การเงินระหว่างกาลสำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือน ปี 2541

01 ธันวาคม 2541
ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น (ขาดทุนสะสมเกินทุน) สำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2541 และ 2540 พันบาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2541 2540 2541 2540 ทุนหุ้นสามัญ (หมายเหตุ 10) ยอดต้นงวด 400,000 400,000 400,000 400,000 เพิ่มระหว่างงวด - - - - ยอดสิ้นงวด 400,000 400,000 400,000 400,000 ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ยอดต้นงวด 1,485,000 1,485,000 1,485,000 1,485,000 เพิ่มระหว่างงวด - - - - ยอดสิ้นงวด 1,485,000 1,485,000 1,485,000 1,485,000 ส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดิน (หมายเหตุ 4.2) 205,482 - 205,482 - กำไรสะสม (ขาดทุนสะสม) จัดสรรแล้ว ทุนสำรอง ยอดต้นงวด 52,000 52,000 52,000 52,000 เพิ่มระหว่างงวด - - - - ยอดสิ้นงวด 52,000 52,000 52,000 52,000 ที่ยังไม่ได้จัดสรร ยอดต้นงวด (2,876,179) 1,300,451 (2,772,921) 1,357,158 กำไร(ขาดทุน) สุทธิสำหรับงวด 1,258,225 (1,662,010) 1,292,793 (1,666,178) เงินสดปันผลจ่าย - (120,000) - (120,000) ยอดสิ้นงวด (1,617,954) (481,559) (1,480,128) (429,020) ค่าเผื่อผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการลดลง ของมูลค่าเงินลงทุนระยะยาวในหลักทรัพย์ จดทะเบียน (หมายเหตุ 7) (1,130,532) - (1,130,532) - ผลสะสมของการปรับปรุงที่เกิดจากการแปลงค่า งบการเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ (105,964) (193) (105,964) - รวมส่วนของผู้ถือหุ้น (ขาดทุนสะสมเกินทุน)(711,968) 1,455,248 (574,142) 1,507,980 โปรดดูรายงานการสอบทานของนายวิเชียร ธรรมตระกูล ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2541 และหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล วันที่ 30 กันยายน 2541 และ 2540 1. ผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ งบการเงินระหว่างกาลสำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2541 นี้ได้รวมผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินที่มีต่อบริษัท บริษัทย่อยและบริษัทร่วม เท่าที่บริษัทดังกล่าวทราบและสามารถประมาณการได้ วิกฤติการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากความผัน ผวนของค่าเงินตราสกุลต่าง ๆ ของประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค ตลาดหุ้น อัตรา ดอกเบี้ย และภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ซบเซาและถดถอยอย่างต่อเนื่องในปี 2540 ถึงปัจจุบัน ภาวะ วิกฤติดังกล่าวยังคงมีอยู่และอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท บริษัทย่อยและบริษัทร่วม อย่างต่อเนื่องต่อไปอีกในอนาคต ผลที่สุดของความไม่แน่นอนในอนาคตยังไม่สามารถทราบได้ใน ปัจจุบันงบการเงินระหว่างกาลสำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2541 นี้ จึงไม่ได้รวมรายการปรับปรุงที่อาจมีขึ้นจากผลของความไม่แน่นอนในอนาคต ดังกล่าว อย่างไร ก็ดี บริษัทดังกล่าวจะรายงานผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไว้ในงบการเงิน เมื่อทราบและ สามารถประมาณการได้ 2. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินระหว่างกาลรวม งบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ได้รวมบัญชีของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ต่าง ๆ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อมหรือ บริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม ดังต่อไปนี้ อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 2540 ทางตรง ทางอ้อม ทางตรง ทางอ้อม บริษัทย่อย บริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด 99 - 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ เมียนมาร์ จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 99 - - 2 - อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 2540 ทางตรง ทางอ้อม ทางตรง ทางอ้อม บริษัท ล็อกซเล่ย์ ไวร์เลส จำกัด 99 - 99 - บริษัท จาโก จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ พลังงาน จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 45 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทีลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด 90 - 90 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ คอมแวร์ จำกัด 70 - 70 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ นิวเท็ค จำกัด 67 - 67 - บริษัท การค้าลาว จำกัด 67 - 67 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ แปซิฟิค จำกัด 63 - 70 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาสท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด 60 - 60 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟรา จำกัด 60 - 60 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด 55 - 55 - บริษัท ล็อกซ์ดาต้า จำกัด 52 - 52 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ แซทเทลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 51 - 51 - บริษัท โปรเฟสชั่นนัล คอมพิวเตอร์ จำกัด - 99 - 99 บริษัท เน็ทวัน เน็ทเวิร์ค โซลูชั่น จำกัด - 98 49 - บริษัท โอเพ่น ซิสเต็มส์ อินทิเกรเตอร์ จำกัด - 83 67 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น จำกัด - 65 65 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด - 65 65 - บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์(ประเทศไทย)จำกัด - 55 - 55 - 3 - อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 2540 ทางตรง ทางอ้อม ทางตรง ทางอ้อม บริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด 50 - 50 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 40 - 40 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์กราฟ (ประเทศไทย) จำกัด - - - 50 บริษัท ไดนามิค อินทิเกรเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด - - - 50 บริษัท นอร์ธ-อีสท์ เอเซีย เทเลโฟน แอนท์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด - 44 - 49 บริษัท ล็อกซเล่ย์ วีดีโอ โพสต์ (กรุงเทพ) จำกัด - 31 - 31 รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยต่างๆ ดังกล่าว ข้างต้นได้แสดงหักกลบลบกันในงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้แล้ว ในเดือนสิงหาคม 2540 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ซื้อหุ้นทุนของฮัทชิสันทั้งหมดจากบริษัท และผู้ถือหุ้นรายอื่น ในการนี้ บริษัทย่อยดังกล่าวต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของ บริษัทดังกล่าว โดยแสดงไว้ในบัญชี เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ ภายใต้สินทรัพย์ อื่น ซึ่งบริษัทย่อยตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ 8 ปี ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วัน ที่ 30 กันยายน 2541 มีจำนวนเงินประมาณ 75.3 ล้านบาท บริษัทได้นำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งบริษัทลงทุนไว้ร้อยละ 50 ในเดือนพฤษภาคม 2537 มารวมในการจัดทำ งบการเงินรวมด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีอำนาจในการควบคุม ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้นของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัทได้จ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว บริษัทบันทึกผล ต่างดังกล่าวไว้ในบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชี เป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมีจำนวน เงินประมาณ 37 ล้านบาท - 4 - ในระหว่างไตรมาสที่สามของปี 2539 บริษัทได้เข้าลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทิลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด จำนวนร้อยละ 90 ในการนี้ บริษัทจ่ายเงินค่าหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ของบริษัทดังกล่าว บริษัทบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์ สุทธิ ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ 15 ปี ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 ยอดคงเหลือในบัญชีดังกล่าวที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมีจำนวนเงินประมาณ 50.6 ล้านบาท บริษัทบันทึก เงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทร่วมสำหรับงบการเงินรวมและเงินลงทุนใน หุ้นทุนของบริษัทย่อยและบริษัท ร่วมในงบการเงินเฉพาะบริษัทตามวิธีส่วนได้เสียในกรณีที่บริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมแสดงผลการ ดำเนินงานขาดทุน บริษัทจะหยุดบันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียเมื่อยอดคงเหลือในบัญชีเงินลงทุน ของบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนี้ลดลงเป็นศูนย์ และหลังจากนั้นจะไม่บันทึกรับรู้ส่วนแบ่งผลขาดทุน เพิ่มอีก เนื่องจากบริษัทไม่มีภาระผูกพันหรือค้ำประกันบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วม บริษัทจะกลับมา บันทึกเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียอีกครั้งก็ต่อเมื่อ ในเวลาต่อมาบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนั้นมี กำไรและส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวที่เป็นของบริษัทมีจำนวนเท่ากับส่วนแบ่งผลขาดทุนที่บริษัทยังไม่ได้ บันทึกรับรู้เนื่องจากการหยุดใช้วิธีส่วนได้เสียดังกล่าว 3. กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคำนวณโดยการหารกำไร (ขาดทุน) สุทธิด้วยจำนวนหุ้นที่มี อยู่ ณ วันสิ้นงวด บริษัทได้แสดงกำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่เพื่อการเปรียบเทียบ โดยการหารกำไร สุทธิหลังปรับปรุงด้วยดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องจากหุ้นกู้แปลงสภาพด้วยจำนวนหุ้นสามัญ ที่มีอยู่ ณ สิ้นงวด (รวมหุ้นซึ่งเทียบเท่าหุ้นสามัญ) จากการใช้สิทธิแปลงสภาพของหุ้นกู้สำหรับงวด 2541 อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้แสดงกำไรต่อหุ้นแบบลดลงเต็มที่ เพื่อการเปรียบเทียบในปี 2540 เนื่องจากเป็นขาดทุนต่อหุ้น - 5 - 4. การเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชี 4.1 ในเดือนธันวาคม 2540 บริษัทเริ่มถือปฏิบัติในการบันทึกภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ซึ่งเกิดจาก ความแตกต่างด้านเวลาในการรายงานรายได้และค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษีอากร โดยเริ่มย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นไป ภาษีเงินได้สำหรับรายการที่ยังถือ เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายไม่ได้ในการคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรบันทึกไว้ในบัญชี ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีในงบดุล ซึ่งจะบันทึกเป็นรายได้หรือตัดบัญชี เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีเมื่อ รายได้หรือค่าใช้จ่ายที่บันทึกไว้เกิดขึ้นจริงหรือถือหักเป็นค่าใช้จ่ายได้แล้วในการคำนวณภาษี เงินได้ ผลจากการบันทึกภาษีเงินได้ตามวิธีดังกล่าวข้างต้นมีผลทำให้กำไรสุทธิสำหรับงวดสาม เดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเงินประมาณ 740.9 ล้านบาท และ 857 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นการบันทึกผลสะสมของภาษีเงินได้รอตัดบัญชี สำหรับความแตกต่างด้านเวลาของงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2540 (เป็นจำนวนเงินประมาณ 740.9 ล้านบาทและ 779.4 ล้านบาท ตามลำดับ)และของปีก่อนๆ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2539 (เป็นจำนวนเงินประมาณ 77.6 ล้านบาท) ยอดคงเหลือของบัญชี ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ในงบดุลรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 ได้รวมภาษีเงินได้รอตัดบัญชีของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งจำนวนเงินประมาณ 1.9 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทย่อยดังกล่าวได้เริ่มถือปฏิบัติในการบันทึกภาษีเงินได้รอตัดบัญชีซึ่งเกิดจากความ แตกต่างด้านเวลาในการรายงานรายได้และค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษีอากร โดยให้เริ่ม ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม บริษัทไม่ได้ปรับปรุงผลสะสม ของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในงบการเงินระหว่างกาลรวมของงวดปี 2540 เนื่องจาก ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 บริษัทถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวน้อยกว่าร้อยละ 50 งบการเงินระหว่างกาลของบริษัทย่อยอื่น ๆ ที่รวมอยู่ในงบการเงินระหว่างกาล รวมนี้ไม่ได้ปรับปรุงด้วยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้ อย่างไร ก็ตาม ฝ่ายบริหารเชื่อว่า ผลกระทบดังกล่าวจะไม่เป็นสาระสำคัญต่องบการเงินระหว่างกาล รวมนี้ - 6 - 4.2 ในปี 2540 บริษัทได้ประเมินราคาที่ดินซึ่งเดิมบันทึกบัญชีไว้ในราคาทุนจำนวนเงินประมาณ 48.1 ล้านบาท ด้วยราคาประเมินเป็นจำนวนเงินประมาณ 253.6 ล้านบาท บริษัทประเมิน ราคาที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยข้อมูลที่ได้รับจากบริษัทผู้ประเมินราคาอิสระ ส่วนเกินจากการ ประเมินราคาที่ดินจำนวนประมาณ 205.5 ล้านบาท บันทึกไว้ในบัญชี "ส่วนเกินทุนจากการ ตีราคาที่ดิน" ซึ่งแสดงไว้ภายใต้ "ส่วนของผู้ถือหุ้น" ในงบดุล 5. รายการบัญชีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น ต้นทุนขายและบริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นรายการที่เกิดขึ้นกับบริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันบางแห่ง บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดยมีผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือ ผู้บริหารในตำแหน่งที่สำคัญร่วมกัน งบการเงินระหว่างกาลนี้ได้รวมผลของรายการ ระหว่างบริษัท บริษัทย่อยและบริษัทที่เกี่ยวข้องกันดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามปกติธุรกิจ ยอดคงเหลือ ที่เป็นสาระสำคัญที่มีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 และ 2540 ได้ แสดงแยกไว้ต่างหากในงบดุล รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2541 และ 2540 ซึ่งรวมอยู่ในงบการเงินระหว่างกาลมีดังนี้ พันบาท สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2541 2540 2541 2540 ขายผลิตภัณฑ์และบริการ 31,072 71,606 76,900 105,431 ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 4,590 17,024 6,101 19,670 ต้นทุนขายและบริการ 105,287 45,133 147,357 101,907 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 2,077 - 725 779 - 7 - พันบาท สำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2541 2540 2541 2540 ขายผลิตภัณฑ์และบริการ 119,338 116,030 211,229 493,265 ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 6,374 20,666 19,487 31,176 ต้นทุนขายและบริการ 179,076 310,659 276,482 571,577 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 6,611 - 3,791 3,060 6. ลูกหนี้การค้าและอื่น ๆ ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 บริษัทและบริษัทย่อยมีลูกหนี้การค้าที่เกินกำหนดชำระหนี้ ซึ่งแยกตามอายุหนี้ที่ค้างชำระได้ดังนี้ ล้านบาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท มากกว่า 3 เดือน ถึง 6 เดือน 81.26 13.44 มากกว่า 6 เดือน ถึง 12 เดือน 125.17 40.30 มากกว่า 12 เดือนขึ้นไป 590.37 414.55 รวม 796.80 468.29 บริษัทและบริษัทย่อยตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับงวดสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2541 ไว้เป็นจำนวนเงินประมาณ 288.3 ล้านบาท (186.4 ล้านบาท เฉพาะของบริษัท) จากประสบการณ์ การเก็บเงินที่ผ่านมาฝ่ายบริหารเชื่อว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญดังกล่าวเพียงพอ (ยังมีต่อ)