งบการเงินระหว่างกาลรวมสำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือน ปี2539
28 พฤศจิกายน 2539
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
-----------------------------------------------------------------
---------------------------------------------------------
งบการเงินระหว่างกาลรวม
สำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือน
สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538
และ
รายงานของผู้สอบบัญชี
-----------------------------------------------------------------
-----------------------------------------------------------------
-----
รายงานของผู้สอบบัญชี
เสนอ คณะกรรมการบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุลรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 และงบกำไรขาดทุน
รวมสำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
และบริษัทย่อยส่วนงบการเงินรวมของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
สำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2538 ที่นำมาแสดงเปรียบเทียบ
สอบทานโดยนายธวัช ภูษิตโภยไคย ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีในสำนักงานเดียวกันกับข้าพเจ้า
การสอบทานดังกล่าวกระทำตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
รับอนุญาตแห่งประเทศไทย
การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการทำความ
เข้าใจเกี่ยวกับระบบในการจัดทำงบการเงินระหว่างกาลรวม การใช้วิธีวิเคราะห์
เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน และการสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัท
ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มีขอบเขตจำกัดกว่าการ
ตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงิน
รวมมาก ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินรวมที่สอบทานได้
บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย อย่างไรก็ตาม ส่วนได้เสีย
ในผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมบางแห่งที่แสดงรวมไว้ในงบกำไรขาดทุนรวมสำหรับ
งวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538 ซึ่งคิดเป็น
ร้อยละ 17.44 และ 26.77 ของกำไรสุทธิรวมสำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันเดียวกัน
ของแต่ละปีคำนวณตามงบการเงินที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ/สอบทานโดยผู้สอบบัญชี
ยกเว้นเรื่องที่กล่าวในวรรคที่สาม ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญอื่นซึ่ง
อาจจะต้องนำมาปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ให้เป็นไปตามหลักการบัญชี
ที่รับรองทั่วไปจากการสอบทานของข้าพเจ้าดังกล่าวข้างต้น
(นายวิเชียร ธรรมตระกูล)
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ทะเบียนเลขที่ 3183
กรุงเทพมหานคร
23 พฤศจิกายน 2539
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
สอบทานแล้ว
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
งบดุลรวม
ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538
สิ น ท รั พ ย์
พั น บา ท
2539 2538
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินลงทุนระยะสั้นในตั๋วสัญญาใช้เงิน 2,093,870 1,349,904
ลูกหนี้การค้า - สุทธิ (หมายเหตุ 4) 2,009,030 1,906,615
สินค้าคงเหลือ - สุทธิ (หมายเหตุ 4) 2,053,281 1,368,331
ลูกหนี้และเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 2) 325,191 56,395
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 947,837 488,887
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 7,429,209 5,170,132
เงินลงทุนในบริษัทร่วม - วิธีส่วนได้เสีย (หมายเหตุ 2) 2,848,975 1,963,647
เงินลงทุนในบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน - ในราคาทุน (หมายเหตุ 2) 749,152 370,127
เงินลงทุนในกิจการร่วมค้า - ราคาทุน 1,742 1,742
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 1,657,224 1,368,318
สินทรัพย์อื่น (หมายเหตุ 5) 421,606 314,040
รวมสินทรัพย์ 13,107,908 9,188,006
โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล
ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2539 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
สอบทานแล้ว
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
งบดุลรวม
ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
พั น บา ท
2539 2538
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร 1,212,223 629,399
เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย 957,518 537,602
เจ้าหนี้และเงินกู้ยืมจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 2) 385,839 363,944
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 1,033,964 728,865
รวมหนี้สินหมุนเวียน 3,589,544 2,259,810
เงินกู้ยืมระยะยาว - สุทธิจากส่วนที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี
(หมายเหตุ 5) 353,843 1,056,155
รายได้รอการตัดบัญชี - สุทธิ (หมายเหตุ 5) - 233,785
เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า (หมายเหตุ 4) 166,084 159,504
หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ (หมายเหตุ 6) 5,105,855 2,455,000
เงินทุนเลี้ยงชีพพนักงาน 80,966 59,810
หนี้สินอื่น 231,416 5,887
รวมหนี้สิน 9,527,708 6,229,951
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อย 398,035 146,556
ส่วนของผู้ถือหุ้น (หมายเหตุ 6) 3,182,165 2,811,499
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 13,107,908 9,188,006
โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล
ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2539 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม
ยังไม่ได้ตรวจสอบ
สอบทานแล้ว
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
งบกำไรขาดทุนรวม
สำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538
พันบาท
งวดสามเดือน งวดเก้าเดือน
สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน
2539 2538 2539 2538
รายได้ (หมายเหตุ 2)
ขายผลิตภัณฑ์และบริการ 2,143,526 1,896,095 6,117,932 5,115,808
ส่วนได้เสียในกำไรของ
บริษัทร่วม-สุทธิ 120,791 93,229 326,867 282,072
ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น
(หมายเหตุ 5) 366,454 174,631 1,198,795 365,929
รวมรายได้ 2,630,771 2,163,955 7,643,594 5,763,809
ต้นทุนและค่าใช้จ่าย (หมายเหตุ 2)
ต้นทุนขายและบริการ 1,675,996 1,487,245 4,678,267 3,787,666
ค่าใช้จ่ายอื่น (หมายเหตุ 5) 815,568 572,759 2,413,462 1,603,122
ภาษีเงินได้ 6,901 1,364 143,972 31,167
รวมต้นทุนและค่าใช้จ่าย 2,498,465 2,061,368 7,235,701 5,421,955
กำไรก่อนขาดทุนสุทธิของบริษัทย่อย
ก่อนซื้อเงินลงทุนและส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนน้อยในกำไรสุทธิของบริษัทย่อย 132,306 102,587 407,893 341,854
ขาดทุนสุทธิของบริษัทย่อย
ก่อนซื้อเงินลงทุน 19,136 - 19,448 -
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในขาดทุน
(กำไร) สุทธิของบริษัทย่อย (17,580) 8,312 (9,925) 8,197
กำไรสุทธิ 133,862 110,899 417,416 350,051
กำไรต่อหุ้น (บาท) 3.35 2.77 10.44 8.75
โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล
ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2539 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม
วันที่ 30 กันยายน 2539 และ 2538
1. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม
งบการเงินรวมนี้ได้รวมบัญชีของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท
ต่าง ๆ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยหรือบริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจ
ควบคุม ดังต่อไปนี้
อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง
ณ วันที่ 30 กันยายน
2539 2538
บริษัทย่อย
บริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น
เทคโนโลยี จำกัด 99 99
บริษัท ล็อกซเล่ย์ เมียนมาร์ จำกัด (ยังไม่ได้
ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 99
บริษัท เซลลูล่าร์ โปรดักส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด 99 99
บริษัท แอล แวฟ จำกัด 99 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทิลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด 90 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ คอมแวร์ จำกัด 70 67
บริษัท ล็อกซเล่ย์ แปซิฟิก จำกัด 70 -
บริษัท โปรเฟสชั่นนัลคอมพิวเตอร์ จำกัด 67 67
บริษัท โอเพ่น ซีสเต็ม อินทิเกรเตอร์ จำกัด 67 67
บริษัท ล็อกซเล่ย์ นิวเท็ค จำกัด 67 -
บริษัท การค้าลาว จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบ
พาณิชยกิจหลัก) 67 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น จำกัด 65 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด 65 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาส แอนด์ มีเดีย จำกัด 60 60
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟรา จำกัด 60 60
บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์
(ประเทศไทย) จำกัด 55 55
บริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด 55 55
บริษัท ล็อกซ์ดาต้า จำกัด 52 52
- 2 -
อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง
ณ วันที่ 30 กันยายน
2539 2538
บริษัท ล็อกซเล่ย์ แซทเทลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์
จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 51 -
บริษัท ทีเอ็นที ลอจีสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51 -
บริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
มีอำนาจควบคุม
บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด
(เดิมชื่อบริษัท ธนากรเทรดดิ้ง จำกัด) 50 50
บริษัท ล็อกซเล่ย์ พลังงาน จำกัด
(ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 45 45
บริษัท ล็อกซเล่ย์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด 40 40
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์กราฟ (ประเทศไทย) จำกัด 40 40
รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัทต่าง ๆ ดังกล่าวข้าง
ต้นได้แสดงหักกลบลบกันในงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้แล้ว
ในไตรมาสที่สองของปี 2537 บริษัทได้ลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม-
มิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฮัทชิสัน) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55
ในเดือนพฤษภาคม 2537 ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้นของบริษัท ฮัทชิสัน บริษัทต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้น
เกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นผลให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้
ในบัญชี "จำนวนเงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น
ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ 12 ปี ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 ยอดคงเหลือ
ในบัญชีดังกล่าว ที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมีจำนวนเงินประมาณ 27.1 ล้านบาท
อนึ่ง เนื่องจากบริษัทถือหุ้นในบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์(ประเทศไทย)จำกัด
("ฮัทชิสัน") เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55 ในเดือนพฤษภาคม 2537 ดังกล่าว
ข้างต้น ดังนั้น บริษัทจึงเปลี่ยนแปลงการรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนในบริษัทดังกล่าวที่มี
อยู่เดิมและที่เกิดขึ้นใหม่โดยในช่วงที่บริษัทถือหุ้นของบริษัทนี้เพียงร้อยละ 45 บริษัทบันทึกบัญชี
เงินลงทุนในบริษัทนี้ตามวิธีส่วนได้เสีย บริษัทจึงไม่ได้บันทึกรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนที่
เป็นส่วนของบริษัทในงบการเงิน อย่างไรก็ดี เมื่อบริษัทถือหุ้นเป็นร้อยละ 55 บริษัทต้อง
นำงบการเงิน ของฮัทชิสันมาจัดทำงบการเงินรวม ในการนี้ บริษัทได้บันทึกรับรู้ผลขาดทุน
ในขาดทุนสะสมเกินทุน
- 3 -
ของฮัทชิสันทั้งหมดในงบการเงินรวมด้วย ซึ่งผลขาดทุนดังกล่าวได้รวมผลขาดทุน
ในฮัทชิสันที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวน 60.4 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้บันทึกรอตัด
บัญชีไว้ในบัญชีสินทรัพย์อื่น และตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงภายในเวลาประมาณ
12 ปี นอกจากนี้ บริษัทจะนำส่วนแบ่งกำไรของฮัทชิสันที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาหัก
ออกจากยอดที่ยังตัดบัญชีไม่หมดเมื่อฮัทชิสันมีกำไรด้วย อย่างไรก็ตาม ในระหว่าง
ไตรมาสที่หนึ่งของปี 2539 ฮัทชิสันได้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัททำให้ขาดทุนสะสม
เกินทุนของฮัทชิสันหมดไป บริษัทจึงได้ปรับปรุงยอดคงเหลือในขาดทุนสะสมเกินทุน
ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีจำนวนเงินรวมประมาณ 35.8 ล้านบาท
กับส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในฮัทชิสันซึ่งเพิ่มขึ้นจากการจดทะเบียนเพิ่มทุนดังกล่าว
บริษัทได้นำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อ
บริษัท ธนากร เทรดดิ้ง จำกัด) ซึ่งบริษัทลงทุนไว้ร้อยละ 50 ในเดือนพฤษภาคม
2537 มารวมในการจัดทำงบการเงินรวมด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีอำนาจในการ
ควบคุม ในวันที่บริษัทซื้อหุ้นของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัทได้จ่ายเงิน
ค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึก
ผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "จำนวนเงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ"
ภายใต้สินทรัพย์อื่นซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี ณ วันที่ 30 กันยายน
2539 ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี มีจำนวนเงินประมาณ
43.9 ล้านบาท นอกจากนี้ในการนำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด
มาจัดทำงบการเงินรวมนั้น บริษัทได้บันทึกผลขาดทุนในขาดทุนสะสมเกินทุนของ
บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด ทั้งหมดในงบการเงินรวมด้วย ซึ่งผลขาดทุน
ดังกล่าวได้รวมผลขาดทุนที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวน 27 ล้านบาท ซึ่ง
บริษัทได้บันทึกรอตัดบัญชีไว้ในบัญชีสินทรัพย์อื่นและตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา
15 ปี อย่างไรก็ดี บริษัทได้นำส่วนแบ่งในกำไรของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด
เฉพาะที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาหักออกจากยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวหมดแล้ว
ในปี 2538
ในระหว่างไตรมาสที่สามของปี 2539 บริษัทได้เข้าลงทุนในหุ้นทุนของ
บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทิลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด จำนวนร้อยละ 90 ในการนี้ บริษัท
ได้จ่ายเงินค่าหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์ สุทธิของบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผลทำให้บริษัท
ต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "จำนวนเงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่า
สินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย ภายในเวลาประมาณ
10 ปี ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ตัด
บัญชีมีจำนวนเงินประมาณ 58.5 ล้านบาท
- 4 -
2. รายการบัญชีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
รายการธุรกิจบางส่วนของบริษัทและบริษัทย่อยเกิดจากรายการบัญชีกับบริษัท
ที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดยการมีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน
งบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ได้รวมผลของรายการดังกล่าวตามเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกัน
ระหว่างบริษัทและบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว
3. กำไรต่อหุ้น
กำไรต่อหุ้นคำนวณโดยการหารกำไรสุทธิรวมด้วยจำนวนหุ้นที่ได้รับชำระแล้ว
ณ วันที่ในงบดุล
4. ลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือ
ลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือส่วนที่เป็นงานระหว่างติดตั้งส่วนหนึ่งเป็นรายการ
ที่เกิดกับหน่วยงานราชการซึ่งใช้เวลาในการติดตั้งมากกว่าหนึ่งปี ทั้งนี้บริษัทและบริษัท
ย่อยได้รับเงินล่วงหน้าจากลูกค้าแล้วส่วนหนึ่ง
5. เงินกู้ยืมระยะยาว รายได้และค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี
ในเดือนมีนาคม 2536 บริษัทได้รับวงเงินสินเชื่อจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง
เพื่อนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นเงินประมาณ 41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตามเงื่อนไขของสัญญาดังกล่าว บริษัทจะจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมนี้เพียงร้อยละ 65 ส่วน
จำนวนเงินกู้ยืมอีกร้อยละ 35 ของวงเงินกู้ให้ถือเป็นเงินให้เปล่า เว้นแต่กรณีบริษัท
ผิดเงื่อนไขในสัญญา เงินกู้นี้มีอัตราดอกเบี้ยตามอัตรา LONDON INTERBANK
OFFERED RATE (LIBOR) บวกร้อยละ 2.775 ต่อปี และมีกำหนดชำระคืน
เป็นงวดทุกงวดหกเดือนรวม 20 งวด โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2537
- 5 -
บริษัทถือปฏิบัติในการบันทึกเงินต้นจากการกู้ยืมเงินจากวงเงินกู้ยืมดังกล่าว
เพียงร้อยละ 65 ของเงินกู้ที่เบิกใช้ในแต่ละคราว และบันทึกจำนวนที่เหลืออีก
ร้อยละ 35 ซึ่งถือเป็นเงินให้เปล่าไว้ในบัญชี "รายได้รอตัดบัญชี " ในงบดุล
เนื่องจากฝ่ายบริหารเชื่อว่าบริษัทจะสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินให้เปล่า
ตามที่ระบุไว้ในสัญญาได้ นอกจากนี้ ภายใต้เงื่อนไขตามสัญญา ดังกล่าว บริษัท
ได้จ่ายค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินกู้จำนวน 12 ล้านบาท ซึ่งได้บันทึกไว้เป็น
"ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี" และแสดงไว้เป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์อื่นในงบดุล รายได้
รอตัดบัญชีและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินกู้รอตัดบัญชีนี้จะทยอยรับรู้เป็นรายได้และ
ค่าใช้จ่ายตามอายุของสัญญาเงินกู้
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2539 บริษัทได้ชำระคืนเงินกู้ยืมดังกล่าวทั้งจำนวน
ก่อนกำหนด เป็นจำนวนเงินรวมเทียบเท่าประมาณ 454.2 ล้านบาท (รวม
ค่าธรรมเนียมการชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนดจำนวน 4.3 ล้านบาท) และปรับปรุง
ยอดคงเหลือที่ยังไม่ตัดบัญชีของรายได้และค่าธรรมเนียม การใช้วงเงินกู้รอตัดบัญชี
เป็นรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในงบกำไรขาดทุน
ในเดือนมีนาคม 2537 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคาร
ในประเทศแห่งหนึ่ง โดยได้รับวงเงินสินเชื่อเป็นจำนวนเงินรวม 400 ล้านบาท
ซึ่งแบ่งเป็นเงินกู้สกุลเหรียญสหรัฐอเมริกาเทียบเท่าเงินสกุลบาท และเงินกู้สกุลบาท
รวม 2 จำนวน ๆ ละ 200 ล้านบาทเท่า ๆ กัน โดยเงินกู้ยืมจำนวนแรกมีดอกเบี้ย
ตามอัตรา SINGAPORE INTERBANK OFFERED RATE (SIBOR) บวกร้อยละ 2
ต่อปี ส่วนเงินกู้ยืมจำนวนที่สองมีดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR) ที่
ประกาศโดยธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เงินกู้ยืมนี้มีกำหนดชำระคืนเป็นงวดทุก
งวดสามเดือนรวม 24 งวด โดยเริ่มชำระงวดแรกภายหลังครบกำหนดระยะ
เวลา 2 ปีนับแต่วันเบิกเงินกู้ เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อม
สิ่งปลูกสร้างของบริษัทย่อย ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 บริษัทย่อยได้เบิกเงินกู้
จากวงเงินดังกล่าวเป็นจำนวนเงินเทียบเท่ารวมประมาณ 349 ล้านบาท
ในเดือนตุลาคม 2537 และกันยายน 2538 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญา
กู้ยืมเงินจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเป็นจำนวนเงิน 60 ล้านบาท และ
13.5 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นงวดสิ้นสุดเดือนเมษายน
2544 และเดือนกันยายน 2543 ตามลำดับเงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยการจำนำ
เครื่องจักรและอุปกรณ์ดำเนินงานของบริษัทย่อย
- 6 -
บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีเงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารในประเทศสองแห่ง
จำนวนเงิน 66.7 ล้านบาท และ 15 ล้านบาท ซึ่งมีดอกเบี้ยตามอัตรา MOR
บวกร้อยละ 0.5 ต่อปี โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นงวดจนถึงเดือนมีนาคม 2540
และตุลาคม 2539 ตามลำดับ เงินกู้ยืมเหล่านี้ค้ำประกันโดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
6. หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ
ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงิน
ต่างประเทศจำหน่ายในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนรวม
100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้
หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตรา
แลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อแปลงสภาพหรือไถ่ถอนเท่ากับ 2,455 ล้านบาท
หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20
เมษายน 2548 ในราคาไถ่ถอนและอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ที่กำหนด อย่างไรก็ตาม
ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพ
และอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ที่กำหนด ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20
กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548 หรือใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด
ในวันที่ 20 เมษายน 2543 ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการตาม
ที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน นอกจากนี้บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือ
ทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2541 จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2543
ถ้าเข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ ในการนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและ
ข้อกำหนดบางประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2539 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตรา
ต่างประเทศจำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มเติมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวน
รวม 105 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 105,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้
หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน
ที่กำหนดไว้คงที่เมื่อแปลงสภาพเท่ากับ 2,646 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตรา
ร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 4 เมษายน 2544 อย่างไรก็ตาม
ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพและ
อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ที่กำหนด ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม
2539 ถึง วันที่ 4 มีนาคม 2544 นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บาง
ส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 จนถึงวันที่ 3 เมษายน 2543
ถ้าเข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ ในการนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ระบุ
ไว้ในหนังสือชี้ชวน
- 7 -
เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11
มกราคม 2538 ผู้ถือหุ้นมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท
(แบ่งเป็น 40 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46
ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และต่อมาได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ให้เพิ่มทุน
จดทะเบียนของบริษัทจาก 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท)
เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่า หุ้นละ 10 บาท) โดยให้สำรอง
หุ้นสามัญจำนวนรวม 12 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้ เพื่อรองรับการใช้สิทธิในการแปลงสภาพหุ้นกู้
เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้จดทะเบียนเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27
มกราคม 2538 และวันที่ 20 มีนาคม 2539 ตามลำดับ
7. เงินปันผล
ในการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2539 และวันที่ 25
เมษายน 2538 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจำนวนรวม 140 ล้านบาท ในปี
2539 และ 120 ล้านบาท ในปี 2538 (อัตราหุ้นละ 3.50 บาท และ 3 บาท
ตามลำดับ)
8. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า
ณ วันที่ 30 กันยายน 2539
ก. บริษัทและบริษัทย่อยมีเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังไม่ได้ใช้เป็นจำนวนเงิน
รวมประมาณ 1,580 ล้านบาท
ข. บริษัทและบริษัทย่อยมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการประกันการ
ประมูลงานกับลูกค้าเป็นจำนวนประมาณ 1,076.6 ล้านบาท ซึ่งบริษัทและบริษัทย่อย
ได้ให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันเพื่อค้ำประกันการประมูลงานดังกล่าว
ค. บริษัทมีภาระผูกพันภายใต้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับ
ธนาคารบางแห่งเป็นจำนวนเงินเทียบเท่าประมาณ 0.69 ล้านบาท
ง. บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการค้ำประกันกับ
ธนาคารให้กับ กิจการร่วมค้าเป็นจำนวนเงินประมาณ 133 ล้านบาท