บการเงินบมจ.ล็อกซเล่ย และบริษัทย่อย สิ้นสุด 31 ธ.

26 มีนาคม 2540
- 11 - ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 และ 2538 บริษัทและบริษัทย่อยมีวงเงินเบิกเกินบัญชีและ เงินกู้ยืมกับธนาคารต่าง ๆ ในวงเงินรวม 4,584 ล้านบาท และ 3,725 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีอัตราดอกเบี้ยในปี 2539 ระหว่างร้อยละ 8.5 ถึงร้อยละ 20 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืมจาก ธนาคารในประเทศ และมีอัตราดอกเบี้ยในปี 2538 ระหว่างร้อยละ 12.25 ถึงร้อยละ 14.5 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืมจากธนาคารในประเทศ และอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ต่อปี สำหรับเงินกู้ ยืมจากธนาคารในต่างประเทศ ตามเงื่อนไขของสัญญาเกี่ยวกับการทำทรัสต์รีซีทส์ บริษัทและบริษัทย่อยได้ออกสินค้าที่สั่งเข้า มาภายใต้การใช้เครดิตของธนาคาร ดังนั้นบริษัทและบริษัทย่อยจึงต้องมีภาระผูกพันต่อธนาคารสำหรับ สินค้าดังกล่าวทั้งที่คงเหลืออยู่หรือขายไป 9. เงินกู้ยืมระยะยาวและรายได้และค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี ในเดือนมีนาคม 2536 บริษัทได้รับวงเงินสินเชื่อจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเพื่อ นำเข้า สินค้าและวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นเงินประมาณ 41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามเงื่อนไขของสัญญา ดังกล่าว บริษัทจะจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมนี้เพียงร้อยละ 65 ส่วนจำนวนเงินกู้ยืมอีกร้อยละ 35 ของ วงเงินกู้ให้ถือเป็นเงินให้เปล่า เว้นแต่กรณีบริษัทผิดเงื่อนไขในสัญญา เงินกู้นี้มีอัตราดอกเบี้ยตามอัตรา LONDON INTERBANK OFFERED RATE (LIBOR) บวกร้อยละ 2.775 ต่อปี และมีกำหนดชำระคืน เป็นงวดทุกงวดหกเดือนรวม 20 งวด โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2537 บริษัทถือปฏิบัติในการบันทึกเงินต้นจากวงเงินกู้ยืมดังกล่าวเพียงร้อยละ 65 ของเงินกู้ที่เบิกใช้ ในแต่ละคราว และบันทึกจำนวนที่เหลืออีกร้อยละ 35 ซึ่งถือเป็นเงินให้เปล่าไว้ในบัญชี รายได้รอตัดบัญชี ในงบดุล เนื่องจากฝ่ายบริหารเชื่อว่าบริษัทจะสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินให้เปล่าตามที่ระบุ ไว้ในสัญญาได้ นอกจากนี้ ภายใต้เงื่อนไขตามสัญญาเงินกู้ บริษัทได้จ่ายค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินกู้ จำนวน 12 ล้านบาท ซึ่งได้บันทึกไว้เป็น ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี และแสดงไว้เป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์อื่น ในงบดุล รายได้รอตัดบัญชีและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินกู้รอตัดบัญชีนี้จะทยอยรับรู้เป็นรายได้และ ค่าใช้จ่ายตามอายุของสัญญาเงินกู้ - 12 - ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2539 บริษัทได้ชำระคืนเงินกู้ยืมดังกล่าวทั้งจำนวนก่อนกำหนดเป็นจำนวน เงินรวมเทียบเท่าประมาณ 454.2 ล้านบาท (รวมค่าธรรมเนียมการชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนดจำนวน 4.3 ล้านบาท) และปรับปรุงยอดคงเหลือที่ยังไม่ตัดบัญชีของรายได้และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินกู้ รอตัดบัญชีเป็นรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในงบกำไรขาดทุน ในเดือนมีนาคม 2537 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง โดย ได้รับวงเงินสินเชื่อเป็นจำนวนเงินรวม 400 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นเงินกู้สกุลเหรียญสหรัฐอเมริกา เทียบเท่าเงินสกุลบาท และเงินกู้สกุลบาทรวม 2 จำนวน ๆ ละ 200 ล้านบาทเท่า ๆ กันโดยเงินกู้ยืม จำนวนแรกมีดอกเบี้ยตามอัตรา SINGAPORE INTERBANK OFFERED RATE (SIBOR) บวกร้อยละ 2 ต่อปี ส่วนเงินกู้ยืมจำนวนที่สองมีดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR) ที่ประกาศโดยธนาคาร ในประเทศแห่งหนึ่ง เงินกู้ยืมนี้มีกำหนดชำระคืนเป็นงวดทุกงวดสามเดือนรวม 24 งวด โดยเริ่มชำระงวด แรกภายหลังครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันเบิกเงินกู้ เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้างของบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 บริษัทย่อยได้เบิกเงินกู้จากวงเงินดังกล่าวเป็น จำนวนเงินเทียบเท่ารวมประมาณ 338.6 ล้านบาท ในเดือนตุลาคม 2537 และกันยายน 2538 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากธนาคาร ในประเทศแห่งหนึ่งเป็นจำนวนเงิน 60 ล้านบาท และ 13.5 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีกำหนดชำระคืน เป็นงวดสิ้นสุดเดือนเมษายน 2544 และเดือนกันยายน 2543 ตามลำดับเงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยการจำนำ เครื่องจักรและอุปกรณ์ดำเนินงานของบริษัทย่อย บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีเงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งจำนวนเงิน 26.7 ล้านบาท ซึ่งมีดอกเบี้ยตามอัตรา MLR โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นงวดจนถึงเดือนมีนาคม 2540 เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกัน โดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - 13 - 10. หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศจำหน่าย ในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่ง เป็น 100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็น เงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพหรือครบกำหนดไถ่ถอนเท่ากับ 2,455 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 เมษายน 2548 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็น หุ้นสามัญของบริษัทใน ราคาแปลงสภาพหุ้นละ 500 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548 หรือใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคา บวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไขและข้อกำหนด บางประการตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน นอกจากนี้บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือ ทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2541 จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วน เพิ่มต่าง ๆ กันรวมเป็นหุ้นละ 1,237 หรือ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ขึ้นกับระยะเวลาที่ไถ่ถอน ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2539 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตราต่างประเทศ จำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มเติมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 105 ล้านเหรียญสหรัฐ อเมริกา (แบ่งเป็น 105,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือ เทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพเท่ากับ 2,646 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 4 เมษายน 2544 อย่างไรก็ตามผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคา แปลงสภาพหุ้นละ 450 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ถึง วันที่ 4 มีนาคม 2544 นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนด ได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 จนถึงวันที่ 3 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,210 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2543 และ 1,272 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2544 ทั้งนี้บริษัท ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน - 14 - เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2538 ผู้ถือหุ้นมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท (แบ่งเป็น 40 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และต่อมาได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่า หุ้นละ 10 บาท) เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) โดยให้สำรองหุ้น สามัญ จำนวนรวม 12 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้ เพื่อรองรับการใช้สิทธิในการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ บริษัท ได้จดทะเบียนมติเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2538 และวันที่ 20 มีนาคม 2539 ตามลำดับ ในปี 2539 ราคาตลาดของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยทั่วไป รวมทั้งของ บริษัทตกต่ำอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่นำหุ้นกู้มาแปลงสภาพ ตามจำนวนที่ประมาณ ไว้ทั้งหมด ดังนั้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 บริษัทจึงบันทึกตั้งสำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับ ส่วนเพิ่มที่จะต้องจ่ายหากผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดเป็นจำนวนเงินประมาณ 303 ล้านบาท ซึ่ง คิดเป็นร้อยละ 80 ของส่วนเพิ่มทั้งหมดที่ต้องจ่าย หากผู้ถือหุ้นกู้ทั้งหมดใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดเฉลี่ย ตามระยะเวลาที่ให้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด ฝ่ายบริหารเชื่อว่าสำรองจำนวนดังกล่าวเพียงพอ เนื่อง จากราคาตลาดของหุ้นสามัญของบริษัทในปัจจุบันเป็นราคาในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ ในภาวะตกต่ำผิดปกติและช่วงเวลาของการใช้สิทธิแปลงสภาพก่อนกำหนดที่จะมีผลใช้บังคับยังมีเวลาอีก ประมาณ 3 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1 และ 4 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงภาพครั้งที่ 2 11. เงินทุนเลี้ยงชีพพนักงาน บริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งจัดให้มีเงินกองทุนเลี้ยงชีพประเภทจ่ายสมทบสำหรับพนักงานเกือบ ทั้งหมด พนักงานจะเข้าเป็นสมาชิกได้เมื่อเป็นพนักงานประจำแล้ว ทั้งนี้พนักงานจะจ่ายเงินเข้ากองทุน ทุกเดือนเท่ากับร้อยละ 5 ของเงินเดือน บริษัทและบริษัทย่อยจะตั้งสำรองเป็นรายเดือนในอัตรา ต่าง ๆ กันของเงินเดือนพนักงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาทำงานของพนักงานแต่ละคน ยอดที่บริษัท และบริษัทย่อยตั้งสำรองสำหรับปีและบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีจำนวนเงินประมาณ 13.8 ล้านบาท ในปี 2539 และ 6.5 ล้านบาท ในปี 2538 -15 - 12. ทุนสำรอง บัญชีนี้ได้แก่ เงินสำรองที่บริษัทจัดสรรสะสมตามพระราชบัญญัติกฎหมายมหาชนซึ่งกำหนด ให้บริษัทจัดสรรทุนสำรองอย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิสำหรับปีหลังจากหักยอด ขาดทุน สะสมต้นปี (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรองจะมียอดเป็นร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนของบริษัททุน สำรองนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้ 13. ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น บัญชีนี้ประกอบด้วย บา ท 2539 2538 กำไรจากการขายเงินลงทุน 1,107,568,708 55,423,146 ดอกเบี้ยรับ เงินปันผล ค่าธรรมเนียม ค่าบริการและอื่น ๆ 782,445,953 439,769,433 รวม 1,890,014,661 495,192,579 - 16 - 14. ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน รายละเอียดข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน สำหรับปี 2539 และ 2538 มีดังนี้ ล้านบาท ธุรกิจสายระบบ ธุรกิจสายการค้า อื่น ๆ รวม สารสนเทศ อุตสาหกรรม 2539 2538 2539 2538 2539 2538 2539 2538 ขายสุทธิ 5,311 3,791 3,244 3,358 389 241 8,944 7,390 ต้นทุนขาย (3,797) (2,423)(2,802)(2,894) (413) (147)(7,012)(5,464) กำไรขั้นต้น 1,514 1,368 442 464 (24) 94 1,932 1,926 กำไรจากการดำเนินงาน 413 333 39 155 1,212 260 1,664 748 ส่วนได้เสียในกำไรของ บริษัทร่วม - สุทธิ 387 346 เงินปันผลรับจากเงิน ลงทุนในบริษัทอื่น 71 75 ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง (761) (406) ดอกเบี้ยจ่าย (656) (264) ภาษีเงินได้ (244) (58) ขาดทุนสุทธิของบริษัท ย่อยก่อนซื้อเงินลงทุน 21 - ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วน น้อยในขาดทุน (กำไร) สุทธิของ บริษัทย่อย (9) 2 กำไรสุทธิ 473 443 สินทรัพย์ถาวร - สุทธิ 960 631 40 25 929 801 1,929 1,457 สินทรัพย์อื่น 12,091 8,340 สินทรัพย์รวม 14,020 9,797 - 17 - บริษัทและบริษัทย่อยประกอบธุรกิจ 2 ประเภทหลัก กล่าวคือ ธุรกิจสายระบบสารสนเทศ และ ธุรกิจสายการค้าอุตสาหกรรม กำไรจากการดำเนินงานของแต่ละส่วนงานเกิดขึ้นจากยอดรายได้รวมหักด้วยต้นทุนและค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงาน โดยค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ ไม่ได้รวมอยู่ในการคำนวณ กำไรจากการดำเนินงานของส่วนงาน สินทรัพย์ถาวรของแต่ละส่วนงานเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินงานของส่วนงานนั้นๆ ส่วน สินทรัพย์อื่น ๆ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเงินสดและเงินฝากธนาคาร สินค้าคงเหลือและเงินลงทุนในหลักทรัพย์ 15. สัญญา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 และ 2538 ก) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมค้ากับบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ไอบีเอ็ม เวิลด์เทรด คอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อเข้าร่วมดำเนิน การจัดหาระบบเบ็ดเสร็จสำหรับโครงการบันทึกข้อมูลภาษีด้วยคอมพิวเตอร์กับกรมสรรพากร ตามสัญญา มูลค่า 1,814 ล้านบาท ซึ่งบริษัทย่อยรับผิดชอบในร้อยละ 44.738 ของผลได้ผลเสียอันเกิดจากกิจการ ร่วมค้า ข) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) โดยได้รับสัมปทาน การให้บริการวิทยุติดตามตัวภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา ภายใต้เงื่อนไขของสัญญา บริษัทย่อยมี ภาระผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิในอุปกรณ์การสื่อสารโดยมีสิทธิใช้อุปกรณ์ ดังกล่าวตลอดอายุของ สัมปทานและจ่ายผลประโยชน์ให้กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นอัตราร้อยละของรายได้ ค่าบริการตามที่ระบุไว้ในสัญญา โดยบริษัทย่อยได้มอบหนังสือ ค้ำประกันธนาคารเป็นจำนวนเงิน 122.6 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ส่วนหนึ่งของหนังสือค้ำ ประกันธนาคารนี้ค้ำประกันโดยเงินฝากประจำจำนวนเงินประมาณ 21.4 ล้านบาท - 18 - ค) บริษัทย่อย 2 แห่งมีสัญญาร่วมลงทุนให้บริการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร แห่งประเทศไทย (กสท.) ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว บริษัทมีภาระผูกพันที่จะต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุม ตลอดจนบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ตามที่ตกลงในสัญญา นอกจากนี้บริษัทจะ ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่ กสท. นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลาสิบ (10) ปี เริ่มตั้งแต่วันแรกที่เปิดบริการโดยบริษัทไม่มีสิทธิเลิก สัญญา เว้นแต่จะเข้ากรณีเลิกสัญญาตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ในระหว่างอายุของสัญญา บริษัทมีสิทธิที่ จะเรียกเก็บค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ จากผู้ใช้บริการตามที่ระบุไว้ในสัญญา ง) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมค้ากับหน่วยงานราชการของต่างประเทศแห่งหนึ่งเพื่อ วางระบบและให้บริการด้านโทรคมนาคมในพื้นที่ที่ตกลงกัน ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว บริษัท ย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุมตลอดจนบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์การ โทรคมนาคมดังกล่าวตามที่ตกลงในสัญญา นอกจากนี้ บริษัทจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในระบบและอุปกรณ์ โทรคมนาคมดังกล่าวให้กับหน่วยงานราชการที่เป็นคู่สัญญาในวันที่สิ้นสุดระยะเวลาสัมปทาน 16. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม ก. บริษัทและบริษัทย่อยมีเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังไม่ได้ใช้เป็นจำนวนเงินรวมประมาณ 1,816 ล้านบาท ใน ปี 2539 และ 1,553 ล้านบาท ในปี 2538 ข. บริษัทและบริษัทย่อยมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการประกันการประมูลงานกับลูกค้า เป็นจำนวนประมาณ 1,139 ล้านบาท ในปี 2539 และ 1,069 ล้านบาท ในปี 2538 ซึ่งบริษัทและ บริษัทย่อยได้ให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันเพื่อค้ำประกันการประมูลงานดังกล่าว ค. บริษัทและบริษัทย่อยมีภาระผูกพันภายใต้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับ ธนาคารบางแห่งเป็นจำนวนเงินเทียบเท่าประมาณ 128.3 ล้านบาท ในปี 2539 และ 169 ล้านบาท ในปี 2538 - 19 - ง. บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการค้ำประกันกับธนาคารให้กับกิจการร่วมค้าเป็น จำนวนเงินประมาณ 133 ล้านบาท ในปี 2539 และ 2538 จ. บริษัทย่อยบางแห่งมีสัญญาเช่าอาคารสำนักงานและสัญญาบริการสำนักงานเป็นเวลา 3 ปี สิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 2542 และมิถุนายน 2543 โดยมีอัตราค่าเช่าและบริการรวมปีละประมาณ 47.8 ล้านบาท ในปี 2539 และ 18.6 ล้านบาท ในปี 2538