งบการเงินระหว่างกาลรวมสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุด 31 มี.ค 2540

29 พฤษภาคม 2540
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ----------------------------------------------------------------- --------------------------------------------------------- งบการเงินระหว่างกาลรวม สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539 และ รายงานของผู้สอบบัญชี ----------------------------------------------------------------- ----------------------------------------------------------------- -------------------------- รายงานของผู้สอบบัญชี เสนอ คณะกรรมการบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุลรวม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 และงบกำไรขาดทุนรวมสำหรับ งวดสามเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด(มหาชน)และบริษัทย่อย ส่วนงบการเงิน ระหว่างกาลรวมของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด(มหาชน)และบริษัทย่อยสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2539 ที่นำมาแสดงเปรียบเทียบสอบทานโดยนายธวัช ภูษิตโภยไคย ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชี ในสำนักงานเดียวกันกับข้าพเจ้า การสอบทานดังกล่าวกระทำตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคม นักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ระบบในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน และการสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มี ขอบเขตจำกัดกว่าการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปเพื่อแสดงความเห็นต่องบ การเงินรวมมาก ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินระหว่างกาลรวมที่สอบทานได้ บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย อย่างไรก็ดี ณ วันที่จัดทำงบการเงิน ระหว่างกาลรวมนี้ งบการเงินระหว่างกาลของบริษัทร่วมบางแห่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการบันทึกเงินลงทุน ตามวิธีส่วนได้เสียยังไม่ได้สอบทานโดยผู้สอบบัญชี เงินลงทุนในบริษัทร่วมเหล่านี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 มีจำนวนเงินรวมประมาณ 929.8 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6.59 ของสินทรัพย์รวม ณ วันเดียวกัน ส่วนได้เสียในผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมเหล่านี้ที่แสดงรวมไว้ในงบกำไรขาดทุน รวมสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2540 มีจำนวนเงินสุทธิประมาณ 9.3 ล้านบาท ซึ่ง คิดเป็นร้อยละ 17.97 ของกำไรสุทธิรวมสำหรับงวดสิ้นสุดวันเดียวกัน - 2 - ยกเว้นผลของรายการปรับปรุงที่อาจมีขึ้นถ้าได้ทราบผลการสอบทานงบการเงินระหว่างกาล ของบริษัทร่วมดังกล่าวในวรรคสาม ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญอื่นซึ่งอาจจะต้องนำมาปรับปรุง งบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ ให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปจากการสอบทานของข้าพเจ้า ดังกล่าวข้างต้น (นายวิเชียร ธรรมตระกูล) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 3183 กรุงเทพมหานคร 26 พฤษภาคม 2540 ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุลรวม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539 สิ น ท รั พ ย์ พั น บา ท 2540 2539 สินทรัพย์หมุนเวียน เงินลงทุนระยะสั้นในตั๋วสัญญาใช้เงิน 1,083,083 1,116,294 ลูกหนี้การค้า - สุทธิ (หมายเหตุ 4) 2,384,677 1,740,993 สินค้าคงเหลือ - สุทธิ (หมายเหตุ 4) 1,911,947 1,401,727 ลูกหนี้และเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 3) 910,738 362,708 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 922,008 972,283 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 7,212,453 5,594,005 เงินลงทุนในบริษัทร่วม - วิธีส่วนได้เสีย (หมายเหตุ 3) 1,444,382 2,207,088 เงินลงทุนในบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน - ในราคาทุน (หมายเหตุ 3) 2,763,639 472,964 เงินลงทุนในกิจการร่วมค้า - ราคาทุน 4,625 1,742 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ (หมายเหตุ 5) 1,948,056 1,473,241 สินทรัพย์อื่น 736,400 323,992 รวมสินทรัพย์ 14,109,555 10,073,032 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุลรวม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น พั น บา ท 2540 2539 หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากธนาคาร 1,522,284 1,847,079 เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย 1,189,060 594,678 เจ้าหนี้และเงินกู้ยืมจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 3) 269,481 346,666 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 1,139,872 842,298 รวมหนี้สินหมุนเวียน 4,120,697 3,630,721 เงินกู้ยืมระยะยาว - สุทธิจากส่วนที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (หมายเหตุ 5) 326,705 389,203 เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า (หมายเหตุ 4) 203,702 164,236 หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ (หมายเหตุ 6) 5,334,100 2,455,000 เงินทุนเลี้ยงชีพพนักงาน 92,240 65,752 หนี้สินอื่น (หมายเหตุ 6) 373,398 2,387 รวมหนี้สิน 10,450,842 6,707,299 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อย 373,094 320,836 ส่วนของผู้ถือหุ้น (หมายเหตุ 6) 3,285,619 3,044,897 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 14,109,555 10,073,032 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกำไรขาดทุนรวม สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539 พั น บา ท 2540 2539 รายได้ (หมายเหตุ 3) ขายผลิตภัณฑ์และบริการ - สุทธิ 2,404,971 1,618,507 ส่วนได้เสียในผลการดำเนินงานของบริษัทร่วม-สุทธิ 43,949 91,046 ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 467,285 355,022 รวมรายได้ 2,916,205 2,064,575 ต้นทุนและค่าใช้จ่าย (หมายเหตุ 3) ต้นทุนขายและบริการ 1,846,111 1,210,712 ค่าใช้จ่ายอื่น (หมายเหตุ 6) 956,905 697,768 ภาษีเงินได้ 75,974 33,963 รวมต้นทุนและค่าใช้จ่าย 2,878,990 1,942,443 กำไรก่อนส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในขาดทุนสุทธิของบริษัทย่อย 37,215 122,132 บวก ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในขาดทุนสุทธิ ของบริษัทย่อย - สุทธิ 14,601 18,016 กำไรสุทธิ 51,816 140,148 กำไรต่อหุ้น (บาท) 1.30 3.50 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2540 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม วันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539 1. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมนี้ได้รวมบัญชีของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทต่าง ๆ ซึ่ง เป็นบริษัทย่อยหรือบริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม ดังต่อไปนี้ อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 2539 บริษัทย่อย บริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด 99 99 บริษัท ล็อกซเล่ย์ เมียนมาร์ จำกัด (ยังไม่ได้ ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 99 บริษัท เซลลูล่าร์ โปรดักส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด 99 99 บริษัท แอล เวฟ จำกัด 99 - บริษัท จาโก จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทิลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด 90 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ แปซิฟิก จำกัด 70 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ คอมแวร์ จำกัด 70 70 บริษัท โอเพ่น ซีสเต็ม อินทิเกรเตอร์ จำกัด 67 67 บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ นิวเท็ค จำกัด 67 51 บริษัท การค้าลาว จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 67 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด 65 65 บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชั่น จำกัด 65 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาส แอนด์ มีเดีย จำกัด 60 60 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟรา จำกัด 60 60 - 2 - ถือหุ้นในอัตราร้อยละ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 2539 บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด 55 55 บริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด 55 55 บริษัท ล็อกซ์ดาต้า จำกัด 52 52 บริษัท ล็อกซเล่ย์ แซทเทลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 51 51 บริษัท ทีเอ็นที ลอจีสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51 51 บริษัท โปรเฟสชั่นนัลคอมพิวเตอร์ จำกัด - 67 บริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด 50 50 บริษัท ล็อกซเล่ย์ พลังงาน จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 45 45 บริษัท ล็อกซเล่ย์ พร็อพเพอตี้ จำกัด 40 40 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์กราฟ (ประเทศไทย) จำกัด - 40 รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัทต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้แสดงหักกลบลบกันในงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้แล้ว ในเดือนพฤษภาคม 2537 บริษัทได้ลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม- มิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฮัทชิสัน) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55 ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้นของ ฮัทชิสัน บริษัทต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของ บริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นผลให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "จำนวนเงินลงทุนในบริษัท ย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ 12 ปี ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 มีจำนวนเงินประมาณ 25.6 ล้านบาท - 3 - อนึ่ง เนื่องจากบริษัทถือหุ้นในบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฮัทชิสัน) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55 ในเดือนพฤษภาคม 2537 ดังกล่าว ข้างต้น ดังนั้น บริษัทจึงเปลี่ยนแปลงการรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนในบริษัทดังกล่าวที่มีอยู่เดิมและ ที่เกิดขึ้นใหม่โดยในช่วงที่บริษัทถือหุ้นของบริษัทนี้เพียงร้อยละ 45 บริษัทบันทึกบัญชีเงินลงทุนใน ฮัทชิสันตามวิธีส่วนได้เสีย บริษัทจึงไม่ได้บันทึกรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนที่เป็นส่วนของบริษัทใน งบการเงิน อย่างไรก็ดี เมื่อบริษัทถือหุ้นเป็นร้อยละ 55 บริษัทต้องนำงบการเงินของฮัทชิสันมา จัดทำงบการเงินรวม ในการนี้ บริษัทได้บันทึกรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนของฮัทชิสันทั้งหมดใน งบการเงินรวมด้วย ซึ่งผลขาดทุนดังกล่าวได้รวมผลขาดทุนในฮัทชิสันที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย จำนวน 60.4 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้บันทึกรอตัดบัญชีไว้ในบัญชีสินทรัพย์อื่น และตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย โดยวิธีเส้นตรงภายในเวลาประมาณ 12 ปี นอกจากนี้ บริษัทจะนำส่วนแบ่งกำไรของฮัทชิสันที่เป็น ของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาหักออกจากยอดที่ยังตัดบัญชีไม่หมดเมื่อฮัทชิสัน มีกำไรด้วย อย่างไรก็ตาม ในปี 2539 ฮัทชิสันได้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัททำให้ขาดทุนสะสมเกินทุนของฮัทชิสันหมดไป บริษัทจึงได้ปรับปรุงยอดคงเหลือในขาดทุนสะสมเกินทุนส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ยังไม่ได้ ตัดบัญชีจำนวนเงินรวมประมาณ 35.8 ล้านบาท กับส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในฮัทชิสันซึ่งเพิ่มขึ้น จากการเพิ่มทุนดังกล่าว บริษัทได้นำงบการเงินของบริษัท ล๊อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท ธนากร เทรดดิ้ง จำกัด) ซึ่งบริษัทลงทุนไว้ร้อยละ 50 ในเดือน พฤษภาคม 2537 มารวมในการจัดทำ งบการเงินรวมด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีอำนาจในการควบคุม ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้นของบริษัท ล๊อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัทได้จ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "จำนวนเงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกิน กว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่นซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมีจำนวนเงินประมาณ 42.1 ล้านบาท นอกจากนี้ ในการนำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด มาจัดทำงบการเงินรวมนั้น บริษัทได้บันทึกผลขาดทุนในขาดทุนสะสมเกินทุนของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด ทั้งหมดใน งบการเงินรวมด้วย ผลขาดทุนดังกล่าวได้รวมผลขาดทุนที่เป็นของส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวน 27 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้บันทึกรอตัดบัญชีไว้ในบัญชีสินทรัพย์อื่นและตัดบัญชีเป็น ค่าใช้จ่ายภายใน เวลา 15 ปี อย่างไรก็ดี บริษัทได้นำส่วนแบ่งในกำไรของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด เฉพาะส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาหักออกจากยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวหมดแล้วในปี 2538 - 4 - ในระหว่างไตรมาสที่สามของปี 2539 บริษัทได้เข้าลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทิลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด จำนวนร้อยละ 90 ในการนี้ บริษัทได้จ่ายเงินค่าหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์ สุทธิของบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "จำนวนเงินลงทุน ในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา ประมาณ 15 ปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมี จำนวนเงินประมาณ 56.6 ล้านบาท 2. กำไรต่อหุ้น กำไรต่อหุ้นสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539 คำนวณโดย การหารกำไรสุทธิด้วยจำนวนหุ้นที่ได้รับชำระแล้ว ณ วันที่ในงบดุล บริษัทไม่ได้แสดงกำไรต่อหุ้น แบบลดลงเต็มที่เพื่อการเปรียบเทียบเนื่องจากการลดลงของกำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่ที่คำนวณ ได้มีจำนวนไม่เป็นสาระสำคัญ 3. รายการบัญชีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น ต้นทุน ขายและบริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริการเป็นรายการที่เกิดขึ้นกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดยการมีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน งบการเงินระหว่างกาล รวมนี้ได้รวมผลของรายการดังกล่าวตามเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกันระหว่างบริษัทและบริษัทต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกันดังกล่าว ยอดคงเหลือที่มีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 และ 2539 ได้แสดงแยกไว้ต่างหากในงบดุล 4. ลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือ ลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือส่วนที่เป็นงานระหว่างติดตั้งส่วนหนึ่งเป็นรายการที่เกิดกับ หน่วยงานราชการซึ่งใช้เวลาในการติดตั้งมากกว่าหนึ่งปี ทั้งนี้บริษัทและบริษัทย่อยได้รับเงิน ล่วงหน้าจากลูกค้าแล้วส่วนหนึ่ง - 5 - 5. เงินกู้ยืมระยะยาว ในเดือนมีนาคม 2537 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง โดยได้รับวงเงินสินเชื่อเป็นจำนวนเงินรวม 400 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นเงินกู้สกุลเหรียญสหรัฐ อเมริกาเทียบเท่าเงินสกุลบาท และเงินกู้สกุลบาทรวม 2 จำนวน ๆ ละ 200 ล้านบาทเท่า ๆ กัน โดยเงินกู้ยืมจำนวนแรกมีดอกเบี้ยตามอัตรา SINGAPORE INTERBANK OFFERED RATE (SIBOR) บวกร้อยละ 2 ต่อปี ส่วนเงินกู้ยืมจำนวนที่สองมีดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR) ที่ ประกาศโดยธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เงินกู้ยืมนี้มีกำหนดชำระคืนเป็นงวดทุกงวดสามเดือนรวม 24 งวด โดยเริ่มชำระงวดแรกภายหลังครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันเบิก เงินกู้ เงินกู้ยืม นี้ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 บริษัทย่อยได้เบิกเงินกู้จากวงเงินดังกล่าวเป็นจำนวนเงินเทียบเท่ารวมประมาณ 329.5 ล้านบาท ในเดือนตุลาคม 2537 และกันยายน 2538 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากธนาคาร ในประเทศแห่งหนึ่งเป็นจำนวนเงิน 60 ล้านบาท และ 13.5 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีกำหนดชำระ คืนเป็นงวดสิ้นสุดเดือนเมษายน 2544 และเดือนกันยายน 2543 ตามลำดับ เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดย การจำนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ดำเนินงานของบริษัทย่อย 6. หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศจำหน่าย ในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่ง เป็น 100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็น เงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพหรือไถ่ถอนเท่ากับ 2,455 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 เมษายน 2548 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลง สภาพหุ้นละ 500 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548 หรือ ใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วน เพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน นอกจากนี้บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนด ได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2541 จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มรวมเป็นหุ้นละ 1,237 หรือ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกาขึ้นกับ ระยะเวลาที่ไถ่ถอน ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตาม เงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน - 6 - ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2539 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตราต่างประเทศ จำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มเติมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 105 ล้านเหรียญสหรัฐ อเมริกา (แบ่งเป็น 105,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือ เทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพเท่ากับ 2,646 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 4 เมษายน 2544 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลง สภาพหุ้นละ 450 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2544 นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่ เดือนเมษายน 2542 จนถึงวันที่ 3 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,210 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2543 และ 1,272 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2544 ทั้งนี้บริษัทต้อง ปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2538 ผู้ถือหุ้นมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท (แบ่งเป็น 40 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้น ละ 10 บาท) เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และต่อมาได้มีมติ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 460 ล้านบาท(แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) โดยให้ สำรองหุ้นสามัญ จำนวนรวม 12 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้ เพื่อรองรับการใช้สิทธิในการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็น หุ้นสามัญ บริษัทได้จดทะเบียนมติเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อ วันที่ 27 มกราคม 2538 และวันที่ 20 มีนาคม 2539 ตามลำดับ ในปี 2539 ราคาตลาดของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยทั่วไปรวมทั้งของ บริษัทตกต่ำอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่นำหุ้นกู้มาแปลงสภาพตามจำนวนที่ประมาณ ไว้ทั้งหมด ดังนั้น บริษัทจึงถือเป็นนโยบายที่จะบันทึกตั้งสำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับส่วนเพิ่ม ที่จะต้องจ่ายหากผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด ในอัตราร้อยละ 80 ของส่วนเพิ่มทั้งหมดที่ต้องจ่าย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ทั้งหมดใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดโดยเฉลี่ยตามระยะเวลาที่ให้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด ฝ่ายบริหารเชื่อว่าสำรองจำนวนดังกล่าวเพียงพอ เนื่องจากราคาตลาดของหุ้นสามัญของบริษัทใน ปัจจุบันเป็นราคาในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ในภาวะตกต่ำผิดปกติและช่วงเวลาของ การใช้สิทธิแปลงสภาพก่อนกำหนดที่จะมีผลใช้บังคับยังมีเวลาอีกประมาณ 3 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพ ครั้งที่ 1 และ 4 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพ ครั้งที่ 2 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 สำรองค่าใช้จ่าย ทางการเงินดังกล่าวมีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 369.5 ล้านบาท (รวมสำรองค่าใช้จ่ายทางการ เงินสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2540 จำนวนประมาณ 66.3 ล้านบาท) - 7 - 7. เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน ในการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2540 ผู้ถือหุ้นได้มีมติอนุมัติให้จ่าย เงินปันผลจากกำไรสุทธิปี 2539 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 120,000,000 บาท (ในอัตราหุ้นละ 3.00 บาท) 8. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 ก. บริษัทและบริษัทย่อยมีเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังไม่ได้ใช้เป็นจำนวนเงินรวมประมาณ 1,865 ล้านบาท ข. บริษัทและบริษัทย่อยมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการประกันการประมูลงานกับ ลูกค้าเป็นจำนวนประมาณ 1,715 ล้านบาท ซึ่งบริษัทและบริษัทย่อยได้ให้ธนาคารออกหนังสือ ค้ำประกันเพื่อค้ำประกันการประมูลงานดังกล่าว ค. บริษัทมีภาระผูกพันภายใต้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคารบางแห่ง เป็นจำนวนเงินเทียบเท่าประมาณ 7.3 ล้านบาท ง. บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการค้ำประกันกับธนาคารให้กับ กิจการร่วมค้าเป็นจำนวนเงินประมาณ 133 ล้านบาท