ารเงินระหว่างกาลรวมสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย 2540 และ 2539

29 สิงหาคม 2540
- 6 - 3. ข้อมูลเพิ่มเติม 3.1 รายการบัญชีกับบริษัทร่วมและบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ ค่าธรรมเนียม รายได้อื่น ต้นทุนขายและบริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเป็นรายการที่เกิดขึ้นกับบริษัทร่วมและ บริษัทที่เกี่ยวข้องกันบางแห่ง บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดยการมีผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือ ผู้บริหารในตำแหน่งที่สำคัญร่วมกัน งบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ได้รวมผลของรายการดังกล่าว ตามเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกันระหว่างบริษัทกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ดังกล่าว ยอดคงเหลือที่มีกับบริษัทที่ เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 ได้แสดงแยกไว้ต่างหากในงบดุลรวม 3.2 เงินกู้ยืมระยะยาว ในเดือนมีนาคม 2537 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคารใน ประเทศแห่งหนึ่ง โดยได้รับวงเงินสินเชื่อเป็นจำนวนเงินรวม 400 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นเงินกู้ สกุลเหรียญสหรัฐอเมริกาเทียบเท่าเงินสกุลบาท และเงินกู้สกุลบาทรวม 2 จำนวน ๆ ละ 200 ล้านบาทเท่า ๆ กัน โดยเงินกู้ยืมจำนวนแรกมีดอกเบี้ยตามอัตรา SINGAPORE INTERBANK OFFERED RATE (SIBOR) บวกร้อยละ 2 ต่อปี ส่วนเงินกู้ยืมจำนวนที่สองมีดอกเบี้ยตามอัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR) ที่ประกาศโดยธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เงินกู้ยืมนี้มีกำหนดชำระ คืนเป็นงวดทุกงวดสามเดือนรวม 32 งวด โดยเริ่มชำระงวดแรกภายหลังครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันเบิกเงินกู้ เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของบริษัท ย่อย ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2540 บริษัทย่อย ดังกล่าวได้ทำสัญญาเปลี่ยนสกุลเงินของเงินกู้ จากสกุลเหรียญสหรัฐอเมริกาเป็นเงินบาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันเป็นจำนวนเงิน ประมาณ 178.8 ล้านบาท และได้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR) ที่ประกาศโดยธนาคารผู้ให้กู้ ในเดือนตุลาคม 2537 และกันยายน 2538 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืม เงินจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเป็นจำนวนเงิน 60 ล้านบาท และ 15 ล้านบาท โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นงวดสิ้นสุดเดือนเมษายน 2544 และเดือนกันยายน 2543 ตามลำดับ เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยการจำนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ดำเนินงานของบริษัทย่อย - 7 - 3.3 หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงิน ต่างประเทศจำหน่ายในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อ ครบกำหนดแปลงสภาพหรือไถ่ถอนเท่ากับ 2,455 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 เมษายน 2548 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้ สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 500 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548 หรือใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวม เป็นหุ้นละ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไขและ ข้อกำหนดบางประการ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน นอกจากนี้บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อน กำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2541 จนถึง วันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่ม รวมเป็นหุ้นละ 1,237 หรือ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกาขึ้นกับระยะเวลาที่ไถ่ถอน ทั้งนี้บริษัท ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนด บางประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2539 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตรา ต่างประเทศจำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มเติมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 105 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 105,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบ กำหนดแปลงสภาพเท่ากับ 2,646 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยจะ ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 4 เมษายน 2544 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพ หุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 450 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ใน ระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2544 นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิ ไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 จนถึงวันที่ 3 เมษายน 2544 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,210 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2543 และ 1,272 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2544 ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดบาง ประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน - 8 - เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้มีมติเมื่อ วันที่ 11 มกราคม 2538 ให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท (แบ่งเป็น 40 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และต่อมาได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียน ของบริษัทจาก 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) โดยให้สำรองหุ้นสามัญ จำนวนรวม 12 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้ เพื่อรองรับการใช้สิทธิในการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้ จดทะเบียนมติเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2538 และวันที่ 20 มีนาคม 2539 ตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ราคาตลาดของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยโดยทั่วไปรวมทั้งของบริษัทตกต่ำอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่นำ หุ้นกู้มาแปลงสภาพตามจำนวนที่ประมาณไว้ทั้งหมด ดังนั้น บริษัทจึงถือเป็นนโยบายที่จะบันทึก ตั้งสำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับส่วนเพิ่มที่จะต้องจ่ายหากผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิไถ่ถอนก่อน กำหนด ในอัตราร้อยละ 80 ของส่วนเพิ่มทั้งหมดที่ต้องจ่ายในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ทั้งหมดใช้สิทธิ ไถ่ถอนก่อนกำหนดโดยเฉลี่ยตามระยะเวลาที่ให้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด ฝ่ายบริหารเชื่อว่า สำรองจำนวนดังกล่าวเพียงพอ เนื่องจากราคาตลาดของหุ้นสามัญของบริษัทในปัจจุบันเป็น ราคาในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ในภาวะตกต่ำ ผิดปกติและช่วงเวลาของ การใช้สิทธิแปลงสภาพก่อนกำหนดที่จะมีผลใช้บังคับยังมีเวลาอีกประมาณ 3 ปี สำหรับหุ้นกู้ แปลงสภาพครั้งที่ 1 และ 4 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 2 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 สำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินดังกล่าวมีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 428.5 ล้านบาท (รวมสำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับงวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540 จำนวนประมาณ 59.1 ล้านบาทและ 125.4 ล้านบาท ตามลำดับ) 3.4 ทุนสำรอง บัญชีนี้ได้แก่ เงินสำรองที่บริษัทจัดสรรสะสมตามพระราชบัญญัติกฎหมายมหาชนซึ่ง กำหนดให้บริษัทจัดสรรทุนสำรองอย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิสำหรับปีหลังจากหักยอด ขาดทุนสะสมต้นปี (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรองจะมียอดเป็นร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนของบริษัท ทุนสำรองนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้ - 9 - 3.5 สัญญา ก) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมค้ากับบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ไอบีเอ็ม เวิลด์เทรด คอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อเข้าร่วมดำเนินการจัดหาระบบเบ็ดเสร็จสำหรับโครงการบันทึกข้อมูลภาษีด้วยคอมพิวเตอร์กับ กรมสรรพากรในมูลค่าตามสัญญารวม 1,814 ล้านบาท ซึ่งบริษัทย่อยดังกล่าวรับผิดชอบในอัตรา ร้อยละ 44.738 ของผลได้ผลเสียอันเกิดจากกิจการร่วมค้า ข) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) โดยได้ รับสัมปทานการให้บริการวิทยุติดตามตัวภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา ภายใต้เงื่อนไขของสัญญา บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิในอุปกรณ์การสื่อสารให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยมีสิทธิใช้อุปกรณ์ดังกล่าวตลอดอายุของสัมปทานและต้องจ่ายผลประโยชน์ให้กับองค์การโทรศัพท์ แห่งประเทศไทยเป็นอัตราร้อยละของรายได้ค่าบริการตามที่ระบุไว้ในสัญญาในการนี้ บริษัทย่อยได้ มอบหนังสือค้ำประกันธนาคารเป็นจำนวนเงิน 122.6 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันแก่องค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย ส่วนหนึ่งของหนังสือค้ำประกันธนาคารนี้ค้ำประกันโดยเงินฝากประจำ จำนวนเงินประมาณ 21.4 ล้านบาท ค) บริษัทย่อยสองแห่งมีสัญญาร่วมลงทุนในการให้บริการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์กับการ สื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะ ต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุม ตลอดจนบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ตามที่ตกลงในสัญญา นอกจากนี้บริษัทย่อยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่ กสท. นับตั้งแต่ วันแรกที่เปิดให้บริการ สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลาสิบ (10) ปี เริ่มตั้งแต่วันแรกที่เปิดบริการ โดยบริษัทย่อย ไม่มีสิทธิเลิกสัญญาเว้นแต่จะเข้ากรณีตามที่กำหนดไว้ในสัญญาในการนี้ บริษัทย่อยมีสิทธิที่จะเรียกเก็บ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ จากผู้ใช้บริการตามที่ระบุไว้ในสัญญา - 10 - ง) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมค้ากับหน่วยงานราชการของต่างประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อวางระบบและให้บริการด้านโทรคมนาคมในพื้นที่ที่ตกลงกัน ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุมตลอดจนบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ การโทรคมนาคมดังกล่าวตามที่ตกลงในสัญญา นอกจากนี้ บริษัทจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในระบบและ อุปกรณ์โทรคมนาคมดังกล่าวให้กับหน่วยงานราชการที่เป็นคู่สัญญาในวันที่สิ้นสุดระยะเวลาสัมปทาน 3.6 ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 บริษัทและบริษัทย่อยมี ก. เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังไม่ได้ใช้เป็นจำนวนเงินประมาณ 2,091.79 ล้านบาท ข. หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการประกันการประมูลงานกับลูกค้าเป็นจำนวน เงินรวมประมาณ 1,796.82 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้ให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันเพื่อค้ำประกัน การประมูลงานดังกล่าว ค. ภาระผูกพันภายใต้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับธนาคารบางแห่ง เป็นจำนวนเงินเทียบเท่าประมาณ 238.36 ล้านบาท 3.7 การจัดประเภทบัญชีใหม่ รายการบัญชีบางรายการในงบการเงินระหว่างกาลรวมสำหรับงวดปี 2539 ได้จัด ประเภทใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการแสดงรายการในงบการเงินระหว่างกาลรวมสำหรับงวดปี 2540 - 11 - 3.8 เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 กระทรวงการคลังประกาศเปลี่ยนแปลงระบบอัตราการ แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศใหม่เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ ผลดังกล่าวทำให้บริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งมีผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศสำหรับหนี้สิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 เป็นเงินรวมประมาณ 779.45 ล้านบาท คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งบริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งยังไม่ได้บันทึกไว้ในบัญชีสำหรับไตรมาสสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2540