บการเงินบริษัทล็อกซเล่ย์ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
25 มีนาคม 2540
โปรดดูรายงานการสอบบัญชีของนายวิเชียร ธรรมตระกูล
ลงวันที่ 18 มีนาคม 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงิน
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
วันที่ 31 ธันวาคม 2539 และ 2538
1. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ
สินค้าคงเหลือ
บริษัทตีราคาสินค้าคงเหลือในราคาทุนถัวเฉลี่ยหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
บริษัทตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้จากลูกหนี้
ที่มีอยู่ จำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้นี้ประมาณขึ้นจากประสบการณ์การเรียกเก็บหนี้ในอดีต
ควบคู่กับการวิเคราะห์ฐานะการเงินในปัจจุบันของลูกหนี้
เงินลงทุนในหุ้นทุน
บริษัทบันทึกเงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย ในกรณี
ที่บริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมแสดงผลการดำเนินงานขาดทุน บริษัทจะหยุดบันทึกเงินลงทุนตามวิธี
ส่วนได้เสียเมื่อยอดคงเหลือในบัญชีเงินลงทุนของบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนั้นลดลงเป็นศูนย์และ
หลังจากนั้นจะไม่บันทึกรับรู้ส่วนแบ่งผลขาดทุนเพิ่มอีก บริษัทจะกลับมาบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วน
ได้เสียอีกครั้งก็ต่อเมื่อในเวลาต่อมาบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนั้นมีกำไร และส่วนแบ่งของกำไร
ดังกล่าวที่เป็นของบริษัทมีจำนวนเท่ากับส่วนแบ่งผลขาดทุนที่บริษัทยังไม่ได้บันทึกรับรู้เนื่องจากการ
หยุดใช้วิธีส่วนได้เสียดังกล่าว
เงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันซึ่งถือไว้เป็นเงินลงทุนระยะยาวตีราคาในราคา
ทุน กำไรหรือขาดทุนจากเงินลงทุนดังกล่าวจะบันทึกบัญชีเมื่อจำหน่ายเงินลงทุนนั้นแล้ว
ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชี
บริษัทตัดค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณ
ของสินทรัพย์เป็นเวลา 5 ปี ถึง 20 ปี
ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่ายหุ้นสามัญและหุ้นกู้แปลงสภาพตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงเป็น
เวลา 3 ปี 5 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ
- 2 -
รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
บริษัทบันทึกรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่
เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งมียอดคงเหลือ ณ วันที่ในงบดุล แปลงค่า
โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าวหรือตามอัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้วแต่กรณี
กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าบันทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
การรับรู้รายได้และต้นทุน
บริษัทบันทึกรายได้ตามสัญญาซึ่งต้องใช้เวลาในการติดตั้งเป็นเวลานานตามสัดส่วนของงานที่แล้ว
เสร็จ ส่วนต้นทุนที่เกี่ยวข้องจะบันทึกบัญชีเมื่อเกิดรายการ
กำไรต่อหุ้น
กำไรต่อหุ้นคำนวณโดยการหารกำไรสุทธิด้วยจำนวนหุ้นที่มีอยู่ ณ วันสิ้นปี บริษัทไม่ได้แสดงกำไร
ต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่เพื่อการเปรียบเทียบ เนื่องจากการลดลงของกำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่ที่คำนวณได้
มีจำนวนไม่เป็นสาระสำคัญ
2. รายการบัญชีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น ต้นทุนขายและ
บริการและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นรายการที่เกิดขึ้นกับบริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่น
ที่เกี่ยวข้องกันบางแห่ง บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดยมีผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือ ผู้บริหารในตำแหน่ง
ที่สำคัญร่วมกัน งบการเงินนี้รวมผลของรายการดังกล่าวตามเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกันระหว่างบริษัทกับบริษัทที่
เกี่ยวข้องกันดังกล่าว ยอดคงเหลือที่มีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 และ
2538 ได้แสดงแยกไว้ต่างหากในงบดุล
- 3 -
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 และ 2538 รายการที่สำคัญระหว่างบริษัทกับบริษัทย่อย บริษัทร่วม
และบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งรวมไว้ในงบการเงินนี้ มีดังนี้
พันบาท
2539 2538
ขายผลิตภัณฑ์และบริการ 749,443 632,434
ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 162,941 78,937
ต้นทุนขายและบริการ 850,021 297,496
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 137,070 56,131
3. สินค้าคงเหลือ
บัญชีนี้ประกอบด้วย
บา ท
2539 2538
สินค้าคงเหลือ 635,659,319 588,530,353
ชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับงานโครงการ 699,918,913 459,301,641
รวม 1,335,578,232 1,047,831,994
หัก จำนวนกันไว้เผื่อขาดทุนจากมูลค่าที่ลดลง (42,922,825) (13,475,977)
สุทธิ 1,292,655,407 1,034,356,017
4. ลูกหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - การค้าและอื่น ๆ
บัญชีนี้รวมเงินล่วงหน้าเพื่อบริษัทย่อยแห่งหนึ่งสำหรับค่าหุ้นเพิ่มทุน บริษัทไม่ได้แสดงเงินล่วงหน้า
ค่าหุ้นเพิ่มทุนนี้ไว้ภายใต้บัญชี เงินลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน เนื่องจากในปัจจุบัน บริษัทย่อยดังกล่าว
ยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการเพื่อขอจดทะเบียนเพิ่มทุนกับกระทรวงพาณิชย์
- 4 -
5. เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้อง
บัญชีนี้ประกอบด้วย
อัตราส่วนการถือหุ้น บา ท
2539 2538 2539 2538
บัญชีย่อย - วิธีส่วนได้เสีย
บริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส
อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด 99 99 233,854,969 53,735,512
บริษัท ล็อกซเล่ย์ เมียนมาร์ จำกัด
(ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 99 4,145,657 4,145,657
บริษัท เซลลูล่าร์ โปรดักส์ แอนด์
เซอร์วิส จำกัด 99 99 28,683,608 3,353,954
บริษัท แอล แวฟ จำกัด 99 - 14,599,434 -
บริษัท จาโก จำกัด 99 - - -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทิลิตี้ส์
เซอร์วิส จำกัด 90 - 44,442,943 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ แปซิฟิก จำกัด 70 - 131,465,493 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ คอมแวร์ จำกัด 70 70 2,664,852 4,045,760
บริษัท โอเพ่น ซีสเต็ม อินทิเกรเตอร์
จำกัด 67 67 1,421,874 2,551,539
บริษัท การค้าลาว จำกัด
(ย้งไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 67 - 7,456,369 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ นิวเท็ค จำกัด 67 51 2,585,919 7,650,000
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น
เซอร์วิส จำกัด 65 - - -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น จำกัด 65 - 5,629,467 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟรา จำกัด 60 60 16,676,578 12,984,889
บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาส
แอนด์มีเดีย จำกัด 60 60 2,798,333 10,825,094
- 5 -
อัตราส่วนการถือหุ้น บา ท
2539 2538 2539 2538
บริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด 55 55 171,759,717 14,046,956
บริษัท ล็อกซ์ดาต้า จำกัด 52 52 4,682,904 -
บริษัท ล็อกซเล่ย์ แซทเทิลไลท์
คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด 51 51 - 212,254
บริษัท ทีเอ็นที ลอจีสติกส์ จำกัด 51 51 - 2,845,320
บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด 50 50 74,450,730 60,656,415
บริษัท ล็อกซเล่ย์ พลังงาน จำกัด 45 45 1,125,553 1,127,180
บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์กราฟ
(ประเทศไทย) จำกัด 40 40 4,410,533 2,155,194
บริษัท ล็อกซเล่ย์ พร็อพเพอร์ตี้
ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 40 40 42,894,751 42,180,924
บริษัท โปรเฟสชั่นแนล คอมพิวเตอร์
จำกัด - 67 - 62,562,116
บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์
(ประเทศไทย) จำกัด
(โปรดดูหมายเหตุ 1) - 55 - 10,645,983
รวม 795,749,684 295,724,747
บริษัทร่วม - วิธีส่วนได้เสีย
บริษัท ล็อกซเล่ย์ ซีเอสอาร์ อินซูเลชั่น
จำกัด 50 50 133,711,745 65,564,332
บริษัท แซ็กซอน (ไทยแลนด์) จำกัด 50 50 140,511,856 141,211,506
บริษัท คาสตรอล (ไทยแลนด์) จำกัด 49 49 247,928,748 188,023,459
บริษัท อิริคสัน ไทย เน็ทเวิร์ค จำกัด 33 33 10,846,185 5,272,190
บริษัท การ์ดไฟร์ จำกัด 30 30 10,572,806 6,836,592
บริษัท น้ำหวานลาว จำกัด 30 30 54,291,655 44,968,816
บริษัท ล็อกซเล่ย์อลูมิเนียม
และวิศวกรรม จำกัด 30 30 - 6,874,898
- 6 -
อัตราส่วนการถือหุ้น บา ท
2539 2538 2539 2538
บริษัท นิวเพจเจอร์ คอร์ปอเรชั่น
อเมริกา 27 27 74,744,632 97,034,189
บริษัท ไทยเซลลูโลส โปรดักส์ จำกัด 26 26 8,341,675 24,891,692
บริษัท บี เอช พี สตีล โพรดักส์
(ไทยแลนด์) จำกัด 25 25 83,075,291 44,707,310
บริษัท ไทยฟลายอิ้ง เซอร์วิส จำกัด 25 25 17,024,093 18,513,624
บริษัท เบียร์ลาว จำกัด 25 25 239,874,124 181,609,279
บริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์
เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด - 19.2 - 1,278,854,068
อื่น ๆ 382,387,469 15,283,694
รวม 1,403,310,279 2,119,645,649
รวมทั้งสิ้น 2,199,059,963 2,415,370,396
บา ท
2539 2538
บริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน - ในราคาทุน
บริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด 1,532,860,615 -
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ จำกัด 320,678,998 266,426,661
บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด
(โปรดดูหมายเหตุ 1) 85,250,000 -
ธนาคารกสิกรไทย 53,081,693 53,081,693
บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด 35,621,190 35,621,190
อื่น ๆ 473,362,833 61,320,355
รวมทั้งสิ้น 2,500,855,329 416,449,899
มูลค่าตามราคาตลาด/มูลค่าตามบัญชีสุทธิรวมของเงินลงทุนเหล่านี้ซึ่งถือตามราคาปิด
ครั้งหลังสุด และ/หรือ งบการเงินที่ตรวจสอบครั้งล่าสุดที่มีอยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 และ 2538
มีจำนวนเงินสูงกว่าราคาทุนรวม
-7 -
ในปี 2538 บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด ตาม
วิธีส่วนได้เสีย ต่อมาในปี 2539 บริษัทได้ขายเงินลงทุนส่วนหนึ่งซึ่งมีผลทำให้อัตราส่วนการถือครองหุ้นใน
บริษัทดังกล่าวไม่ถึงร้อยละ 20 บริษัทจึงเปลี่ยนวิธีการบันทึกเงินลงทุนจากเดิมไปใช้วิธีบันทึกบัญชีตามราคาทุน
โดยถือเอายอดคงเหลือในบัญชีตามวิธีส่วนได้เสียที่คงเหลืออยู่เป็นราคาทุนของเงินลงทุน
6. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - ในราคาทุน
บัญชีนี้ประกอบด้วย
บา ท
2539 2538
ที่ดิน 53,196,493 53,196,493
อาคารและส่วนปรับปรุง 304,149,089 194,828,349
เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและเครื่องใช้สำนักงาน 360,506,817 271,484,542
อุปกรณ์สำนักงานให้เช่า 25,198,571 25,159,084
ยานพาหนะ 53,380,210 51,407,359
งานระหว่างก่อสร้าง 55,780,918 15,354,212
รวม 852,212,098 611,430,039
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม (321,758,037) (233,546,551)
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 530,454,061 377,883,488
ค่าเสื่อมราคาที่บันทึกเป็นต้นทุนและค่าใช้จ่ายสำหรับ
ปี 2539 และ 2538 มีจำนวนเงินประมาณ 90.5 ล้านบาท และ 47.6 ล้าน
บาท ตามลำดับ
7. สินทรัพย์อื่น
บัญชีนี้ประกอบด้วย
บา ท
2539 2538
ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่ายหุ้นรอตัดบัญชี - สุทธิ - 18,651,600
ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่ายหุ้นกู้แปลงสภาพ
รอตัดบัญชี - สุทธิ 122,833,521 69,378,996
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 36,805,218 36,076,135
เงินมัดจำและอื่น ๆ 38,947,872 44,680,993
รวม 198,586,611 168,787,724
- 8 -
8. เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร
บัญชีนี้ประกอบด้วย
บา ท
2539 2538
เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร 10,488,186 33,690,082
เงินกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารในประเทศและต่างประเทศ - 96,453,750
หนี้สินจากการรับรองตั๋วเงินและจากการทำทรัสต์รีซีทส์ 364,440,162 408,285,471
รวม 374,928,348 538,429,303
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 และ 2538 บริษัทมีวงเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมกับธนาคาร
ต่างๆ ในวงเงินรวม 2,993 ล้านบาท และ 3,566 ล้านบาทตามลำดับ โดยมีอัตราดอกเบี้ยระหว่าง
ร้อยละ 12.25 ถึงร้อยละ 14.5 ต่อปีสำหรับเงินกู้ยืมจากธนาคารในประเทศ และอัตราดอกเบี้ยในปี
2538 ร้อยละ 1.25 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืมจากธนาคารในต่างประเทศ
ตามเงื่อนไขของสัญญาเกี่ยวกับการทำทรัสต์รีซีทส์ บริษัทนำเข้าสินค้าที่สั่งเข้ามาภายใต้การใช้
เครดิตของธนาคาร ดังนั้น บริษัทจึงต้องมีภาระผูกพันต่อธนาคารสำหรับสินค้าดังกล่าวทั้งที่คงเหลืออยู่หรือ
ขายไป
9. เงินกู้ยืมระยะยาวและรายได้และค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี
ในเดือนมีนาคม 2536 บริษัทได้รับวงเงินสินเชื่อจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเพื่อนำเข้า
สินค้าและวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นเงินประมาณ 41 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ตามเงื่อนไขของสัญญา
ดังกล่าวบริษัทจะจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมนี้เพียงร้อยละ 65 ส่วนจำนวนเงินกู้ยืมอีกร้อยละ 35 ของวงเงินกู้
ให้ถือเป็นเงินให้เปล่า เว้นแต่บริษัทปฏิบัติผิดเงื่อนไขในสัญญา เงินกู้ยืมนี้มีอัตราดอกเบี้ยตามอัตรา
LONDON INTERBANK OFFERED RATE (LIBOR) บวกร้อยละ 2.775 ต่อปี และมีกำหนดระยะเวลา
ชำระคืนเป็นงวดทุกงวดหกเดือนรวม 20 งวด โดยเริ่มตั้งแต่ 15 กันยายน 2537
- 9 -
บริษัทถือปฏิบัติในการบันทึกเงินต้นจากวงเงินกู้ยืมดังกล่าวเพียงร้อยละ 65 ของเงินกู้ และ
บันทึกจำนวนที่เหลืออีกร้อยละ 35 ซึ่งถือเป็นเงินให้เปล่าไว้ในบัญชี รายได้รอการตัดบัญชี ในงบดุล
เนื่องจากฝ่ายบริหารเชื่อว่าบริษัทจะสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินให้เปล่าตามที่ระบุไว้ใน
สัญญาได้ นอกจากนี้ ภายใต้เงื่อนไขตามสัญญาเงินกู้ดังกล่าว บริษัทได้จ่ายค่าธรรมเนียมการใช้
วงเงินกู้จำนวน 12 ล้านบาท ซึ่งบันทึกไว้เป็น ค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี และแสดงไว้เป็นส่วนหนึ่งของ
สินทรัพย์อื่นในงบดุล รายได้รอตัดบัญชีและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินกู้รอตัดบัญชีนี้จะทยอยรับรู้เป็น
รายได้และค่าใช้จ่ายตามอายุสัญญาเงินกู้
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2539 บริษัทได้ชำระคืนเงินกู้ยืมดังกล่าวทั้งจำนวนก่อนกำหนดเป็น
จำนวนเงินรวมเทียบเท่าประมาณ 454.2 ล้านบาท (รวมค่าธรรมเนียมการชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนด
จำนวน 4.3 ล้านบาท) และได้ปรับปรุงยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีของรายได้และค่าธรรมเนียม
การใช้วงเงินกู้รอตัดบัญชีเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในงบกำไรขาดทุน
10. หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ
ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศจำหน่าย
ในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น
100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาท
ตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพหรือครบกำหนดไถ่ถอนเท่ากับ 2,455
ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 เมษายน 2548
อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ
500 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548
หรือใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ
1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการตามที่ระบุไว้ในหนังสือ
ชี้ชวน นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
2541 จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มต่างๆ กันรวมเป็นหุ้นละ 1,237 หรือ 1,310
เหรียญสหรัฐอเมริกาขึ้นกับระยะเวลาที่ไถ่ถอน ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการ
ที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
(ยังมีต่อ)