ น ท รั พ ย์ พั น บา ท 2538 2537 สินทรัพย์หมุนเวียน เงินลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงิน 1349,904 100,000 ลูกหนี้การค้า - สุทธิ (หมายเหตุ 4) 1,906,615 1,395,430 สินค้าคงเหลือ - สุทธิ (หมายเหตุ 4) 1,368,331 1,122,745 ลูกหนี้และเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 3) 56,395 66,105 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (หมายเหตุ 5) 488,887 619,865 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 5,170,132 3,304,145 เงินลงทุนในบริษัทร่วม - วิธีส่วนได้เสีย (หมายเหตุ 3) 1,963,647 1,580,117 เงินลงทุนในบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน - ในราคาทุน (หมายเหตุ 3) 370,127 186,329 เงินลงทุนในกิจการร่วมค้า - ราคาทุน 1,742 1,742 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 1,368,318 1,062,681 สินทรัพย์อื่น (หมายเหตุ 5) 314,040 281,007 รวมสินทรัพย์ 9,188,006 6,416,021 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายธวัช ภูษิตโภยไคย ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2538 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุลรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2538 และ 2537 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น พั น บา ท 2538 2537 หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร 629,399 1,064,615 เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย 537,602 575,541 เจ้าหนี้และเงินกู้ยืมจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 3) 363,944 457,887 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 728,865 682,142 รวมหนี้สินหมุนเวียน 2,259,810 2,780,185 เงินกู้ยืมระยะยาว - สุทธิจากส่วนที่ครบกำหนด ชำระภายในหนึ่งปี (หมายเหตุ 5) 1,056,155 760,378 รายได้รอการตัดบัญชี - สุทธิ (หมายเหตุ 5) 233,785 119,072 หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ (หมายเหตุ 6) 2,455,000 - หนี้สินอื่น 225,201 220,139 รวมหนี้สิน 6,229,951 3,879,774 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อย 146,556 95,481 ส่วนของผู้ถือหุ้น (หมายเหตุ 6) 2,811,499 2,440,766 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 9,188,006 6,416,021 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายธวัช ภูษิตโภยไคย ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2538 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกำไรขาดทุนรวม สำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2538 และ 2537 พันบาท งวดสามเดือน งวดเก้าเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2538 2537 2538 2537 รายได้ (หมายเหตุ 3) ขายผลิตภัณฑ์และบริการ 1,896,095 1,347,731 5,115,808 3,856,445 ส่วนได้เสียในกำไรของบริษัทร่วม-สุทธิ 93,229 57,807 282,072 124,625 ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 174,631 64,877 365,929 213,306 รวมรายได้ 2,163,955 1,470,415 5,763,809 4,194,376 ต้นทุนและค่าใช้จ่าย (หมายเหตุ 3) ต้นทุนขายและบริการ 1,487,245 969,304 3,787,666 2,751,850 ค่าใช้จ่ายอื่น 572,759 411,907 1,603,122 1,208,746 ภาษีเงินได้ 1,364 (3,207) 31,167 21,648 รวมต้นทุนและค่าใช้จ่าย 2,061,368 1,378,004 5,421,955 3,982,244 กำไรก่อนขาดทุนสุทธิของบริษัทย่อยก่อนซื้อ เงินลงทุนและส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ในขาดทุน (กำไร) สุทธิของบริษัทย่อย 102,587 92,411 341,854 212,132 บวก ขาดทุนสุทธิของบริษัทย่อยก่อน ซื้อเงินลงทุน - - - 3,905 บวก (หัก) ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยใน ขาดทุนสุทธิ (กำไรสุทธิ) ของบริษัทย่อย 8,312 (10,915) 8,197 (13,833) กำไรสุทธิ 110,899 81,496 350,051 202,204 กำไรต่อหุ้น (บาท) (หมายเหตุ 2) 2.77 2.04 8.75 5.06 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายธวัช ภูษิตโภยไคย ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2538 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม วันที่ 30 กันยายน 2538 และ 2537 1. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมนี้ได้รวมบัญชีของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทต่าง ๆ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยหรือบริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม ดังต่อไปนี้ ถือหุ้นในอัตราร้อยละ ณ วันที่ 30 กันยายน 2538 2537 บริษัทย่อย บริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด 99 99 บริษัท ล็อกซเล่ย์ เมียนมาร์ จำกัด (ยังไม่ได้ ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 99 บริษัท โปรเฟสชั่นนัลคอมพิวเตอร์ จำกัด 67 67 บริษัท โอเพ่น ซีสเต็ม อิทิเกรเตอร์ จำกัด 67 67 บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาส แอนด์มีเดีย จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 60 60 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟรา จำกัด 60 60 บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด 55 55 บริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด 55 55 บริษัท ล็อกซดาต้า จำกัด 52 52 บริษัท เซลลูล่าร์ โปรดักส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ คอมแวร์ จำกัด 67 - บริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม บริษัท ธนากรเทรดดิ้ง จำกัด 50 50 บริษัท ล็อกซเล่ย์ พร็อพเพอตี้ จำกัด 40 40 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์กราฟ (ประเทศไทย) จำกัด 40 40 (ไม่มีอำนาจควบคุม) บริษัท ล็อกซเล่ย์ พลังงาน จำกัด 45 - - 2 - รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัทต่าง ๆ ดังกล่าวข้าง ต้นได้แสดงหักกลบลบกันในงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้แล้ว ในไตรมาสที่สามของปี 2538 บริษัทได้ลงทุนเพิ่มเติมในหุ้นทุนของบริษัทดังต่อไปนี้ บริษัท ล็อกซเล่ย์ คอมแวร์ จำกัด บริษัท เซลลูล่าร์ โปรดักส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ พลังงาน จำกัด ในไตรมาสที่สี่ของปี 2537 บริษัทที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนี่งกับบริษัทได้ลงทุนใน หุ้นทุนของ บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์กราฟ (ประเทศไทย) จำกัด เพิ่มเติม ทำให้บริษัท มีอำนาจควบคุมในบริษัทนี้ นอกจากนี้ในไตรมาสที่สองของปี 2537 บริษัทได้ลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฮัทชิสัน) และ บริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55 ในเดือนพฤษภาคม 2537 ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้น ของบริษัท ฮัทชิสัน บริษัทต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นผลให้บริษัทต้องบันทึกรับรู้ไว้เป็น จำนวนเงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์ สุทธิ ในบัญชีสินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ 12 ปี ยอดคงเหลือ ที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 30 กันยายน 2538 มีจำนวนเงินประมาณ 30 ล้านบาท ดังนั้นงบการเงินของบริษัทต่าง ๆ ที่บริษัทได้ลงทุนไปในระหว่างไตรมาสที่สามของ ปี 2538 และไตรมาสที่สี่ของปี 2537 ดังกล่าวข้างต้น จึงยังไม่ได้รวมอยู่ในงบการเงิน รวมสำหรับไตรมาสสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2537 การรวมงบการเงินรวมของบริษัทต่าง ๆ เหล่านี้ในงบการเงินรวมสำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2538 มีผลทำให้ ยอดสินทรัพย์รวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2538 สูงขึ้นประมาณ 311 ล้านบาท และรายได้ รวมและกำไรสุทธิรวมในงบการเงินระหว่างกาลรวมสำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2538 สูงขึ้นประมาณ 75 ล้านบาท และลดลงประมาณ 25 ล้านบาท ตามลำดับ - 3 - อนึ่ง เนื่องจากบริษัทถือหุ้นในบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฮัทชิสัน) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55 ในเดือนพฤษภาคม 2537 ดังนั้น บริษัท จึงต้องเปลี่ยนแปลงการรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนในบริษัทดังกล่าวที่มี อยู่เดิมและที่เกิดขึ้นใหม่กล่าวคือในช่วงที่บริษัทถือหุ้นของบริษัทนี้เพียงร้อยละ 45 บริษัท บันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทนี้ตามวิธีส่วนได้เสีย บริษัทจึงไม่ได้บันทึกรับรู้ผลขาดทุนสะสม เกินทุนที่เป็นส่วนของบริษัทในงบ การเงิน อย่างไรก็ดี เมื่อบริษัทถือหุ้นเป็นร้อยละ 55 บริษัทต้องนำงบการเงินของฮัทชิสันมาจัดทำงบการเงินรวม ในการนี้ บริษัทต้องบันทึก รับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนในงบการเงินรวมด้วยโดยบริษัทปรับปรุงผลขาดทุนสะสมเกินทุน ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2537 ที่เป็นส่วนของบริษัทแยกเป็นสองส่วน กล่าวคือ ส่วนที่กระทบ งบการเงินงวดก่อนปี 2537 จะปรับปรุงกับบัญชีกำไรสะสมต้นงวด และส่วนที่กระทบ งบการเงินในปี 2537 จะปรับปรุงกับบัญชีกำไรขาดทุนสำหรับปี 2537 สำหรับส่วนแบ่ง ผลขาดทุนสะสมเกินทุนในฮัทชิสันที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจะบันทึกรอตัดบัญชีไว้ในบัญชี สินทรัพย์อื่น และตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงภายในเวลาประมาณ 12 ปี นอกจากนี้จะนำส่วนแบ่งในกำไรของฮัทชิสันที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาหักออกจากยอดที่ยัง ตัดบัญชีไม่หมดเมื่อบริษัทนี้มีกำไรด้วย ขาดทุนสะสมเกินทุนในบริษัทย่อยนี้ที่กระทบงบการเงิน งวดก่อน ๆ ซึ่งปรับปรุงกับกำไรสะสมต้นงวด ณ วันที่ 1 มกราคม 2537 มีจำนวน เงินประมาณ 45.9 ล้านบาท ส่วนยอดคงเหลือนี้ที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 30 กันยายน 2538 มีจำนวนเงินประมาณ 38 ล้านบาท สำหรับเงินลงทุนในบริษัท ธนากรเทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งบริษัทลงทุนไว้ร้อยละ 50 ในเดือน พฤษภาคม 2537 บริษัทได้นำงบการเงินของบริษัทดังกล่าวมาจัดทำงบการเงิน รวมด้วย เนื่องจากบริษัทมีอำนาจในการควบคุม ในการนี้บริษัทได้บันทึกผลขาดทุนสะสม เกินทุนของบริษัท ธนากรเทรดดิ้ง จำกัด ณ วันที่บริษัทเริ่มลงทุนไว้ในบัญชีสินทรัพย์อื่น และตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี อย่างไรก็ดี เมื่อบริษัท ธนากรเทรดดิ้ง จำกัด มีกำไร ส่วนแบ่งในกำไรของบริษัทนี้เฉพาะที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจะนำมาหัก ออกจากยอดที่ยังตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายไม่หมดด้วย ยอดคงเหลือในบัญชีนี้ที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 30 กันยายน 2538 มีจำนวนเงินประมาณ 47 ล้านบาท 2. กำไรต่อหุ้น กำไรต่อหุ้นสำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2538 และ 2537 คำนวณโดยการหารกำไรสุทธิด้วยจำนวนหุ้นที่ได้รับชำระแล้ว ณ วันที่ใน งบดุล บริษัทไม่ได้แสดงกำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่เปรียบเทียบ เนื่องจากกำไร ต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่ที่คำนวณได้มีจำนวนมากกว่ากำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน - 4 - 3. รายการบัญชีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน รายการธุรกิจบางส่วนของบริษัทและบริษัทย่อยมีความเกี่ยวพันกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง กันบางแห่ง งบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ได้รวมผลของรายการดังกล่าวตามเกณฑ์ที่ตกลง ร่วมกันระหว่างบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน 4. ลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือ ลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือส่วนที่เป็นงานระหว่างติดตั้งส่วนหนึ่งเป็นรายการ ที่เกิดกับหน่วยงานราชการ ซึ่งใช้เวลาในการติดตั้งมากกว่าหนึ่งปี ทั้งนี้บริษัทและบริษัทย่อย ได้รับเงิน ล่วงหน้าจากลูกค้าแล้วส่วนหนึ่ง 5. เงินกู้ยืมระยะยาวและรายได้และค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี ในเดือนมีนาคม 2536 บริษัทได้รับวงเงินสินเชื่อจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อ การนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นเงินประมาณ 41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามเงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวบริษัทจะต้องจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมนี้เพียงร้อยละ 65 ส่วน จำนวนเงินกู้ยืมอีกร้อยละ 35 ของวงเงินกู้ให้ถือเป็นเงินให้เปล่า เว้นแต่บริษัทผิดเงื่อนไข ในสัญญา เงินกู้นี้มีอัตรา ดอกเบี้ยตามอัตรา LONDON INTERBANK OFFERED RATE (LIBOR) บวกร้อยละ 2.775 ต่อปี และมีกำหนดระยะเวลาชำระคืน 10 ปี โดยบริษัท ต้องผ่อนชำระคืนเงินต้นภายใน 20 งวด ทุกวันที่ 15 มีนาคม และ 15 กันยายนของทุกปี เริ่มงวดแรกในวันที่ 15 กันยายน 2537 เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยหนังสือค้ำประกันของ ธนาคารที่ออกให้ในนามบริษัทเป็นจำนวนเงินประมาณ 27.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีเงินฝากประจำของบริษัทจำนวนเงินประมาณ 92 ล้านบาท วางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ต่อธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกัน ณ วันที่ 30 กันยายน 2538 และ 2537 บริษัทเบิกเงินกู้จากวงเงินดังกล่าว ประมาณ 30.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 15.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ บริษัท บันทึกเงินต้นจากการกู้ยืมเพียงร้อยละ 65 ของเงินกู้ ส่วนจำนวนที่เหลืออีกร้อยละ 35 ซึ่งถือเป็นเงินให้เปล่าบันทึกไว้ในบัญชี รายได้รอการตัดบัญชี ในงบดุลรวม เนื่องจาก ฝ่ายบริหารเชื่อว่าบริษัทจะสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินให้เปล่าตามที่ระบุ ไว้ในสัญญาได้ ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินกู้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2538 และ 2537 มี จำนวนเงินสุทธิ 10.8 ล้านบาท และ 5.1 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งแสดงเป็นค่าใช้จ่าย รอการตัดบัญชีและรวมเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์อื่นในงบดุลรวม รายได้รอการตัดบัญชี และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินรอตัดบัญชีนี้จะทยอยรับรู้เป็นรายได้และค่าใช้จ่ายตาม ระยะเวลาของการชำระคืนเงินกู้ยืม - 5 - เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2537 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับ ธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง โดยได้รับวงเงินสินเชื่อเป็นจำนวนเงินรวม 400 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นเงินกู้สกุลเหรียญสหรัฐอเมริกาเทียบเท่าเงินสกุลบาท และเงินกู้สกุลบาทรวม 2 จำนวน ๆ ละ 200 ล้านบาทเท่า ๆ กัน โดยเงินกู้ยืมจำนวนแรกมีอัตราดอกเบี้ยตาม อัตรา SINGAPORE INTERBANK OFFERED RATE (SIBOR) บวกร้อยละ 2 ต่อปี ส่วนเงินกู้ยืมจำนวนที่สองมีอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR) ที่ประกาศ โดยธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เงินกู้ยืมนี้มีกำหนดชำระคืนทุกงวดสาม (3)เดือน งวดละเท่า ๆ กันภายในระยะเวลา 8 ปี โดยเริ่มชำระงวดแรก ภายหลังครบกำหนด ระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันเบิกเงินกู้ เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้างของบริษัทย่อย ณ วันที่ 30 กันยายน 2538 บริษัทย่อยได้เบิกเงินกู้จาก วงเงิน ดังกล่าวแล้วประมาณ 349 ล้านบาท (แบ่งเป็นเงินกู้สกุลเหรียญสหรัฐอเมริกา ประมาณ 8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเทียบเท่า เงินสกุลบาท 200 ล้านบาท และเงินกู้ สกุลบาทจำนวนวงเงิน 149 ล้านบาท) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีเงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารในประเทศสองแห่งจำนวน เงิน 166.7 ล้านบาท และ 70 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ย ตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ยืมขั้นต่ำ (MLR) บวกร้อยละ 0.5 การจ่ายชำระคืนเงินต้นเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2540 และตุลาคม 2539 ตามลำดับเงินกู้ยืมเหล่านี้ค้ำประกันโดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 6. หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ ในเดือนเมษายน 2538 บริษัทได้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ จำหน่ายในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญ สหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนด ไว้คงที่เมื่อแปลงสภาพหรือไถ่ถอนเท่ากับ 2,455 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 3.5 ต่อปี ซึ่งผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัท ได้ไม่เกินวันที่ 20 มีนาคม 2548 ในราคาแปลงสภาพตามที่ได้กำหนดไว้ หรือครบ กำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 เมษายน 2548 ตามอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ดังที่กล่าวไว้ ข้างต้น ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัท ณ เวลาใด เวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548 หรือใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไข และข้อกำหนดบางประการตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน นอกจากนี้ บริษัทสามารถ ใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2541 จนถึง วันที่ 20 เมษายน 2543 ถ้าเข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ ในการนี้บริษัท ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน - 6 - เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2538 ผู้ถือหุ้นมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท จาก 400 ล้านบาท (แบ่งเป็น 40 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่า หุ้นละ 10 บาท) และให้สำรองหุ้น สามัญ จำนวน 6 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้ เพื่อรองรับการใช้สิทธิในการแปลงสภาพหุ้นกู้ เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้จดทะเบียนเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเมื่อ วันที่ 27 มกราคม 2538 7. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ณ วันที่ 30 กันยายน ก. บริษัทและบริษัทย่อยมีเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังไม่ได้ใช้เป็นจำนวนเงินรวม ประมาณ 1,738 ล้านบาท ในปี 2538 และ 1,094 ล้านบาทในปี 2537 ข. บริษัทและบริษัทย่อยมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการประกันการ ประมูลงานกับลูกค้าเป็นจำนวนประมาณ 1,077 ล้านบาท ในปี 2538 และ 842 ล้านบาทในปี 2537 ซึ่งบริษัทและบริษัทย่อยได้ให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกัน เพื่อค้ำประกันการประมูลงานดังกล่าว ค. บริษัทมีภาระผูกพันภายใต้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับ ธนาคารบางแห่งเป็นจำนวนเงินเทียบเท่าประมาณ 117 ล้านบาท ในปี 2538 และ 271 ล้านบาทในปี 2537 ง. บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการค้ำประกันกับธนาคารให้ กับกิจการร่วมค้าเป็นจำนวนเงินประมาณ 133 ล้านบาทในปี 2538 และ 2537 8. การจัดประเภทบัญชีใหม่ บัญชีบางรายการในงบการเงินระหว่างกาลรวมปี 2537 ได้จัดประเภท ใหม่เพื่อให้ สอดคล้องกับการแสดงรายการในงบการเงินระหว่างกาลรวมปี 25