การเงินบมจ.ล็อกซเล่ย์และบริษัทย่อยสิ้นสุด31ธ.ค 2540และ2539

31 มีนาคม 2541
4.3 ลูกหนี้การค้าและอื่น ๆ บัญชีนี้ประกอบด้วย บา ท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2540 2539 2540 2539 ลูกหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 200,227,826 623,130,112 413,610,150 767,246,763 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (21,756,955) - (103,296,955) - ลูกหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ 178,470,871 623,130,112 310,313,195 767,246,763 ลูกหนี้บริษัทอื่น 2,806,616,734 2,714,823,668 1,083,297,247 1,017,774,969 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (230,402,504) (39,385,095) (81,703,045) (20,000,000) ลูกหนี้บริษัทอื่น - สุทธิ 2,576,214,230 2,675,438,573 1,001,594,202 997,774,969 - 9 - 4.4 สินค้าคงเหลือ บัญชีนี้ประกอบด้วย บา ท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2540 2539 2540 2539 สินค้าคงเหลือ 851,804,173 959,582,377 582,221,609 635,659,319 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับงาน โครงการ 992,868,733 845,073,339 945,389,272 699,918,913 สินค้าระหว่างทาง 11,315,136 22,533,077 11,315,136 19,765,986 รวม 1,855,988,042 1,827,188,793 1,538,926,017 1,355,344,218 หัก จำนวนกันไว้เผื่อขาดทุน จากมูลค่าที่ลดลง (39,078,576) (53,289,682) (30,000,000) (42,922,825) สุทธิ 1,816,909,466 1,773,899,111 1,508,926,017 1,312,421,393 - 13 - ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 ราคาตลาดรวมของเงินลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนต่ำกว่า ราคาทุนรวมประมาณ 1,068 ล้านบาท บริษัทไม่ได้บันทึกค่าเผื่อผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการ ลดลงของมูลค่าเงินลงทุนดังกล่าว เนื่องจากบริษัทเชื่อว่าการลดลงของราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยที่เกิดขึ้นในช่วงสิ้นปีมีลักษณะเป็นการชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะวิกฤติทาง เศรษฐกิจ ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่ราคาตลาดของหุ้นมีการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากวันที่ในงบดุล ซึ่ง ณ วันที่ 25 มีนาคม 2541 ราคาตลาดรวมของเงินลงทุนดังกล่าวมีมูลค่าต่ำกว่าราคาทุนรวมประมาณ 162.8 ล้านบาท บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัท ล็อกซเล่ย์ ฮิตาชิ เคเบิ้ล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และเงิน ลงทุนในบริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตามวิธีส่วนได้เสีย ต่อมาใน ปี 2540 และ 2539 บริษัทได้ขายเงินลงทุนส่วนหนึ่งซึ่งมีผลทำให้อัตราส่วนการถือครองหุ้นในบริษัท ดังกล่าวไม่ถึงร้อยละ 20 บริษัทจึงเปลี่ยนวิธีการบันทึกเงินลงทุนจากเดิมไปใช้วิธีบันทึกบัญชีตามราคาทุน โดยถือเอายอดคงเหลือในบัญชีตามวิธีส่วนได้เสียที่คงเหลืออยู่เป็นราคาทุนของเงินลงทุน 4.6 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ บัญชีนี้ประกอบด้วย บา ท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2540 2539 2540 2539 ราคาประเมิน - สุทธิ จากราคาทุนเดิม ที่ดิน 205,481,500 - 205,481,500 - ราคาทุน ที่ดิน 89,542,552 88,246,360 53,196,493 53,196,493 อาคารและส่วนปรับปรุง 1,058,021,694 906,630,209 453,259,986 304,149,089 เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและ เครื่องใช้สำนักงาน 987,551,800 656,441,783 382,876,186 360,506,817 เครื่องมือและอุปกรณ์ 114,110,727 112,997,125 - - อุปกรณ์สำนักงานให้เช่า 24,491,933 22,087,462 25,445,346 25,198,571 - 14 - บา ท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2540 2539 2540 2539 ยานพาหนะ 67,081,206 79,833,879 44,355,357 53,380,210 อุปกรณ์โทรคมนาคม (หมายเหตุ 4.15) 508,336,779 652,847,451 - - งานระหว่างก่อสร้าง 29,744,932 76,747,324 971,632 55,780,918 รวม 3,084,363,123 2,595,831,593 1,165,586,500 852,212,098 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม (911,034,042) (667,215,824) (420,561,145) (321,758,037) ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ - สุทธิ 2,173,329,081 1,928,615,769 745,025,355 530,454,061 ในปี 2540 บริษัทได้ประเมินราคาที่ดินซึ่งเดิมบันทึกบัญชีไว้ในราคาทุนจำนวนเงิน ประมาณ 48.1 ล้านบาท ด้วยราคาประเมินเป็นจำนวนเงินประมาณ 253.6 ล้านบาท บริษัท ประเมินราคาที่ดินดังกล่าว โดยอาศัยข้อมูลที่ได้รับจากบริษัทผู้ประเมินราคาอิสระ ส่วนเกินจาก การประเมินราคาที่ดินจำนวนประมาณ 205.5 ล้านบาท บันทึกไว้ในบัญชี ส่วนเกินทุนจากการตี ราคาที่ดิน ซึ่งแสดงไว้ภายใต้ "ส่วนของผู้ถือหุ้น" ในงบดุล ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดินนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้ ค่าเสื่อมราคาที่บันทึกเป็นต้นทุนและค่าใช้จ่ายสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม มี จำนวนเงินประมาณ 264.7 ล้านบาท (114.6 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2540 และ 233.5 ล้านบาท (90.5 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2539 - 15 - 4.7 สินทรัพย์อื่น บัญชีนี้ประกอบด้วย บา ท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2540 2539 2540 2539 ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (หมายเหตุ 4.2) 1,757,576,157 - 1,757,576,157 - เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกิน สินทรัพย์สุทธิ (หมายเหตุ 2) 181,319,983 132,127,586 - - ค่าธรรมเนียมจัดจำหน่ายหุ้นกู้ แปลงสภาพรอตัดบัญชี - สุทธิ 89,813,283 122,833,521 89,813,283 122,833,521 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 77,785,814 61,539,413 37,961,125 36,805,218 เงินมัดจำ เงินประกันและอื่น ๆ 400,886,567 122,644,256 31,689,458 38,947,872 รวม 2,507,381,804 439,144,776 1,917,040,023 198,586,611 4.8 เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน บัญชีนี้ประกอบด้วย บา ท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2540 2539 2540 2539 เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร 354,370,456 203,267,732 4,815,283 10,488,186 เงินกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร ในประเทศและต่างประเทศ 1,291,374,537 480,300,000 549,870,000 - หนี้สินจากการรับรองตั๋วเงินและ จากการทำทรัสต์รีซีทส์ 476,986,580 526,546,544 411,308,871 364,440,162 ตั๋วเงินจ่าย 178,000,000 233,000,000 - - รวม 2,300,731,573 1,443,114,276 965,994,154 374,928,348 - 16 - ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 และ 2539 บริษัทและบริษัทย่อยมีวงเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร และเงินกู้ยืมกับธนาคารต่าง ๆ ในวงเงินรวม 6,054 ล้านบาท (3,707 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) และ 4,584 ล้านบาท (2,993 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ตามลำดับ โดยมีอัตราดอกเบี้ยในปี 2540 ระหว่างร้อยละ 9 ถึงร้อยละ 28 ต่อปีสำหรับเงินกู้ยืมจากธนาคารในประเทศและอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.3 ถึงร้อยละ 1.4 ต่อปีสำหรับเงินกู้ยืมจากธนาคารต่างประเทศ และมีอัตราดอกเบี้ยในปี 2539 ร้อยละ 8.5 ถึงร้อยละ 20 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืมจากธนาคารในประเทศและอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.3 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืมจากธนาคารต่างประเทศ ตามเงื่อนไขของสัญญาเกี่ยวกับการทำทรัสต์รีซีทส์ บริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งนำเข้าสินค้า ที่สั่งเข้ามาภายใต้การใช้เครดิตของธนาคาร ดังนั้น บริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งจึงต้องมีภาระผูกพันต่อ ธนาคารสำหรับสินค้าดังกล่าวทั้งที่คงเหลืออยู่หรือขายไป 4.9 เงินกู้ยืมระยะยาว ในเดือนมีนาคม 2537 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง โดยได้รับวงเงินสินเชื่อเป็นจำนวนเงินรวม 400 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นเงินกู้สกุลเหรียญสหรัฐอเมริกา เทียบเท่าเงินสกุลบาท และเงินกู้สกุลบาทรวม 2 จำนวน ๆ ละ 200 ล้านบาทเท่า ๆ กัน โดยเงินกู้ยืม จำนวนแรกมีดอกเบี้ยตามอัตรา SINGAPORE INTERBANK OFFERED RATE (SIBOR) บวกร้อยละ 2 ต่อปี ส่วนเงินกู้ยืมจำนวนที่สองมีดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR) ที่ประกาศโดยธนาคารใน ประเทศแห่งหนึ่งเงินกู้ยืมนี้มีกำหนดชำระคืนเป็นงวดทุกงวดสามเดือนรวม 32 งวด โดยเริ่มชำระงวดแรก ภายหลังครบกำหนดระยะเวลา 2 ปีนับแต่วันเบิกเงินกู้ เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดินพร้อมสิ่ง ปลูกสร้างของบริษัทย่อย ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2540 บริษัทย่อยดังกล่าวได้ทำสัญญาเปลี่ยนสกุลเงินของ เงินกู้จากสกุลเหรียญสหรัฐอเมริกาเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันเป็นจำนวนเงินประมาณ 178.8 ล้านบาท และได้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR) ที่ประกาศโดย ธนาคารผู้ให้กู้ ในเดือนตุลาคม 2537 และกันยายน 2538 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจาก ธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเป็นจำนวนเงิน 60 ล้านบาท และ 15 ล้านบาท โดยมีกำหนดชำระคืนเป็น งวดสิ้นสุดเดือนเมษายน 2544 และเดือนเมษายน 2543 ตามลำดับ เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยการจำนอง เครื่องจักรและอุปกรณ์ดำเนินงานของบริษัทย่อย ในเดือนธันวาคม 2540 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากธนาคารในประเทศแห่ง หนึ่งเป็นจำนวนเงิน 50 ล้านบาท โดยมีกำหนดชำระคืนเป็นรายเดือนตามจำนวนที่กำหนดในสัญญาโดย เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2541 เงินกู้ยืมนี้ค้ำประกันโดยบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง - 17 - 4.10 หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ จำหน่ายในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็น จำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่า เป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพหรือไถ่ถอนเท่ากับ 2,455 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 เมษายน 2548 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 50 0 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548 หรือ ใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน นอก จากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2541 จน ถึงวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มต่าง ๆ กันรวมเป็นหุ้นละ 1,237 หรือ 1,310 เหรียญ สหรัฐอเมริกาขึ้นกับระยะเวลาที่ไถ่ถอน ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการที่ระบุ ไว้ในหนังสือชี้ชวน ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2539 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตราต่างประเทศ จำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มเติมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 105 ล้านเหรียญสหรัฐ อเมริกา (แบ่งเป็น 105,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบ เท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพเท่ากับ 2,646 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 4 เมษายน 2544 อย่างไร ก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 450 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2544 นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 จนถึงวันที่ 3 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,210 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2543 และ 1,272 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2544 ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ระบุไว้ใน หนังสือชี้ชวน - 18 - เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2538 ผู้ถือหุ้นมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท (แบ่งเป็น 40 ล้านหุ้น มูลค่า หุ้นละ 10 บาท) เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และต่อมาได้มีมติ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) โดยให้ สำรองหุ้นสามัญจำนวนรวม 12 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้เพื่อรองรับการใช้สิทธิในการแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้จดทะเบียนมติเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2538 และวันที่ 20 มีนาคม 2539 ตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ราคาตลาดของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทั่วไปรวมทั้งของบริษัทตกต่ำอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่นำหุ้นกู้มาแปลงสภาพตาม จำนวนที่ประมาณไว้ทั้งหมด ดังนั้น บริษัทจึงถือเป็นนโยบายที่จะบันทึกตั้งสำรองค่าใช้จ่ายทางการเงิน สำหรับส่วนเพิ่มที่จะต้องจ่ายหากผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิ ไถ่ถอนก่อนกำหนดในอัตราร้อยละ 80 ของส่วนเพิ่ม ทั้งหมดที่ต้องจ่าย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ทั้งหมดใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดโดยเฉลี่ยตามระยะเวลาที่ให้สิทธิ ไถ่ถอนก่อนกำหนด ฝ่ายบริหารเชื่อว่าสำรองจำนวนดังกล่าวเพียงพอ เนื่องจากราคาตลาดของหุ้นสามัญ ของบริษัทในปัจจุบันเป็นราคาในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ในภาวะตกต่ำผิดปกติและช่วง เวลาของการใช้สิทธิแปลงสภาพก่อนกำหนดที่จะมีผลใช้บังคับยังมีเวลาอีกประมาณ 2 ปี สำหรับหุ้นกู้ แปลงสภาพครั้งที่ 1 และ 3 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงภาพครั้งที่ 2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 สำรอง ค่าใช้จ่ายทางการเงินดังกล่าวมีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,015.4 ล้านบาท (รวมสำรองค่าใช้จ่าย ทางการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2540 จำนวนประมาณ 712.3 ล้านบาท) 4.11 เงินทุนเลี้ยงชีพพนักงาน บริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งจัดให้มีเงินกองทุนเลี้ยงชีพประเภทจ่ายสมทบสำหรับพนักงาน เกือบทั้งหมด พนักงานจะเข้าเป็นสมาชิกได้เมื่อเป็นพนักงานประจำแล้ว ทั้งนี้พนักงานจะจ่ายเข้ากองทุน ทุกเดือนเท่ากับร้อยละ 5 ของเงินเดือน และบริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งจะตั้งสำรองเป็นรายเดือนใน อัตราต่าง ๆ กันของเงินเดือนพนักงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาทำงานของพนักงานแต่ละคน ยอดที่บริษัท และบริษัทย่อยบางแห่งตั้งสำรองสำหรับปีและบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีจำนวนเงินประมาณ 19.6 ล้านบาท (14.8 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท)ในปี 2540 และ 13.8 ล้านบาท (11.3 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2539 - 19 - 4.12 ทุนสำรอง บัญชีนี้ได้แก่ เงินสำรองที่บริษัทจัดสรรสะสมตามพระราชบัญญัติกฎหมายมหาชนซึ่งกำหนดให้ บริษัทจัดสรรทุนสำรองอย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิสำหรับปีหลังจากหักยอดขาดทุนสะสมต้นปี (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรองจะมียอดเป็นร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนของบริษัท ทุนสำรองนี้จะนำไปจ่ายเป็นเงิน ปันผลไม่ได้ 4.13 ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น บัญชีนี้ประกอบด้วย บา ท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2540 2539 2540 2539 กำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุน 237,110,714 1,107,568,708 250,624,958 878,398,623 กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศ 173,179,578 - 173,179,578 - ดอกเบี้ยรับ 252,247,800 247,434,513 203,857,907 232,267,961 เงินปันผล ค่าธรรมเนียม ค่าบริการและอื่น ๆ 339,946,607 535,011,440 206,750,997 538,057,069 รวม 1,002,484,699 1,890,014,661 834,413,440 1,648,723,653 (ยังมีต่อ)