งบการเงินระหว่างกาลบมจ.ล็อกซเล่ย์ สิ้นสุด 30 มิ.ย 39
29 สิงหาคม 2539
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ----------------------------------------------------------------- -----------------------------------------
งบการเงินระหว่างกาล
สำหรับงวดสามเดือนและหกเดือน
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2539 และ 2538
และ
รายงานของผู้สอบบัญชี ----------------------------------------------------------------- ----------------------------------------------------------------- -------
รายงานของผู้สอบบัญชี
เสนอ คณะกรรมการบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2539 และงบกำไรขาดทุนสำหรับงวดสาม เดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ส่วนงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) สำหรับงวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2538 ที่นำมาแสดงเปรียบเทียบสอบทานโดยนายธวัช ภูษิตโภยไคย ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีในสำนักงานเดียวกัน กับข้าพเจ้า การสอบทานดังกล่าวกระทำตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับ อนุญาตแห่งประเทศไทย
การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ ในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินและการ สอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มีขอบเขตจำกัด กว่าการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป เพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินมาก ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินที่สอบทานได้
บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย อย่างไรก็ตาม ส่วนได้ เสียในผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมในต่างประเทศที่แสดงรวมไว้ในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวด สามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2539 และ 2538 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 8.05 และ 7.6 ของกำไรสุทธิสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีคำนวณตามงบการเงินที่ยังไม่ได้ตรวจ สอบ/สอบทานโดยผู้สอบบัญชี
ยกเว้นเรื่องที่กล่าวในวรรคที่สาม ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญอื่นซึ่งอาจจะต้องนำมา ปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาลนี้ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปจากการสอบทานของข้าพเจ้า ดังกล่าวข้างต้น
(นายวิเชียร ธรรมตระกูล)
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ทะเบียนเลขที่ 3183 กรุงเทพมหานคร 19 สิงหาคม 2539
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
สอบทานแล้ว
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
งบดุล
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2539 และ 2538
สิ น ท รั พ ย์
พันบาท
2539 2538 สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินลงทุนระยะสั้นในตั๋วสัญญาใช้เงิน 2,135,518 1,147,238
ลูกหนี้การค้า - สุทธิ (หมายเหตุ 3) 933,368 1,009,923
สินค้าคงเหลือ - สุทธิ (หมายเหตุ 3) 1,084,639 1,394,714
ลูกหนี้และเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 1) 677,983 422,270
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 356,848 509,534
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 5,188,356 4,483,679
เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม - วิธีส่วนได้เสีย
(หมายเหตุ 1) 3,197,655 2,025,944
เงินลงทุนในบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน - ในราคาทุน
(หมายเหตุ 1) 741,058 222,279
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 446,056 271,068
สินทรัพย์อื่น (หมายเหตุ 4) 223,238 148,628
รวมสินทรัพย์ 9,796,363 7,151,598
โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล
ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2539 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
สอบทานแล้ว
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
งบดุล
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2539 และ 2538
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
พันบาท
2539 2538 หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร 335,929 412,729
เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย 312,019 244,307
เจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 1) 253,588 158,574
หนี้สินหมุนเวียนอื่น (หมายเหตุ 3) 384,047 401,090
รวมหนี้สินหมุนเวียน 1,285,583 1,216,700
เงินกู้ยืมระยะยาว - สุทธิจากส่วนที่ครบกำหนดชำระ
ภายในหนึ่งปี (หมายเหตุ 4) - 418,500 รายได้รอการตัดบัญชี - สุทธิ (หมายเหตุ 4) - 239,628 หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ(หมายเหตุ 5) 5,105,855 2,455,000 เงินทุนเลี้ยงชีพพนักงาน 59,120 46,394 หนี้สินอื่น 190,000 -
รวมหนี้สิน 6,640,558 4,376,222
ส่วนของผู้ถือหุ้น (หมายเหตุ 5) 3,155,805 2,775,376
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 9,796,363 7,151,598
โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล
ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2539 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
สอบทานแล้ว
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
งบกำไรขาดทุน
สำหรับงวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2539 และ 2538
พันบาท
งวดสามเดือน งวดหกเดือน
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
2539 2538 2539 2538 รายได้ (หมายเหตุ 1)
ขายผลิตภัณฑ์และบริการ 1,221,993 997,518 1,921,173 1,773,722
ส่วนได้เสียในกำไรของ
บริษัทย่อยและบริษัทร่วม - สุทธิ 112,997 119,630 197,790 199,821
ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น
(หมายเหตุ 4) 460,642 89,628 804,585 182,900
รวมรายได้ 1,795,632 1,206,776 2,923,548 2,156,443
ต้นทุนและค่าใช้จ่าย (หมายเหตุ 1)
ต้นทุนขายและบริการ 1,008,584 808,755 1,596,860 1,449,590
ค่าใช้จ่ายอื่น (หมายเหตุ 4) 549,938 232,800 885,411 440,488
ภาษีเงินได้ (หมายเหตุ 6) 78,655 - 108,620 -
รวมต้นทุนและค่าใช้จ่าย 1,637,177 1,041,555 2,590,891 1,890,078
กำไรสุทธิ 158,455 165,221 332,657 266,365
กำไรต่อหุ้น (บาท) 3.96 4.13 8.32 6.66
โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล
ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2539 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
วันที่ 30 มิถุนายน 2539 และ 2538
1. รายการบัญชีกับบริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
รายการธุรกิจบางส่วนของบริษัทมีความเกี่ยวพันกับบริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่น ที่เกี่ยวข้องกัน งบการเงินระหว่างกาลนี้ได้รวมผลของรายการดังกล่าวตามเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกัน ระหว่างบริษัทและบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว
2. กำไรต่อหุ้น
กำไรต่อหุ้นคำนวณโดยการหารกำไรสุทธิด้วยจำนวนหุ้นที่ได้รับชำระแล้ว ณ วันที่ใน งบดุล
3. ลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือ
ลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือส่วนที่เป็นงานระหว่างการติดตั้งส่วนหนึ่งเป็นรายการ ที่เกิดกับหน่วยงานราชการ ซึ่งใช้เวลาในการติดตั้งมากกว่าหนึ่งปี ทั้งนี้ บริษัทได้รับเงิน ล่วงหน้าจากลูกค้าแล้วส่วนหนึ่ง
4. เงินกู้ยืมระยะยาว รายได้และค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี
ในเดือนมีนาคม 2536 บริษัทได้รับวงเงินสินเชื่อจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเพื่อ นำเข้าสินค้าและวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นเงินประมาณ 41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามเงื่อนไข ของสัญญาดังกล่าว บริษัทจะจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมนี้เพียงร้อยละ 65 ส่วนจำนวนเงินกู้ยืม อีกร้อยละ 35 ของวงเงินกู้ให้ถือเป็นเงินให้เปล่า เว้นแต่กรณีบริษัทผิดเงื่อนไขในสัญญา เงินกู้ นี้มีดอกเบี้ยตามอัตรา LONDON INTERBANK OFFERED RATE (LIBOR) บวกร้อยละ 2.775 ต่อปี และมีกำหนดชำระคืนเป็นงวดทุกงวดหกเดือนรวม 20 งวด โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2537
- 2 -
บริษัทถือปฏิบัติในการบันทึกเงินต้นจากการกู้ยืมเงินจากวงเงินกู้ยืมดังกล่าวเพียงร้อยละ 65 ของเงินกู้ที่เบิกใช้ในแต่ละคราว และบันทึกจำนวนที่เหลืออีกร้อยละ 35 ซึ่งถือเป็นเงิน ให้เปล่าไว้ในบัญชี "รายได้รอตัดบัญชี" ในงบดุล เนื่องจากฝ่ายบริหารเชื่อว่าบริษัทจะสามารถ ปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินให้เปล่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาได้ นอกจากนี้ภายใต้เงื่อนไข ตามสัญญาดังกล่าวบริษัทได้จ่ายค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินกู้จำนวน 12 ล้านบาท ซึ่งได้บันทึก ไว้เป็น ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี" และแสดงไว้เป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์อื่นในงบดุล รายได้ รอตัดบัญชีและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินกู้รอตัดบัญชีนี้จะทยอยรับรู้เป็นรายได้และค่าใช้จ่าย ตามอายุของสัญญาเงินกู้
ในระหว่างไตรมาสที่ 1 ของปี 2539 บริษัทได้ชำระคืนเงินกู้ยืมดังกล่าวทั้งจำนวนก่อน กำหนดเป็นจำนวนเงินรวมเทียบเท่าประมาณ 454.2 ล้านบาท (รวมค่าธรรมเนียมการชำระคืน เงินกู้ก่อนกำหนดจำนวน 4.3 ล้านบาท) และปรับปรุงยอดคงเหลือที่ยังไม่ตัดบัญชีของรายได้ และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินกู้รอตัดบัญชีเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในงบกำไรขาดทุน
5. หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ
ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ จำหน่ายในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐ อเมริกา(แบ่งเป็น 100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อแปลงสภาพหรือไถ่ถอน เท่ากับ 2,455 ล้านบาทหุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอน ในวันที่ 20 เมษายน 2548 ในราคาไถ่ถอนและอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพและอัตรา แลกเปลี่ยนคงที่ที่กำหนด ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548 หรือใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน นอกจากนี้บริษัท สามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2541 จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2543 ถ้าเข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ ในการนี้บริษัทต้องปฏิบัติตาม เงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
- 3 -
ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2539 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตรา ต่างประเทศจำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มเติมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 105 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 105,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อ แปลงสภาพหรือไถ่ถอนเท่ากับ 2,646 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 4 เมษายน 2544 ในราคาไถ่ถอนและอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคา แปลงสภาพและอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ที่กำหนด ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2544 นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 จนถึงวันที่ 3 เมษายน 2543 ถ้าเข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ ในการนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ระบุไว้ ในหนังสือชี้ชวน
เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2538 ผู้ถือหุ้นมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท (แบ่งเป็น 40 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท)เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และต่อมาได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่า หุ้นละ 10 บาท) โดยให้สำรองหุ้นสามัญ จำนวนรวม 12 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้ เพื่อรองรับการใช้สิทธิ ในการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้จดทะเบียนเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อ วันที่ 27 มกราคม 2538 และวันที่ 20 มีนาคม 2539 ตามลำดับ 6. ภาษีเงินได้
บริษัทไม่มีค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ในรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2538 เนื่องจาก ความแตกต่างในการบันทึกรายได้และความแตกต่างของเวลาในการบันทึกค่าใช้จ่ายระหว่าง รายงานทางการเงินและรายงานทางภาษี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเงินปันผลและค่าธรรมเนียม ในการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ 7. เงินปันผล
ในที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2539 และวันที่ 25 เมษายน 2538 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจำนวนรวม 140 ล้านบาท ในปี 2539 และ 120 ล้านบาท ในปี 2538 (อัตราหุ้นละ 3.50 บาท และ 3 บาท ตามลำดับ)
- 4 -
8. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2539 บริษัทมี
ก. เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังไม่ได้ใช้เป็นจำนวนเงินประมาณ 1,343.86 ล้านบาท
ข. หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการประกันการประมูลงานกับลูกค้าเป็นจำนวนเงิน รวมประมาณ 628.61 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้ให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันเพื่อค้ำประกัน การประมูลงานดังกล่าว
ค. ภาระผูกพันภายใต้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคารบางแห่ง เป็นจำนวนเงินเทียบเท่าประมาณ 40.59 ล้านบาท