ารเงินระหว่างกาลไตรมาส 1/2541 บมจ.ล็อกซเล่ย์และบริษัทย่อย

29 พฤษภาคม 2541
บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล วันที่ 31 มีนาคม 2541 และ 2540 1. ผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ งบการเงินระหว่างกาลสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2541 นี้ได้รวมผล กระทบจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินที่มีต่อบริษัท บริษัทย่อยและบริษัทร่วมเท่าที่ บริษัทดังกล่าวทราบและสามารถประมาณการได้ วิกฤติการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากความผันผวน ของค่าเงินตราสกุลต่าง ๆ ของประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ตลาดหุ้น อัตราดอกเบี้ย และภาวะ เศรษฐกิจในประเทศที่ซบเซาและถดถอยอย่างต่อเนื่องในปี 2540 ถึงปัจจุบัน ภาวะวิกฤติดังกล่าว ยังคงมีอยู่และอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท บริษัทย่อยและบริษัทร่วมอย่างต่อเนื่อง ต่อไปอีกในอนาคต ผลที่สุดของความไม่แน่นอนในอนาคตยังไม่สามารถทราบได้ในปัจจุบัน งบการเงินระหว่างกาลสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2541 นี้ จึงไม่ได้รวมรายการ ปรับปรุงที่อาจมีขึ้นจากผลของความไม่แน่นอนในอนาคต ดังกล่าว อย่างไรก็ดี บริษัทดังกล่าวจะ รายงานผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไว้ในงบการเงินเมื่อทราบและสามารถประมาณการได้ 2. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินระหว่างกาลรวม งบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ได้รวมบัญชีของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทต่าง ๆ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นโดยทางตรงหรือ ทางอ้อมหรือบริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม ดังต่อไปนี้ อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 2540 ทางตรง ทางอ้อม ทางตรง ทางอ้อม บริษัทย่อย บริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด 99 - 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ เมียนมาร์ จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 99 - - 2 - อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 2540 ทางตรง ทางอ้อม ทางตรง ทางอ้อม บริษัท ล็อกซเล่ย์ ไวร์เลส จำกัด (เดิมชื่อบริษัท เซลลูล่าร์ โปรดักส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด) 99 - 99 - บริษัท จาโก จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ พลังงาน จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 45 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทีลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด 90 - 90 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ คอมแวร์ จำกัด 70 - 70 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ แปซิฟิค จำกัด 70 - 70 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ นิวเท็ค จำกัด 67 - 67 - บริษัท การค้าลาว จำกัด 67 - 67 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาสท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด 60 - 60 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟรา จำกัด 60 - 60 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด 55 - 55 - บริษัท ล็อกซ์ดาต้า จำกัด 52 - 52 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ แซทเทลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 51 - 51 - บริษัท โปรเฟสชั่นนัล คอมพิวเตอร์ จำกัด - 99 - 99 บริษัท เน็ทวัน เน็ทเวิร์ค โซลูชั่น จำกัด - 98 49 - บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด - 55 55 - บริษัท ทีเอ็นที ลอจีสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด - - 51 - บริษัท แอล เวฟ จำกัด - - 99 - บริษัท โอเพ่น ซิสเต็มส์ อินทิเกรเตอร์ จำกัด - 83 67 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น จำกัด - 65 65 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด - 65 65 - - 3 - อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 2540 ทางตรง ทางอ้อม ทางตรง ทางอ้อม บริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด 50 - 50 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 40 - 40 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์กราฟ (ประเทศไทย) จำกัด - 50 - 50 บริษัท ไดนามิค อินทิเกรเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด - 50 - 50 บริษัท นอร์ธ-อีสท์ เอเซีย เทเลโฟน แอนท์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด - 49 - 49 บริษัท ล็อกซเล่ย์ วีดีโอ โพสต์ (กรุงเทพ) จำกัด - 31 - 31 รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยต่าง ๆ ดังกล่าว ข้างต้นได้แสดงหักกลบลบกันในงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้แล้ว ในเดือนพฤษภาคม 2537 บริษัทได้ลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม- มิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด (ฮัทชิสัน) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 55 ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้นของฮัทชิสัน บริษัทต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของ บริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นผลให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี เงินลงทุนในบริษัทย่อย ส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ 12 ปี ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2540 มีจำนวนเงินประมาณ 25.6 ล้านบาท ในเดือนสิงหาคม 2540 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ซื้อหุ้นทุนของฮัทชิสันทั้งหมดจากบริษัท และผู้ถือหุ้นรายอื่น ในการนี้ บริษัทย่อยดังกล่าวต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ของบริษัทดังกล่าว ซึ่งได้แสดงไว้ในบัญชี เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งบริษัทย่อยตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ 8 ปี ยอดคงเหลือที่ ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 มีจำนวนเงินประมาณ 80.5 ล้านบาท - 4 - บริษัทได้นำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งบริษัทลงทุนไว้ร้อยละ 50 ในเดือนพฤษภาคม 2537 มารวมในการจัดทำงบการเงินรวมด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีอำนาจ ในการควบคุม ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้นของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัทได้จ่ายเงินค่า ซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่าง ดังกล่าวไว้ในบัญชี เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัด บัญชีมีจำนวนเงินประมาณ 38.7 ล้านบาท นอกจากนี้ ในการนำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด มาจัดทำงบการเงินรวมนั้น บริษัทได้บันทึกผลขาดทุนในขาดทุนสะสมเกินทุนของ บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด ทั้งหมดในงบการเงินรวมด้วย ผลขาดทุนดังกล่าวได้รวมผล ขาดทุนที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวน 27 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้บันทึกรอตัดบัญชีไว้ใน บัญชีสินทรัพย์อื่นและตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี อย่างไรก็ดี บริษัทได้นำส่วนแบ่ง ในกำไรของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด เฉพาะที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมาหักออกจาก ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวหมดแล้วในปี 2538 ในระหว่างไตรมาสที่สามของปี 2539 บริษัทได้เข้าลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทิลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด จำนวนร้อยละ 90 ในการนี้ บริษัทได้จ่ายเงินค่าหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์ สุทธิของบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี เงินลงทุนใน บริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา ประมาณ 15 ปี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมี จำนวนเงินประมาณ 52.6 ล้านบาท บริษัทบันทึกเงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทร่วมสำหรับงบการเงินรวมและเงินลงทุนในหุ้น ทุนของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะบริษัทตามวิธีส่วนได้เสียในกรณีที่บริษัทย่อย และ/หรือบริษัทร่วมแสดงผลการดำเนินงานขาดทุน บริษัทจะหยุดบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วน ได้เสียเมื่อยอดคงเหลือในบัญชีเงินลงทุนของบริษัทย่อย และ/หรือ บริษัทร่วมนี้ลดลงเป็นศูนย์ และหลังจากนั้นจะไม่บันทึกรับรู้ส่วนแบ่งผลขาดทุนเพิ่มอีก เนื่องจากบริษัทไม่มีภาระผูกพันหรือ ค้ำประกันบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วม บริษัทจะกลับมาบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียอีก ครั้งก็ต่อเมื่อ ในเวลาต่อมาบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนั้นมีกำไรและส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าว ที่เป็นของบริษัทมีจำนวนเท่ากับส่วนแบ่งผลขาดทุนที่บริษัทยังไม่ได้บันทึกรับรู้เนื่องจากการหยุดใช้ วิธีส่วนได้เสียดังกล่าว - 5 - 3. การเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชี 3.1 ในเดือนธันวาคม 2540 บริษัทเริ่มถือปฏิบัติในการบันทึกภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ซึ่งเกิด จากความแตกต่างด้านเวลาในการรายงานรายได้และค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษีอากร โดยให้เริ่มย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นไป ภาษีเงินได้สำหรับรายการที่ ยังถือเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายไม่ได้ในการคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร บันทึกไว้ในบัญชี ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ในงบดุล ซึ่งจะบันทึกเป็นรายได้หรือตัดบัญชี เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีเมื่อรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่บันทึกไว้เกิดขึ้นจริงหรือถือหักเป็นค่าใช้ จ่ายได้แล้วในการคำนวณภาษีเงินได้ ผลจากการบันทึกภาษีเงินได้ตามวิธีดังกล่าวข้างต้น มีผลทำให้กำไรสุทธิสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2540 เพิ่มขึ้นเป็น จำนวนเงินประมาณ 96.1 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นการบันทึกผลสะสมของภาษีเงินได้รอตัด บัญชีสำหรับความแตกต่างด้านเวลาของงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2540 (เป็นจำนวนเงินประมาณ 18.5 ล้านบาท) และของปีก่อน ๆ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2539 (เป็นจำนวนเงินประมาณ 77.6 ล้านบาท) งบการเงินระหว่างกาลของบริษัทย่อยที่รวมอยู่ในงบการเงินระหว่างกาลนี้ไม่ได้ ปรับปรุงด้วยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ อย่างไรก็ ตามฝ่ายบริหารเชื่อว่า ผลกระทบดังกล่าวจะไม่เป็นสาระสำคัญต่องบการเงินระหว่างกาลนี้ 3.2ในปี 2540 บริษัทได้ประเมินราคาที่ดินซึ่งเดิมบันทึกบัญชีไว้ในราคาทุนจำนวนเงิน ประมาณ 48.1 ล้านบาท ด้วยราคาประเมินเป็นจำนวนเงินประมาณ 253.6 ล้านบาท บริษัทประเมินราคาที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยข้อมูลที่ได้รับจากบริษัทผู้ประเมินราคาอิสระ ส่วนเกินจากการประเมินราคาที่ดินจำนวนประมาณ 205.5 ล้านบาท บันทึกไว้ในบัญชี ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน ซึ่งแสดงไว้ภายใต้ ส่วนของผู้ถือหุ้น ในงบดุล 4 รายการบัญชีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น ต้นทุนขายและบริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นรายการที่เกิดขึ้นกับบริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันบางแห่ง บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดยมีผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือ ผู้บริหารในตำแหน่งที่สำคัญร่วมกัน งบการเงินระหว่างกาลนี้ได้รวมผลของรายการ ดังกล่าวตามเกณฑ์ที่ตกลงร่วมกันระหว่างบริษัท บริษัทย่อยและบริษัทที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว ยอดคงเหลือที่เป็นสาระสำคัญที่มีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 และ 2540 ได้แสดงแยกไว้ต่างหากในงบดุล - 6 - รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2541 และ 2540 ซึ่งรวมอยู่ในงบการเงินระหว่างกาลมีดังนี้ พันบาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2541 2540 2541 2540 ขายผลิตภัณฑ์และบริการ 53,470 20,242 131,669 410,325 ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 28,264 21,075 33,027 43,075 ต้นทุนขายและบริการ 34,374 115,646 56,589 425,711 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร - - 2,266 6,094 - 10 - ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 ราคาตลาดรวมของเงินลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนต่ำกว่า ราคาทุนรวมประมาณ 124.6 ล้านบาท บริษัทไม่ได้บันทึกค่าเผื่อผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง จากการลดลงของมูลค่าเงินลงทุนดังกล่าว เนื่องจากบริษัทเชื่อว่าการลดลงของราคาหุ้นในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เกิดขึ้นในช่วงสิ้นงวดมีลักษณะเป็นการชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งมีสาเหตุ มาจากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัท ล็อกซเล่ย์ ฮิตาชิ เคเบิ้ล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และเงินลงทุน ในบริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตามวิธีส่วนได้เสีย ต่อมาในปี 2540 และ 2539 บริษัทได้ขายเงินลงทุนของบริษัทดังกล่าวส่วนหนึ่งซึ่งมีผลทำให้อัตราส่วน การถือครองหุ้นในบริษัทดังกล่าวไม่ถึงร้อยละ 20 บริษัทจึงเปลี่ยนวิธีการบันทึกเงินลงทุนจากเดิม ไปใช้วิธีบันทึกบัญชีตามราคาทุน โดยถือเอายอดคงเหลือในบัญชีตามวิธีส่วนได้เสียที่คงเหลืออยู่ เป็นราคาทุนของเงินลงทุน 6. หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ จำหน่ายในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบ เท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพหรือไถ่ถอนเท่า กับ 2,455 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 เมษายน 2548 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของ บริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 500 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548 หรือใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไข และข้อกำหนดบางประการตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอน หุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2541 จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มต่าง ๆ กันรวมเป็นหุ้นละ 1,237 หรือ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ขึ้นกับระยะเวลาที่ไถ่ถอน ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการที่ระบุไว้ใน หนังสือชี้ชวน - 11 - ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2539 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตราต่าง ประเทศจำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มเติมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 105 ล้าน เหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 105,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐ อเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่ เมื่อครบกำหนดแปลง สภาพเท่ากับ 2,646 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ ถอนในวันที่ 4 เมษายน 2544 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้น กู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 450 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2544 นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บาง ส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 จนถึงวันที่ 3 เมษายน 2544 ในราคา บวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,210 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2543 และ 1,272 เหรียญ สหรัฐอเมริกา ในปี 2544 ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2538 ผู้ถือหุ้นมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท (แบ่งเป็น 40 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และ ต่อมาได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่า หุ้นละ 10 บาท) โดยให้สำรองหุ้นสามัญจำนวนรวม 12 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้เพื่อรองรับการใช้สิทธิใน การแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้จดทะเบียนมติเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2538 และวันที่ 20 มีนาคม 2539 ตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ราคาตลาดของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทั่วไปรวมทั้งของบริษัทตกต่ำอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่นำหุ้นกู้มาแปลง สภาพตามจำนวนที่ประมาณไว้ทั้งหมด ดังนั้น บริษัทจึงถือเป็นนโยบายที่จะบันทึกตั้งสำรองค่าใช้ จ่ายทางการเงินสำหรับส่วนเพิ่มที่จะต้องจ่ายหากผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดในอัตรา ร้อยละ 80 ของส่วนเพิ่มทั้งหมดที่ต้องจ่าย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ทั้งหมดใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด โดยเฉลี่ยตามระยะเวลาที่ให้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด ฝ่ายบริหารเชื่อว่าสำรองจำนวนดังกล่าว เพียงพอ เนื่องจากราคาตลาดของหุ้นสามัญของบริษัทในปัจจุบันเป็นราคาในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยอยู่ในภาวะตกต่ำผิดปกติและช่วงเวลาของการใช้สิทธิแปลงสภาพก่อนกำหนดที่จะ มีผลใช้บังคับยังมีเวลาอีกประมาณ 2 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1 และ 3 ปี สำหรับหุ้นกู้ แปลงภาพครั้งที่ 2 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 สำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินดังกล่าวมีจำนวนเงิน รวมทั้งสิ้นประมาณ 927.7 ล้านบาท - 12 - 7. กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการเปลี่ยน ระบบอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ผลจากการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมาเป็นระบบอัตราแลก เปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ทำให้บริษัทและ บริษัทย่อยมีผลกำไรสุทธิจากการชำระหนี้สินและรับชำระทรัพย์สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศใน ระหว่างงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2541 และจากการแปลงค่าหนี้สินสุทธิที่เป็นเงินตรา ต่างประเทศ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 โดยการใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าวเป็นจำนวน รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,776.4 ล้านบาท สำหรับงบการเงินระหว่างกาลรวม และ 1,788.9 ล้านบาท สำหรับงบการเงินระหว่างกาลเฉพาะบริษัทซึ่งได้แสดงแยกเป็นรายการต่างหากใน งบกำไรขาดทุนสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2541 8. สัญญา ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 และ 2540 ก) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมค้ากับบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ไอบีเอ็ม เวิลด์เทรด คอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อเข้า ร่วมดำเนินการจัดหาระบบเบ็ดเสร็จสำหรับโครงการบันทึกข้อมูลภาษีด้วยคอมพิวเตอร์กับกรม สรรพากรในมูลค่าตามสัญญารวม 1,814 ล้านบาท ซึ่งบริษัทย่อยดังกล่าวรับผิดชอบใน อัตราร้อยละ 44.738 ของผลได้ผลเสียอันเกิดจากกิจการร่วมค้า ข) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) โดยได้รับ สัมปทานการให้บริการวิทยุติดตามตัวภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา ภายใต้เงื่อนไข ของสัญญา บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์การสื่อสารให้องค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยมีสิทธิใช้อุปกรณ์ดังกล่าวตลอดอายุของสัมปทานและต้องจ่าย ผลประโยชน์ให้กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยปีละ 1 ล้านบาท บริษัทย่อยได้มอบ หนังสือค้ำประกันธนาคารเป็นจำนวนเงิน 141.1 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันแก่องค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย ส่วนหนึ่งของหนังสือค้ำประกันธนาคารนี้ค้ำประกันโดยเงินฝาก ประจำจำนวนเงินประมาณ 23.4 ล้านบาท - 13 - ค) บริษัทย่อยสองแห่งมีสัญญาร่วมลงทุนในการให้บริการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร แห่งประเทศไทย (กสท.) ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่ จะต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุม ตลอดจนบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ตามที่ตกลง ในสัญญา นอกจากนี้บริษัทย่อยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวให้ แก่ กสท. นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลาสิบ (10) ปี เริ่มตั้งแต่วันแรกที่เปิดบริการโดยบริษัท ย่อยไม่มีสิทธิเลิกสัญญาเว้นแต่จะเข้ากรณีตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ในการนี้บริษัทย่อยมี สิทธิที่จะเรียกเก็บค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ จากผู้ใช้บริการตามที่ระบุไว้ในสัญญา ง) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมค้ากับหน่วยงานราชการของต่างประเทศแห่งหนึ่งเพื่อวาง ระบบและให้บริการด้านโทรคมนาคมในพื้นที่ที่ตกลงกัน ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญา ดังกล่าว บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุมตลอดจนบำรุง รักษาระบบและอุปกรณ์การโทรคมนาคมดังกล่าวตามที่ตกลงในสัญญา นอกจากนี้ บริษัทจะ ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในระบบและอุปกรณ์โทรคมนาคมดังกล่าวให้กับหน่วยงานราชการที่เป็นคู่ สัญญาในวันที่สิ้นสุดระยะเวลาสัมปทาน จ) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาให้บริการเป็นศูนย์บริการรับสั่งอาหารกับบริษัทในประเทศ บางแห่ง สัญญาดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาห้า (5) ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2540 โดยไม่มีสิทธิเลิกสัญญา เว้นแต่จะเข้ากรณีเลิกสัญญาตามที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยบริษัท จะได้รับค่าตอบแทนตามที่ระบุไว้ในสัญญา ฉ) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาในการเป็นตัวแทนจำหน่ายและจ่ายรางวัลสลากบำรุงการกุศล แบบอัตโนมัติกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญา ดังกล่าว บริษัทมีภาระผูกพันต่าง ๆ เช่น จะต้องจัดหาและติดตั้งเครื่องจำหน่ายสลากอัตโนมัติ และจะ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กำหนดในสัญญา อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมิได้ดำเนินการติด ตั้งอุปกรณ์จำหน่ายสลากดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากรัฐบาลได้ชะลอโครงการจัดจำหน่าย สลากการกุศลแบบอัตโนมัติไว้ชั่วคราวเพื่อสำรวจประชามติของประชาชนที่มีต่อโครงการ ดังกล่าวและอยู่ในระหว่างการเจรจาต่อรองเงื่อนไขต่างๆเพิ่มเติมกับสำนักงานสลากกินแบ่ง รัฐบาล ฝ่ายบริหารของบริษัทย่อยเชื่อว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถดำเนินการต่อไปได้จึง ไม่ได้บันทึกผลเสียหายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นหากถูกระงับโครงการไว้ในบัญชี - 14 - สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลาสิบ (10) ปี โดยบริษัทย่อยจะยกเลิกสัญญาได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น ในระหว่างอายุของสัญญาบริษัทมีสิทธิที่จะได้รับ ส่วนแบ่งจากการจำหน่ายสลากดังกล่าวตามที่ระบุในสัญญา 9. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ณ วันที่ 31 มีนาคม ก. บริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งมีเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังไม่ได้ใช้เป็นจำนวนเงินรวมประมาณ 925 ล้านบาท (580 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2541 และ 1,865 ล้านบาท (1,348 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2540 ข. บริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการประกันการประมูล งานกับลูกค้าเป็นจำนวนเงินรวมประมาณ 2,056 ล้านบาท (981 ล้านบาท เฉพาะของ บริษัท) ในปี 2541 และ 1,715 ล้านบาท (784 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2540 ซึ่งบริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งได้ให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันเพื่อค้ำประกันการ ประมูลงานดังกล่าว ค. บริษัทและบริษัทย่อยมีภาระผูกพันภายใต้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับ ธนาคารบางแห่งเป็นจำนวนเงินรวมเทียบเท่าประมาณ 1,151 ล้านบาท (1,135 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2541 และ 7 ล้านบาท (7 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2540 ง. บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการค้ำประกันกับธนาคารให้กับ กิจการร่วมค้าเป็นจำนวนเงินประมาณ 133 ล้านบาท ในปี 2540 10. การจัดประเภทบัญชีใหม่ รายการบัญชีบางรายการในงบการเงินระหว่างกาลของปี 2540 ได้จัดประเภทใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการแสดงรายการในงบการเงินระหว่าง กาลของปี 2541