การเงินงวดสามเดือนและเก้าเดือนบมจ.ล็อกซเล่ย์และบริษัทย่อย

01 ธันวาคม 2540
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม วันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 1. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมนี้ได้รวมบัญชีของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทต่าง ๆ ซึ่ง เป็นบริษัทย่อยหรือบริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม ดังต่อไปนี้ อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 2539 บริษัทย่อย บริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด 99 99 บริษัท ล็อกซเล่ย์ เมียนมาร์ จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 99 บริษัท ล็อกซเล่ย์ ไวร์เลส จำกัด (เดิมชื่อบริษัท เซลลูล่าร์ โปรดักส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด) 99 99 บริษัท จาโก จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - บริษัท แอล แวฟ จำกัด - 99 บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทิลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด 90 90 บริษัท ล็อกซเล่ย์ คอมแวร์ จำกัด 70 70 บริษัท ล็อกซเล่ย์ แปซิฟิก จำกัด 70 70 บริษัท โปรเฟสชั่นนัลคอมพิวเตอร์ จำกัด - 67 บริษัท โอเพ่น ซีสเต็ม อินทิเกรเตอร์ จำกัด 83 67 บริษัท ล็อกซเล่ย์ นิวเท็ค จำกัด 67 67 บริษัท การค้าลาว จำกัด 67 67 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น จำกัด 65 65 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด 65 65 บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาส แอนด์ มีเดีย จำกัด 60 60 - 2 - อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 2539 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟรา จำกัด 60 60 บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด - 55 บริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด 55 55 บริษัท ล็อกซ์ดาต้า จำกัด 52 52 บริษัท ล็อกซเล่ย์ แซทเทลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 51 51 บริษัท ทีเอ็นที ลอจีสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด - 51 บริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อบริษัท ธนากรเทรดดิ้ง จำกัด) 50 50 บริษัท ล็อกซเล่ย์ พลังงาน จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 45 45 บริษัท ล็อกซเล่ย์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด 40 40 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์กราฟ (ประเทศไทย) จำกัด - 40 รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัทต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นได้ แสดงหักกลบลบกันในงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้แล้ว ในเดือนพฤษภาคม 2537 บริษัทได้ลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม- มิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฮัทชิสัน) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55 ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้นของฮัทชิสัน บริษัทต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัท ดังกล่าว ซึ่งเป็นผลให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าว ซึ่งเป็นผลให้บริษัทต้องบันทึกผลต่าง ดังกล่าวไว้ในบัญชี "เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่ง ตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ 12 ปี ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 30 กันยายน 2539 ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมีจำนวนเงินประมาณ 27.1 ล้านบาท - 3 - อนึ่ง เนื่องจากบริษัทถือหุ้นในบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฮัทชิสัน) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55 ในเดือนพฤษภาคม 2537 ดังกล่าว ข้างต้น ดังนั้น บริษัทจึงเปลี่ยนแปลงการรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนในบริษัทดังกล่าวที่มีอยู่เดิม และที่เกิดขึ้นใหม่โดยในช่วงที่บริษัทถือหุ้นของบริษัทนี้เพียงร้อยละ 45 บริษัทบันทึกบัญชีเงิน ลงทุนในฮัทชิสันตามวิธีส่วนได้เสีย บริษัทจึงไม่ได้บันทึกรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนที่เป็นส่วน ของบริษัทในงบการเงิน อย่างไรก็ดี เมื่อบริษัทถือหุ้นเป็นร้อยละ 55 บริษัทต้องนำงบการเงินของ ฮัทชิสันมาจัดทำงบการเงินรวม ในการนี้ บริษัทได้บันทึกรับรู้ผลขาดทุนสะสมเกินทุนของฮัทชิสัน ทั้งหมดในงบการเงินรวมด้วย ผลขาดทุนดังกล่าวได้รวมผลขาดทุนในฮัทชิสันที่เป็นส่วนของผู้ถือ หุ้นส่วนน้อยจำนวน 60.4 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้บันทึกรอตัดบัญชีไว้ในบัญชีสินทรัพย์อื่น และตัด บัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงภายในเวลาประมาณ 12 ปี นอกจากนี้ บริษัทจะนำส่วนแบ่งกำไร ของฮัทชิสันที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาหักออกจากยอดที่ยังตัดบัญชีไม่หมดเมื่อฮัทชิสันมีกำไรด้วย อย่างไรก็ตาม ในปี 2539 ฮัทชิสันได้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัททำให้ขาดทุนสะสมเกิน ทุนของฮัทชิสันหมดไป บริษัทจึงได้ปรับปรุงยอดคงเหลือในขาดทุนสะสมเกินทุนส่วนที่เป็นของ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีจำนวนเงินรวมประมาณ 35.8 ล้านบาท กับส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนน้อยในฮัทชิสันซึ่งเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มทุนดังกล่าว ในเดือนสิงหาคม 2540 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ซื้อหุ้นทุนของฮัทชิสันทั้งหมดจากบริษัท และผู้ถือหุ้นรายอื่น ในการนี้ บริษัทย่อยดังกล่าวต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ของบริษัทดังกล่าว ซึ่งได้แสดงไว้ในบัญชี "เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งบริษัทย่อยตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ 8 ปี ยอดคงเหลือที่ ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 มีจำนวนเงินประมาณ 79.6 ล้านบาท บริษัทได้นำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท ธนากร เทรดดิ้ง จำกัด) ซึ่งบริษัทลงทุนไว้ร้อยละ 50 ในเดือนพฤษภาคม 2537 มารวมในการจัดทำ งบการเงินรวมด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีอำนาจในการควบคุม ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้นของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัทได้จ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่า สินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี มีจำนวนเงินประมาณ 40.5 ล้านบาท นอกจากนี้ ในการนำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด มาจัดทำงบการเงินรวมนั้น บริษัท ได้บันทึกรวมผลขาดทุนในขาดทุนสะสมเกินทุนของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด ทั้งหมด - 4 - งบการเงินรวมด้วย ผลขาดทุนดังกล่าวได้รวมผลขาดทุนที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวน 27 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้บันทึกรอตัดบัญชีไว้ในบัญชีสินทรัพย์อื่นและตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายใน เวลา 15 ปี อย่างไรก็ดี บริษัทได้นำส่วนแบ่งในกำไรของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด เฉพาะที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาหักออกจากยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวหมดแล้วในปี 2538 ในระหว่างไตรมาสที่สามของปี 2539 บริษัทได้เข้าลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทิลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด จำนวนร้อยละ 90 ในการนี้ บริษัทได้จ่ายเงินค่าหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์ สุทธิของบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "เงินลงทุนใน บริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา ประมาณ 15 ปี ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมี จำนวนเงินประมาณ 54.6 ล้านบาท 2. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ บริษัทและบริษัทย่อยตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ จากลูกหนี้ที่มีอยู่ จำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้นี้ประมาณขึ้นจากประสบการณ์การเรียกเก็บ หนี้ในอดีตควบคู่กับการวิเคราะห์ฐานะการเงินในปัจจุบันของลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ บริษัทและบริษัทย่อยตีราคาสินค้าคงเหลือในราคาทุนถัวเฉลี่ยหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า เงินลงทุนในหุ้นทุน บริษัทบันทึกเงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย ในกรณีที่บริษัทร่วม แสดงผลการดำเนินงานขาดทุน บริษัทจะหยุดบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียเมื่อยอดคงเหลือ ในบัญชีเงินลงทุนของบริษัทร่วมนั้นลดลงเป็นศูนย์ซึ่งหลังจากนั้นจะไม่บันทึกรับรู้ส่วนแบ่งผลขาดทุน เพิ่มอีก บริษัทจะกลับมาบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียอีกครั้งก็ต่อเมื่อในเวลาต่อมา บริษัทร่วมนั้นมีกำไร และส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวที่เป็นของริษัทมีจำนวนเกินกว่าส่วนแบ่งผล ขาดทุนที่บริษัทยังไม่ได้บันทึกรับรู้เนื่องจากมีการหยุดใช้วิธีส่วนได้เสียดังกล่าว - 5 - เงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันซึ่งถือไว้เป็นเงินทุนระยะยาวตีราคา ในราคาทุน กำไรหรือขาดทุนจากเงินลงทุนดังกล่าวจะบันทึกบัญชีเมื่อจำหน่ายเงินลงทุนนั้นแล้ว ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชี บริษัทและบริษัทย่อยตัดค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งาน โดยประมาณของสินทรัพย์เป็นเวลา 5 ปี ถึง 25 ปี เครื่องมือและอุปกรณ์ภายใต้สัญญาบริการ ที่ผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้คู่สัญญาตามที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงิน 3.5 ตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายตามอายุของสัญญาที่เกี่ยวข้อง ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่ายหุ้นกู้แปลงสภาพบริษัทตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงเป็น เวลา 5 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ บริษัท และบริษัทย่อยบันทึกรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทโดยใช้ อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งมียอด คงเหลือ ณ วันที่ในงบดุล แปลงค่าโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าวหรือตามอัตราแลก เปลี่ยนตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้วแต่กรณี กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าบันทึกเป็นรายได้ หรือค่าใช้จ่ายในงวดปัจจุบัน การรับรู้รายได้และต้นทุน บริษัทและบริษัทย่อยบันทึกรายได้ตามสัญญาซึ่งต้องใช้เวลาในการติดตั้งเป็นเวลานาน ตามสัดส่วนของงานที่แล้วเสร็จ ส่วนต้นทุนที่เกี่ยวข้องจะบันทึกบัญชีเมื่อเกิดรายการ กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นคำนวณโดยการหารกำไร (ขาดทุน) สุทธิรวมสำหรับงวดด้วย จำนวนหุ้นที่มีอยู่ ณ วันที่ในงบดุล บริษัทไม่ได้แสดงกำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่เพื่อเปรียบเทียบ เนื่องจากกำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่ที่คำนวณได้แตกต่างจากกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานในจำนวนที่ไม่ เป็นสาระสำคัญ - 6 - 3. ข้อมูลเพิ่มเติม 3.1 รายการบัญชีกับบริษัทร่วมและบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ ค่าธรรมเนียม รายได้อื่น ต้นทุนขายและบริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเป็นรายการที่เกิดขึ้นกับบริษัท ร่วมและบริษัทที่เกี่ยวข้องกันบางแห่ง บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดยการมีผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือผู้บริหารในตำแหน่งที่สำคัญร่วมกัน งบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ได้รวมผลของ รายการดังกล่าวตามเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกันระหว่างบริษัทกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว ยอดคงเหลือที่มีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 ได้แสดงแยกไว้ต่างหากในงบดุลรวม 3.2 เงินกู้ยืมระยะยาว ในเดือนมีนาคม 2537 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคารใน ประเทศแห่งหนึ่ง โดยได้รับวงเงินสินเชื่อเป็นจำนวนเงินรวม 400 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็น เงินกู้สกุลเหรียญสหรัฐอเมริกาเทียบเท่าเงินสกุลบาท และเงินกู้สกุลบาทรวม 2 จำนวน ๆ ละ 200 ล้านบาทเท่า ๆ กัน โดยเงินกู้ยืมจำนวนแรกมีดอกเบี้ยตามอัตรา SINGAPORE INTERBANK OFFERED RATE (SIBOR) บวกร้อยละ 2 ต่อปี ส่วนเงินกู้ยืมจำนวนที่สอง มีดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR) ที่ประกาศโดยธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เงินกู้ยืมนี้มีกำหนดชำระคืนเป็นงวดทุกงวดสามเดือนรวม 32 งวด โดยเริ่มชำระงวดแรก ภายหลังครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันเบิกเงินกู้ เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยการจด จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของบริษัทย่อย ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2540 บริษัทย่อย ดังกล่าวได้ทำสัญญาเปลี่ยนสกุลเงินของเงินกู้จากสกุลเหรียญสหรัฐอเมริกาเป็นเงินบาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันเป็นจำนวนเงินประมาณ 178.8 ล้านบาท และได้เปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR) ที่ประกาศโดยธนาคารผู้ให้กู้ ในเดือนตุลาคม 2537 และกันยายน 2538 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืม เงินจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเป็นจำนวนเงิน 60 ล้านบาท และ 15 ล้านบาท โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นงวดสิ้นสุดเดือนเมษายน 2544 และเดือนกันยายน 2543 ตามลำดับ เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยการจำนองเครื่องจักรและอุปกรณ์ดำเนินงานของ บริษัทย่อย - 7 - 3.3 หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงิน ต่างประเทศจำหน่ายในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อ ครบกำหนดแปลงสภาพหรือไถ่ถอนเท่ากับ 2,455 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 เมษายน 2548 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 500 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548 หรือใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคา บวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไขและ ข้อกำหนดบางประการตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน นอกจากนี้บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอน หุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2541 จนถึง วันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มรวมเป็นหุ้นละ 1,237 หรือ 1,310 เหรียญสหรัฐ อเมริกาขึ้นกับระยะเวลาที่ไถ่ถอน ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนด บางประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2539 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตรา ต่างประเทศจำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มเติมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 105 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 105,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อ ครบกำหนดแปลงสภาพเท่ากับ 2,646 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 4 เมษายน 2544 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิ แปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 450 บาท ณ เวลา ใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2544 นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 จนถึงวันที่ 3 เมษายน 2544 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,210 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2543 และ 1,272 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2544 ทั้งนี้บริษัท ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน - 8 - เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้มีมติเมื่อ วันที่ 11 มกราคม 2538 ให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท (แบ่งเป็น 40 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และต่อมาได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียน ของบริษัทจาก 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) โดยให้สำรองหุ้นสามัญ จำนวนรวม 12 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้ เพื่อรองรับการใช้สิทธิในการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้จดทะเบียนมติเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2538 และวันที่ 20 มีนาคม 2539 ตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ราคาตลาดของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยโดยทั่วไปรวมทั้งของบริษัทตกต่ำอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่ นำหุ้นกู้มาแปลงสภาพตามจำนวนที่ประมาณไว้ทั้งหมด ดังนั้น บริษัทจึงถือเป็นนโยบายที่จะ บันทึกตั้งสำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับส่วนเพิ่มที่จะต้องจ่ายหากผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิ ไถ่ถอนก่อนกำหนด ในอัตราร้อยละ 80 ของส่วนเพิ่มทั้งหมดที่ต้องจ่ายในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ ทั้งหมดใช้สิทธิ ไถ่ถอนก่อนกำหนดโดยเฉลี่ยตามระยะเวลาที่ให้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด ฝ่ายบริหารเชื่อว่าสำรองจำนวนดังกล่าวเพียงพอ เนื่องจากราคาตลาดของหุ้นสามัญของ บริษัทในปัจจุบันเป็นราคาในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ในภาวะตกต่ำ ผิดปกติและช่วงเวลาของการใช้สิทธิแปลงสภาพก่อนกำหนดที่จะมีผลใช้บังคับยังมีเวลาอีก ประมาณ 3 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1 และ 4 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 2 ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 สำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินดังกล่าวมีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ประมาณ 694.6 ล้านบาท (รวมสำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินสำหรับงวดสามเดือน และเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 จำนวนประมาณ 266.0 ล้านบาทและ 391.4 ล้านบาท ตามลำดับ) (ยังมีต่อ)