บการเงินบมจ.ล็อกซเล่ย และบริษัทย่อย สิ้นสุด 31 ธ.

26 มีนาคม 2540
โปรดดูรายงานการสอบบัญชีของนายวิเชียร ธรรมตระกูล ลงวันที่ 21 มีนาคม 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงินรวม วันที่ 31 ธันวาคม 2539 และ 2538 1. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมนี้ได้รวมบัญชีของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทต่างๆ ซึ่งเป็น บริษัทย่อยหรือบริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม ดังต่อไปนี้ อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 2538 บริษัทย่อย บริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด 99 99 บริษัท ล็อกซเล่ย์ เมียนมาร์ จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 99 บริษัท เซลลูล่าร์ โปรดักส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด 99 99 บริษัท แอล แวฟ จำกัด 99 - บริษัท จาโก จำกัด 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทิลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด 90 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ แปซิฟิก จำกัด 70 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ คอมแวร์ จำกัด 70 70 บริษัท โอเพ่น ซีสเต็ม อินทิเกรเตอร์ จำกัด 67 67 บริษัท ล็อกซเล่ย์ นิวเท็ค จำกัด 67 51 บริษัท การค้าลาว จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 67 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด 65 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น จำกัด 65 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาส แอนด์ มีเดีย จำกัด 60 60 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟรา จำกัด 60 60 - 2 - อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 2538 บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด 55 55 บริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด 55 55 บริษัท ล็อกซ์ดาต้า จำกัด 52 52 บริษัท ล็อกซเล่ย์ แซทเทลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด 51 51 บริษัท ทีเอ็นที ลอจีสติกส์ จำกัด 51 51 บริษัท โปรเฟสชั่นนัล คอมพิวเตอร์ จำกัด - 67 บริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด 50 50 บริษัท ล็อกซเล่ย์ พลังงาน จำกัด 45 45 บริษัท ล็อกซเล่ย์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 40 40 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์กราฟ (ประเทศไทย) จำกัด 40 40 รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้แสดงหักกลบลบกันในงบการเงินรวมนี้แล้ว ในเดือนพฤษภาคม 2537 บริษัทได้ลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม- มิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฮัทชิสัน) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55 ณ วันที่ บริษัทซื้อหุ้นของฮัทชิสัน บริษัทต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็น ผลให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี จำนวนเงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ 12 ปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี มีจำนวนเงินประมาณ 26.4 ล้านบาท - 3 - อนึ่ง เนื่องจากบริษัทถือหุ้นในบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฮัทชิสัน) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55 ในเดือนพฤษภาคม 2537 ดังกล่าว ข้างต้น ดังนั้น บริษัทจึงเปลี่ยนแปลงการรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนในบริษัทดังกล่าวที่มีอยู่เดิมและที่เกิดขึ้นใหม่ โดยในช่วงที่บริษัทถือหุ้นของบริษัทนี้เพียงร้อยละ 45 บริษัทบันทึกบัญชีเงินลงทุนในฮัทชิสันตามวิธีส่วนได้ เสีย บริษัทจึงไม่ได้บันทึกรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนที่เป็นส่วนของบริษัทในงบการเงิน อย่างไรก็ดี เมื่อบริษัทถือหุ้นร้อยละ 55 บริษัทต้องนำงบการเงินของ ฮัทชิสันมาจัดทำงบการเงินรวม ในการนี้ บริษัทได้บันทึกรับรู้ผลขาดทุนในขาดทุนสะสมเกินทุนของฮัทชิสันทั้งหมดในงบการเงินรวมด้วย ซึ่งผลขาดทุน ดังกล่าวได้รวมผลขาดทุนในฮัทชิสันที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวน 60.4 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้ บันทึกรอตัดบัญชีไว้ในบัญชีสินทรัพย์อื่น และตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงภายในเวลาประมาณ 12 ปี นอกจากนี้ บริษัทจะนำส่วนแบ่งกำไรของฮัทชิสันที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาหักออกจากยอดที่ ยังตัดบัญชีไม่หมดเมื่อ ฮันชิสันมีกำไรด้วย อย่างไรก็ตาม ในระหว่างไตรมาสที่หนึ่งของปี 2539 ฮัทชิสันได้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัททำให้ขาดทุนสะสมเกินทุนของฮัทชิสันหมดไป บริษัทจึงได้ปรับปรุง ยอดคงเหลือในขาดทุนสะสมเกินทุนส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีจำนวนเงินรวมประมาณ 35.8 ล้านบาท กับส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในฮัทชิสันซึ่งเพิ่มขึ้นจากการจดทะเบียนเพิ่มทุนดังกล่าว บริษัทได้นำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท ธนากร เทรดดิ้ง จำกัด) ซึ่งบริษัทลงทุนไว้ร้อยละ 50 ในเดือนพฤษภาคม 2537 มารวมในการจัดทำ งบการเงินรวมด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีอำนาจในการควบคุม ในวันที่บริษัทซื้อหุ้นของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัทได้จ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นผลทำให้ บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี จำนวนเงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ ภายใต้สินทรัพย์อื่นซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมีจำนวนเงินประมาณ 43.1 ล้านบาท นอกจากนี้ ในการนำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด มาจัดทำงบการเงินรวมนั้น บริษัทได้บันทึก ผลขาดทุนในขาดทุนสะสมเกินทุนของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด ทั้งหมดในงบการเงินรวมด้วย ผลขาดทุนดังกล่าวได้รวมผลขาดทุนที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวน 27 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้บันทึก รอตัดบัญชีไว้ในบัญชีสินทรัพย์อื่นและตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี อย่างไรก็ดี บริษัทได้นำส่วน แบ่งในกำไรของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด เฉพาะที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาหักออกจาก ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวหมดแล้วในปี 2538 - 4 - ในระหว่างไตรมาสที่สามของปี 2539 บริษัทได้เข้าลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทิลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด จำนวนร้อยละ 90 ในการนี้ บริษัทได้จ่ายเงินค่าหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัท ดังกล่าวซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "จำนวนเงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่ เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ 15 ปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมีจำนวนเงินประมาณ 57.6 ล้านบาท 2. นโยบายบัญชีที่สำคัญ การบันทึกดอกเบี้ยเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ บริษัทย่อยแห่งหนึ่งบันทึกส่วนหนึ่งของดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกู้ยืมเพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารเป็น ส่วนหนึ่งของต้นทุนของอาคาร และจะหยุดบันทึกดอกเบี้ยเป็นต้นทุนสินทรัพย์เมื่อการ ก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวนดอกเบี้ยที่บันทึกเป็นต้นทุนสินทรัพย์จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 มีจำนวนประมาณ 36.3 ล้านบาท (การก่อสร้างอาคารดังกล่าวแล้วเสร็จในปี 2538) สินค้าคงเหลือ บริษัทและบริษัทย่อยตีราคาสินค้าคงเหลือในราคาทุนถัวเฉลี่ยหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ บริษัทและบริษัทย่อยตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้จากลูกหนี้ ที่มีอยู่ จำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้นี้ประมาณขึ้นจากประสบการณ์การเรียกเก็บหนี้ในอดีตควบคู่กับ การวิเคราะห์ฐานะการเงินในปัจจุบันของลูกหนี้ - 5 - เงินลงทุนในหุ้นทุน บริษัทบันทึกเงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย ในกรณีบริษัทร่วมแสดงผลการ ดำเนินงานขาดทุน บริษัทจะหยุดบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียเมื่อยอดคงเหลือในบัญชีเงินลงทุน ของบริษัทร่วมนั้นลดลงเป็นศูนย์และหลังจากนั้นจะไม่บันทึกรับรู้ส่วนแบ่งผลขาดทุนเพิ่มอีก บริษัทจะ กลับมาบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียอีกครั้งก็ต่อเมื่อในเวลาต่อมา บริษัทร่วมนั้นมีกำไร และส่วน แบ่งของกำไรดังกล่าวที่เป็นของบริษัทมีจำนวนเท่ากับส่วนแบ่งผลขาดทุนที่บริษัทยังไม่ได้บันทึกรับรู้ เนื่องจากมีการหยุดใช้วิธีส่วนได้เสียดังกล่าว เงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันซึ่งถือไว้เป็นเงินทุนระยะยาวตีราคาในราคาทุน กำไรหรือขาดทุนดังกล่าวจะบันทึกบัญชีเมื่อจำหน่ายเงินลงทุนนั้นแล้ว ค่าเสื่อมราคาและรายจ่ายตัดบัญชี บริษัทและบริษัทย่อยตัดค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการ ใช้งาน โดยประมาณของสินทรัพย์เป็นเวลา 5 ปี ถึง 25 ปี เครื่องมือและอุปกรณ์ภายใต้สัญญาบริการที่ผูกพัน ที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้คู่สัญญาตามที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงิน 15 ตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย ตามอายุสัญญาที่เกี่ยวข้อง ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่ายหุ้นสามัญและหุ้นกู้แปลงสภาพบริษัทตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรง เป็นเวลา 3 ปี 5 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ บริษัทและบริษัทย่อยบันทึกรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลก เปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งมียอดคงเหลือ ณ วันที่ ในงบดุล แปลงค่าโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าวหรือตามอัตราแลกเปลี่ยนตามสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้าแล้วแต่กรณี กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าบันทึกเป็นรายได้หรือ ค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงาน - 6 - การรับรู้รายได้และต้นทุน บริษัทและบริษัทย่อยบันทึกรายได้ตามสัญญาซึ่งต้องใช้เวลาในการติดตั้งเป็นเวลานานตามสัดส่วน ของงานที่แล้วเสร็จ ส่วนต้นทุนที่เกี่ยวข้องจะบันทึกบัญชีเมื่อเกิดรายการ กำไรต่อหุ้น กำไรต่อหุ้นคำนวณโดยการหารกำไรสุทธิรวมด้วยจำนวนหุ้นที่มีอยู่ ณ วันสิ้นปี บริษัทไม่ได้แสดง กำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่เพื่อการเปรียบเทียบ เนื่องจากการลดลงของกำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่ที่ คำนวณได้มีจำนวนไม่เป็นสาระสำคัญ 3. รายการบัญชีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น ต้นทุนขาย และบริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นรายการที่เกิดขึ้นกับบริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่ เกี่ยวข้องกันบางแห่ง บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดยมีผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือ ผู้บริหารในตำแหน่ง ที่สำคัญร่วมกัน งบการเงินรวมนี้ได้รวมผลของรายการดังกล่าวตามเกณฑ์ที่ตกลงกันระหว่างบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว ยอดคงเหลือที่มีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 และ 2538 แสดงแยกไว้ต่างหากในงบดุลรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 และ 2538 รายการที่สำคัญระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยกับบริษัท ร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันซึ่งรวมไว้ในงบการเงินรวมนี้ มีดังนี้ พันบาท 2539 2538 ขายผลิตภัณฑ์และบริการ 578,766 386,238 ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 55,148 59,545 ต้นทุนขายและบริการ 650,981 265,370 - 7 - 4. สินค้าคงเหลือ บัญชีนี้ประกอบด้วย พันบาท 2539 2538 สินค้าคงเหลือ 959,582,377 856,405,301 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับงานโครงการ 845,073,339 493,076,142 รวม 1,804,655,716 1,349,481,443 หัก จำนวนกันไว้เผื่อขาดทุนจากมูลค่าที่ลดลง (53,289,682) (17,427,157) สุทธิ 1,751,366,034 1,332,054,286 5. เงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บัญชีนี้ประกอบด้วย อัตราส่วนการถือหุ้น บา ท 2539 2538 2539 2538 บัญชีร่วม - วิธีส่วนได้เสีย บริษัท ล็อกซเล่ย์ ซีเอสอาร์ อินซูเลชั่น จำกัด 50 50 133,711,745 65,564,332 บริษัท แซ็กซอน (ไทยแลนด์) จำกัด 50 50 140,511,856 141,211,506 บริษัท คาสตรอล (ไทยแลนด์) จำกัด 49 49 247,928,748 188,023,459 บริษัท อิริคสัน ไทย เน็ทเวิร์ค จำกัด 33 33 10,846,185 5,272,190 บริษัท การ์ดไฟร์ จำกัด 30 30 10,572,806 6,836,592 บริษัท น้ำหวานลาว จำกัด 30 30 54,291,655 44,968,816 บริษัท ล็อกซเล่ย์อลูมิเนียม และวิศวกรรม จำกัด 30 30 - 6,874,898 - 8 - อัตราส่วนการถือหุ้น บา ท 2539 2538 2539 2538 บริษัท นิวเพจเจอร์ คอร์ปอเรชั่น อเมริกา 27 27 74,744,632 97,034,189 บริษัท ไทยเซลลูโลส โปรดักส์ จำกัด 26 26 8,341,675 24,891,692 บริษัท บี เอช พี สตีล โพรดักส์ (ไทยแลนด์) จำกัด 25 25 83,075,291 44,707,310 บริษัท ไทยฟลายอิ้ง เซอร์วิส จำกัด 25 25 17,024,093 18,513,624 บริษัท เบียร์ลาว จำกัด 25 25 239,874,124 181,609,279 บริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด - 19.2 - 1,278,854,068 อื่น ๆ 382,387,469 15,283,694 รวม 1,403,310,279 2,119,645,649 บา ท 2539 2538 บริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน - ในราคาทุน บริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด 1,532,860,615 - บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ จำกัด 320,678,998 266,426,661 ธนาคารกสิกรไทย 53,081,693 53,081,693 บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด 35,621,190 35,621,190 อื่น ๆ 479,868,201 63,120,674 รวมทั้งสิ้น 2,422,110,697 418,250,218 มูลค่าตามราคาตลาด/มูลค่าตามบัญชีสุทธิรวมของเงินลงทุนเหล่านี้ซึ่งถือตามราคาปิดครั้งหลังสุด และ/หรือ งบการเงินที่ตรวจสอบครั้งล่าสุดที่มีอยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 และ 2538 มีจำนวนเงิน สูงกว่าราคาทุนรวม - 9 - ในปี 2538 บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด ตาม วิธีส่วนได้เสีย ต่อมาในปี 2539 บริษัทได้ขายเงินลงทุนส่วนหนึ่งซึ่งมีผลทำให้อัตราส่วนการถือครองหุ้นใน บริษัทดังกล่าวไม่ถึงร้อยละ 20 บริษัทจึงเปลี่ยนวิธีการบันทึกเงินลงทุนจากเดิมไปใช้วิธีบันทึกบัญชีตามราคา ทุน โดยถือเอายอดคงเหลือในบัญชีเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียที่คงเหลืออยู่เป็นราคาทุนของเงินลงทุน 6. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - ในราคาทุน บัญชีนี้ประกอบด้วย บา ท 2539 2538 ที่ดิน 88,246,360 88,120,430 อาคารและส่วนปรับปรุง 906,630,209 335,044,017 เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและเครื่องใช้สำนักงาน 656,441,783 389,301,587 เครื่องมือและอุปกรณ์ 112,997,125 125,109,856 อุปกรณ์สำนักงานให้เช่า 22,087,462 56,520,793 ยานพาหนะ 79,833,879 73,346,044 งานระหว่างก่อสร้าง 76,747,324 486,244,466 อุปกรณ์โทรคมนาคม (หมายเหตุ 15) 652,847,451 361,272,850 รวม 2,595,831,593 1,914,960,043 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสมและรายจ่าย รอตัดบัญชีสะสม (667,215,824) (458,047,302) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 1,928,615,769 1,456,912,741 ค่าเสื่อมราคาที่บันทึกเป็นต้นทุนและค่าใช้จ่ายสำหรับปี 2539 และ 2538 มีจำนวนประมาณ 233.5 ล้านบาท และ 138.6 ล้านบาท ตามลำดับ - 10 - 7. สินทรัพย์อื่น บัญชีนี้ประกอบด้วย บา ท 2539 2538 เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินสินทรัพย์สุทธิ - สุทธิ (หมายเหตุ 1) 132,127,586 75,200,107 ส่วนแบ่งผลขาดทุนสะสมเกินทุนของผู้ถือหุ้น ส่วนน้อยในบริษัทย่อย - สุทธิ (หมายเหตุ 1) - 36,701,977 ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่ายหุ้นรอตัดบัญชี - สุทธิ - 18,651,600 ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่ายหุ้นกู้แปลงสภาพรอตัดบัญชี - สุทธิ 122,833,521 69,378,996 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 61,539,413 40,475,120 เงินมัดจำ เงินประกันและอื่น ๆ 122,644,256 77,917,900 รวม 439,144,776 318,325,700 8. เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร บัญชีนี้ประกอบด้วย บา ท 2539 2538 เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร 203,267,732 155,203,008 เงินกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารในประเทศ และต่างประเทศ 480,300,000 282,933,750 หนี้สินจากการรับรองตั๋วเงินและจากการทำทรัสต์รีซีทส์ 526,546,544 440,753,973 รวม 1,210,114,276 878,890,731 (ยังมีต่อ)