ารเงินระหว่างกาล บมจ.ล็อกซเล่ย์ และบริษัทย่อย (ต่อ2)

31 สิงหาคม 2541
- 12 - 9. หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ จำหน่ายในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือ เทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพหรือ ไถ่ถอนเท่ากับ 2,455 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ ถอนในวันที่ 20 เมษายน 2548 อย่างไรก็ตามผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้น สามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 500 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548 หรือใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ต้อง เข้าเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้ สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2541 จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วนเพิ่มต่าง ๆ กันรวมเป็นหุ้นละ 1,237 หรือ 1,310 เหรียญสหรัฐ อเมริกาขึ้นกับระยะเวลาที่ไถ่ถอน ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการ ที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2539 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตรา ต่างประเทศจำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มเติมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 105 ล้าน เหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่งเป็น 105,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐ อเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่ เมื่อครบกำหนดแปลง สภาพเท่ากับ 2,646 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ ถอนในวันที่ 4 เมษายน 2544 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้น สามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้นละ 450 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2544 นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บาง ส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 จนถึงวันที่ 3 เมษายน 2544 ในราคา บวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,210 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2543 และ 1,272 เหรียญ สหรัฐอเมริกา ในปี 2544 ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ระบุไว้ในหนังสือ ชี้ชวน - 13 - เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2538 ผู้ถือหุ้นมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท (แบ่งเป็น 40 ล้าน หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท)เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และ ต่อมาได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่า หุ้นละ 10 บาท) โดยให้สำรองหุ้นสามัญจำนวนรวม 12 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้เพื่อรองรับการใช้สิทธิใน การแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้จดทะเบียนมติเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2538 และวันที่ 20 มีนาคม 2539 ตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ราคาตลาดของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทั่วไปรวมทั้งของบริษัทตกต่ำอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่นำหุ้นกู้มาแปลง สภาพตามจำนวนที่ประมาณไว้ทั้งหมด ดังนั้น บริษัทจึงถือเป็นนโยบายที่จะบันทึกตั้งสำรองค่าใช้ จ่ายทางการเงินสำหรับส่วนเพิ่มที่จะต้องจ่ายหากผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดในอัตรา ร้อยละ 80 ของส่วนเพิ่มทั้งหมดที่ต้องจ่าย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ทั้งหมดใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด โดยเฉลี่ยตามระยะเวลาที่ให้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด ฝ่ายบริหารเชื่อว่าสำรองจำนวนดังกล่าว เพียงพอ เนื่องจากราคาตลาดของหุ้นสามัญของบริษัทในปัจจุบันเป็นราคาในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยอยู่ในภาวะตกต่ำผิดปกติและช่วงเวลาของการใช้สิทธิแปลงสภาพก่อนกำหนดที่จะ มีผลใช้บังคับยังมีเวลาอีกประมาณ 2 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1 และ 3 ปี สำหรับหุ้นกู้ แปลงสภาพครั้งที่ 2 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 สำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินดังกล่าวมี จำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,112.5 ล้านบาท 10. กำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการเปลี่ยน ระบบอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ผลจากการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมาเป็นระบบอัตราแลก เปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ทำให้บริษัทและ บริษัทย่อยมีผลกำไรขาดทุนสุทธิจากการชำระหนี้สินและรับชำระทรัพย์สินที่เป็นเงินตรา ต่าง ประเทศในระหว่างงวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และจากการ แปลงค่าหนี้สินสุทธิที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยการใช้อัตรา แลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าวเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 759.8 ล้านบาท (ขาดทุน) และ 1,016.6 ล้านบาท (กำไร) สำหรับงบการเงินระหว่างกาลรวมและ 774.8 ล้านบาท (ขาดทุน) และ 1,014.1 ล้านบาท (กำไร) สำหรับงบการเงินระหว่างกาลเฉพาะบริษัทซึ่งได้แสดงแยกเป็น รายการต่างหากในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวดสามเดือนและหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2541 - 14 - 11. สัญญา ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 และ 2540 ก) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมค้ากับบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ไอบีเอ็ม เวิลด์เทรด คอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อเข้าร่วม ดำเนินการจัดหาระบบเบ็ดเสร็จสำหรับโครงการบันทึกข้อมูลภาษีด้วยคอมพิวเตอร์กับกรม สรรพากรในมูลค่าตามสัญญารวม 1,814 ล้านบาท ซึ่งบริษัทย่อยดังกล่าวรับผิดชอบใน อัตราร้อยละ 44.738 ของผลได้ผลเสียอันเกิดจากกิจการร่วมค้า ข) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) โดยได้รับ สัมปทานการให้บริการวิทยุติดตามตัวภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา ภายใต้เงื่อนไข ของสัญญา บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์การสื่อสารให้องค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยมีสิทธิใช้อุปกรณ์ดังกล่าวตลอดอายุของสัมปทานและต้องจ่าย ผลประโยชน์ให้กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยปีละ 1 ล้านบาท บริษัทย่อยได้มอบ หนังสือค้ำประกันธนาคารเป็นจำนวนเงิน 141.1 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันแก่องค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย ส่วนหนึ่งของหนังสือค้ำประกันธนาคารนี้ค้ำประกันโดยเงินฝาก ประจำจำนวนเงินประมาณ 23.4 ล้านบาท ค) บริษัทย่อยสองแห่งมีสัญญาร่วมลงทุนในการให้บริการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร แห่งประเทศไทย (กสท.) ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่ จะต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุม ตลอดจนบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ตามที่ตกลง ในสัญญา นอกจากนี้บริษัทย่อยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่ กสท. นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลาสิบ (10) ปี เริ่มตั้งแต่วันแรกที่เปิดบริการโดยบริษัท ย่อยไม่มีสิทธิเลิกสัญญาเว้นแต่จะเข้ากรณีตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ในการนี้บริษัทย่อยมี สิทธิที่จะเรียกเก็บค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่นๆ จากผู้ใช้บริการตามที่ระบุไว้ในสัญญา - 15 - ง) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมลงทุนในการให้บริการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่าน ดาวเทียมกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุมตลอดจนบำรุงรักษา เครื่องมือและอุปกรณ์ตามที่ตกลงในสัญญา นอกจากนี้บริษัทย่อยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ใน เครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่ กสท. นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลายี่สิบสอง (22) ปี เริ่มตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการหรือ ครบกำหนดสิบสอง (12) เดือนนับตั้งแต่วันที่ในสัญญาแล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน โดยบริษัทย่อยไม่มีสิทธิเลิกสัญญาเว้นแต่จะเข้ากรณีตามที่กำหนดในสัญญา ในการนี้ บริษัทย่อยมีสิทธิที่จะเรียกเก็บค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ จากผู้ใช้บริการตามที่ระบุ ไว้ในสัญญา จ) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมค้ากับหน่วยงานราชการของต่างประเทศแห่งหนึ่งเพื่อ วางระบบและให้บริการด้านโทรคมนาคมในพื้นที่ที่ตกลงกัน ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญา ดังกล่าว บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุมตลอดจนบำรุง รักษาระบบและอุปกรณ์การโทรคมนาคมดังกล่าวตามที่ตกลงในสัญญา นอกจากนี้ บริษัท จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในระบบและอุปกรณ์โทรคมนาคมดังกล่าวให้กับหน่วยงานราชการ ที่เป็นคู่สัญญาในวันที่สิ้นสุดระยะเวลาสัมปทาน ฉ) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาให้บริการเป็นศูนย์บริการรับสั่งอาหารกับบริษัทในประเทศ บางแห่ง สัญญาดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาห้า (5) ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2540 โดยไม่มีสิทธิเลิกสัญญา เว้นแต่จะเข้ากรณีเลิกสัญญาตามที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยบริษัท จะได้รับค่าตอบแทนตามที่ระบุไว้ในสัญญา ช) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาในการเป็นตัวแทนจำหน่ายและจ่ายรางวัลสลากบำรุงการกุศล แบบอัตโนมัติกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว บริษัท มีภาระผูกพันต่าง ๆ เช่น การจัดหาและติดตั้งเครื่องจำหน่ายสลากอัตโนมัติ และจะต้อง ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดในสัญญา อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมิได้ดำเนินการติดตั้ง อุปกรณ์จำหน่ายสลากดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากอยู่ในระหว่างการเจรจาต่อรองเงื่อนไข ต่าง ๆ เพิ่มเติมกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ฝ่ายบริหารของบริษัทย่อยเชื่อว่าโครงการ ดังกล่าวจะสามารถดำเนินการต่อไปได้จึงไม่ได้บันทึกผลเสียหายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น - 16 - สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลาสิบ (10) ปี โดยบริษัทย่อยจะยกเลิกสัญญาได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น ในระหว่างอายุของสัญญาบริษัทมีสิทธิที่จะได้รับ ส่วนแบ่งจากการจำหน่ายสลากดังกล่าวตามที่ระบุในสัญญา 12. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ณ วันที่ 30 มิถุนายน ก. บริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งมีเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังไม่ได้ใช้เป็นจำนวนเงินรวมประมาณ 509 ล้านบาท (270 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2541 และ 2,092 ล้านบาท (1,551 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2540 ข. บริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าจากการประกันการประมูลงาน กับลูกค้าเป็นจำนวนเงินรวมประมาณ 762 ล้านบาท (262 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2541 และ 1,797 ล้านบาท (816 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2540 ซึ่งบริษัทและบริษัทย่อยบางแห่งได้ให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันเพื่อค้ำประกันการ ประมูลงานดังกล่าว ค. บริษัทและบริษัทย่อยมีภาระผูกพันภายใต้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้ากับ ธนาคารบางแห่งเป็นจำนวนเงินรวมเทียบเท่าประมาณ 311 ล้านบาท (310 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2541 และ 238 ล้านบาท (238 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) ในปี 2540 13. การแก้ไขปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์สำหรับปี ค.ศ. 2000 (ยังไม่ได้สอบทาน) บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องเตรียมการเพื่อรองรับปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ปี ค.ศ. 2000 ต้นทุนที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงความไม่แน่นอนที่อาจมีต่อบริษัทแต่ละแห่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบฮาร์ดแวร์และลักษณะอุตสาหกรรมของแต่ละบริษัท เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทอาจจำเป็นต้องร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ด้วย หากบริษัทและองค์กร เหล่านั้นมีรายการที่เกี่ยวข้องกันผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีที่บริษัทต่าง ๆ ไม่สามารถ ปรับปรุงระบบงานเพื่อรองรับปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ปี ค.ศ. 2000 ให้แล้วเสร็จภายในเวลา ที่เหมาะสม บริษัทเหล่านั้นอาจต้องเผชิญกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างมีสาระสำคัญ - 17 - บริษัทจึงได้ให้พนักงานในแผนกคอมพิวเตอร์ศึกษาแนวทางและเริ่มดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2540 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2541 การแก้ไขปรับปรุงดังกล่าวเสร็จประมาณร้อยละ 80 ของการแก้ไขปรับปรุง ทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะเสร็จในเดือนธันวาคม 2541 และจะมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการปรับปรุงระบบ คอมพิวเตอร์นี้เป็นจำนวนเงินประมาณ 1 ล้านบาท โดยบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดขึ้น แม้ว่าบริษัทคาดว่าจะสามารถทำการแก้ไขปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ ได้ทันเมื่อถึงปี ค.ศ. 2000 บริษัทยังคงมีความเสี่ยงต่อการที่บริษัทอื่นที่บริษัทดำเนินธุรกิจด้วยไม่สามารถแก้ไขปรับปรุง ระบบได้ทันกาล อย่างไรก็ดี บริษัทคาดว่าผลกระทบดังกล่าวจะไม่มีนัยสำคัญต่อผลการดำเนินงาน ของบริษัท 14. การจัดประเภทบัญชีใหม่ รายการบัญชีบางรายการในงบการเงินระหว่างกาลของปี 2540 ได้จัดประเภทใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการแสดงรายการในงบการเงินระหว่างกาลของปี 2541