การเงินระหว่างกาลสำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือน ปี 2541

01 ธันวาคม 2541
- 11 - บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัท ล็อกซเล่ย์ ฮิตาชิ เคเบิ้ล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และเงินลงทุน ในบริษัท ไทยเทเลโฟนแอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตามวิธีส่วนได้เสีย ต่อมาในปี 2540 และ 2539 บริษัทได้ขายเงินลงทุนของบริษัทดังกล่าวส่วนหนึ่งซึ่งมีผลทำให้อัตราส่วนการถือครองหุ้นใน บริษัทดังกล่าว ไม่ถึงร้อยละ 20 บริษัทจึงเปลี่ยนวิธีการบันทึกเงินลงทุนจากเดิมไปใช้วิธีบันทึกบัญชีตาม ราคาทุน โดยถือเอายอดคงเหลือในบัญชีตามวิธีส่วนได้เสียที่คงเหลืออยู่เป็นราคาทุนของเงินลงทุน ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 ราคาตลาดรวมของเงินลงทุนในบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเป็น หลักทรัพย์จดทะเบียนมีมูลค่าต่ำกว่าราคาทุนรวมเป็นจำนวนเงินประมาณ 1,130.5 ล้านบาท ส่วนปรับปรุง มูลค่าดังกล่าวได้แสดงไว้ในบัญชี ค่าเผื่อผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการลดลงของมูลค่าเงินลงทุนระยะ ยาวในหลักทรัพย์จดทะเบียน และแสดงไว้ภายใต้ ส่วนของผู้ถือหุ้น ในงบดุล 8. เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน งบการเงินรวม บัญชีนี้ประกอบด้วย พันบาท อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงิน วัตถุประสงค์ 2541 2540 2541 2540 เงินให้กู้ยืมระยะสั้น หจก.แอล.บี.แอล อัลกาเมดเต็ด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MOR MOR 184,850 184,850 Multimedia Telephony, Inc. (Philippines) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 15.00% 15.00% 91,537 112,452 บริษัท เอกภาวี จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ - 25.00% - 79,495 อื่น ๆ 25,230 38,130 รวมเงินให้กู้ยืมระยะสั้น 301,617 414,927 เงินให้กู้ยืมระยะยาว บริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MLR+0.5% MLR+0.5% 375,000 375,000 บริษัท ไทยเซลลูโลส โปรดักส์ จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MOR+1% MOR+1% 10,400 10,400 บริษัท ล็อกซคอม บี.วี. จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ - 15.00% - 14,118 อื่น ๆ - 4,350 รวมเงินให้กู้ยืมระยะยาว 385,400 403,868 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (10,400) - สุทธิ 375,000 403,868 - 12 - งบการเงินเฉพาะบริษัท บัญชีนี้ประกอบด้วย พันบาท อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงิน วัตถุประสงค์ 2541 2540 2541 2540 เงินให้กู้ยืมระยะสั้น หจก. แอล.บี.แอล อัลกาเมดเต็ด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MOR MOR 184,850 184,850 Multimedia Telephony, Inc. (Philippines) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 15.00% 15.00% 91,537 112,452 อื่น ๆ 42,901 47,342 รวมเงินลงทุนระยะสั้น 319,288 344,644 เงินให้กู้ยืมระยะยาว บริษัท ไทยเทเลโฟนแอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MLR+0.5% MLR+0.5% 375,000 375,000 บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาสท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 15.25% - 18,469 - บริษัท ไทยเซลลูโลส โปรดักส์ จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ MOR+ 1% MOR+ 1% 10,400 10,400 รวมเงินให้กู้ยืมระยะยาว 403,869 385,400 หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (28,869) - สุทธิ 375,000 385,400 9. เงินกู้ยืมและเงินทดรองจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน งบการเงินรวม บัญชีนี้ประกอบด้วย พันบาท อัตราดอกเบี้ย จำนวนเงิน วัตถุประสงค์ 2541 2540 2541 2540 เงินกู้ยืมระยะสั้น บริษัท เอเชีย แปซิฟิค โพสต์ จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 16.00% 15.50% 20,028 10,513 บริษัท ซีทีดับบลิว เบต้า จำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ 15-16.75% - 5,500 - เงินทดรอง กิจการร่วมค้า บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทิลิตี้ เซอร์วิส จำกัด และ หจก. ศิริพงษ์ ก่อสร้าง เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ - - 16,157 - รวมเงินกู้ยืมระยะสั้น และเงินทดรอง 41,685 10,513 - 13 - 10. หุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศ ในระหว่างไตรมาสที่สองของปี 2538 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินต่างประเทศจำหน่าย ในต่างประเทศในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่ง เป็น 100,000 หุ้น โดยมีมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่า เป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพหรือไถ่ถอนเท่ากับ 2,455 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 20 เมษายน 2548 อย่างไรก็ตามผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทใน ราคาแปลงสภาพหุ้นละ 500 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม 2538 ถึงวันที่ 20 มีนาคม 2548 หรือใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคา บวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ต้องเข้าเงื่อนไขและข้อกำหนด บางประการตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือ ทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2541 จนถึงวันที่ 20 เมษายน 2543 ในราคาบวกส่วน เพิ่มต่าง ๆ กันรวมเป็นหุ้นละ 1,237 หรือ 1,310 เหรียญสหรัฐอเมริกาขึ้นกับระยะเวลาที่ไถ่ถอน ทั้งนี้บริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดบางประการ ที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน อย่างไรก็ตาม จนกระทั่งถึงวันที่ 30 กันยายน 2541ไม่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพหรือไถ่ถอนหุ้นกู้ดังกล่าวในระหว่าง ไตรมาสที่สองของปี 2539 บริษัทออกหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตราต่างประเทศจำหน่ายในต่าง ประเทศเพิ่มเติมในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 105 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (แบ่ง เป็น 105,000 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา) หรือเทียบเท่าเป็น เงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่ เมื่อครบกำหนดแปลงสภาพเท่ากับ 2,646 ล้านบาท หุ้นกู้นี้มีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยจะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 4 เมษายน 2544 อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นกู้สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญของบริษัทในราคาแปลงสภาพหุ้น ละ 450 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ในระหว่างวันที่ 4 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2544 นอกจากนี้ บริษัทสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนหรือทั้งหมดก่อนกำหนดได้ตั้งแต่เดือน เมษายน 2542 จนถึงวันที่ 3 เมษายน 2544 ในราคาบวกส่วนเพิ่มแล้วรวมเป็นหุ้นละ 1,210 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2543 และ 1,272 เหรียญสหรัฐอเมริกา ในปี 2544 ทั้งนี้บริษัทต้อง ปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน อย่างไรก็ตาม จนกระทั่งถึงวันที่ 30 กันยายน 2541 ไม่มีการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้ดังกล่าว - 14 - เกี่ยวเนื่องกับการออกหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2538 ผู้ถือหุ้นมีมติให้บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 400 ล้านบาท (แบ่งเป็น 40 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 460 ล้านบาท (แบ่งเป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) และต่อ มาได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2539 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 460 ล้านบาท (แบ่ง เป็น 46 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท) เป็น 520 ล้านบาท (แบ่งเป็น 52 ล้านหุ้น มูลค่า หุ้นละ 10 บาท) โดยให้สำรองหุ้นสามัญจำนวนรวม 12 ล้านหุ้นที่เพิ่มนี้เพื่อรองรับการใช้สิทธิใน การแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ บริษัทได้จดทะเบียนมติเพิ่มทุนดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวัน ที่ 27 มกราคม 2538 และวันที่ 20 มีนาคม 2539 ตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ราคาตลาดของหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทั่วไปรวมทั้งของบริษัทตกต่ำอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่ผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่นำหุ้นกู้มาแปลงสภาพ ตามจำนวนที่ประมาณไว้ทั้งหมด ดังนั้น บริษัทจึงถือเป็นนโยบายที่จะบันทึกตั้งสำรองค่าใช้จ่ายทาง การเงินสำหรับส่วนเพิ่มที่จะต้องจ่ายหากผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดในอัตรา ร้อยละ 80 ของส่วนเพิ่มทั้งหมดที่ต้องจ่าย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ทั้งหมดใช้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนดโดยเฉลี่ยตามระยะ เวลาที่ให้สิทธิไถ่ถอนก่อนกำหนด ฝ่ายบริหารเชื่อว่าสำรองจำนวนดังกล่าวเพียงพอ เนื่องจากราคา ตลาดของหุ้นสามัญของบริษัทในปัจจุบันเป็นราคาในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ในภาวะ ตกต่ำผิดปกติและช่วงเวลาของการใช้สิทธิแปลงสภาพก่อนกำหนดที่จะมีผลใช้บังคับยังมีเวลาอีก ประมาณ 2 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 1 และ 3 ปี สำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพครั้งที่ 2 ณ วัน ที่ 30 กันยายน 2541 สำรองค่าใช้จ่ายทางการเงินดังกล่าวมีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,125.2 ล้านบาท 11. กำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการเปลี่ยน ระบบอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และรายการพิเศษ ผลจากการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยน แบบลอยตัวภายใต้การจัดการ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ทำให้บริษัทและบริษัทย่อยมี ผลกำไรสุทธิจากการชำระหนี้สินและรับชำระทรัพย์สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ในระหว่างงวด สามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2541 และจากการแปลงค่าหนี้สินสุทธิที่เป็นเงิน ตราต่างประเทศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 โดยการใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าว เป็นกำไรจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 671.7 ล้านบาท และ 1,688.4 ล้านบาท สำหรับงบการ เงินระหว่างกาลรวมและ 669.2 ล้านบาท และ 1,683.3 ล้านบาท - 15 - สำหรับงบการเงินระหว่างกาลเฉพาะบริษัทซึ่งได้แสดงแยกเป็นรายการต่างหากในงบกำไร ขาดทุนสำหรับงวดสามเดือนและเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2541 ส่วนผลขาดทุนสำหรับ งวดสามเดือนและเก้าเดือนจากการแปลงค่าหนี้สินสุทธิที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 31 กันยายน 2540 โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าว เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,667.6 ล้านบาท สำหรับงบการเงินระหว่างกาลรวม และ 1,597.8 ล้านบาท สำหรับงบการ เงินระหว่างกาลเฉพาะบริษัท (สุทธิจากภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนเงินประมาณ 685.3 ล้านบาท และ 684.8 ล้านบาท ตามลำดับ) บริษัทและบริษัทย่อยบันทึกรับรู้ผลขาดทุนเป็นรายการ พิเศษตามประกาศฉบับที่ 002/2540-2542 ลงวันที่ 19 กันยายน 2540 ที่ออกโดยสมาคมนักบัญชี และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย 12. สัญญา ณ วันที่ 30 กันยายน 2541 และ 2540 ก) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมค้ากับบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ไอบีเอ็ม เวิลด์เทรด คอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อเข้าร่วม ดำเนินการจัดหาระบบเบ็ดเสร็จสำหรับโครงการบันทึกข้อมูลภาษีด้วยคอมพิวเตอร์กับ กรมสรรพากรในมูลค่าตามสัญญารวม 1,814 ล้านบาท ซึ่งบริษัทย่อยดังกล่าวรับผิดชอบใน อัตราร้อยละ 44.738 ของผลได้ผลเสียอันเกิดจากกิจการร่วมค้า ข) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) โดยได้รับสัมปทาน การให้บริการวิทยุติดตามตัวภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา ภายใต้เงื่อนไขของสัญญา บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์การสื่อสารให้องค์การโทรศัพท์แห่ง ประเทศไทยโดยมีสิทธิใช้อุปกรณ์ดังกล่าวตลอดอายุของสัมปทานและต้องจ่ายผลประโยชน์ให้ กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยปีละ 1 ล้านบาท บริษัทย่อยได้มอบหนังสือค้ำประกัน ธนาคารเป็นจำนวนเงิน 141.1 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันแก่องค์การโทรศัพท์แห่ง ประเทศไทย ส่วนหนึ่งของหนังสือค้ำประกันธนาคารนี้ค้ำประกันโดยเงินฝากประจำจำนวน เงินประมาณ 17.8 ล้านบาท ค) บริษัทย่อยสองแห่งมีสัญญาร่วมลงทุนในการให้บริการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร แห่งประเทศไทย (กสท.) ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว บริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่ จะต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุม ตลอดจนบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ตามที่ตกลง ในสัญญา นอกจากนี้บริษัทย่อยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่ กสท. นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ - 16 - สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลาสิบ (10) ปี เริ่มตั้งแต่วันแรกที่เปิดบริการโดยบริษัทย่อย ไม่มีสิทธิเลิกสัญญาเว้นแต่จะเข้ากรณีตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ในการนี้บริษัทย่อยมีสิทธิที่จะเรียก เก็บค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ จากผู้ใช้บริการตามที่ระบุไว้ในสัญญา ง) บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีสัญญาร่วมลงทุนในการให้บริการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมกับ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ภายใต้ข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าว บริษัทย่อยมีภาระ ผูกพันที่จะต้องลงทุนจัดหา ติดตั้ง และควบคุมตลอดจนบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ตามที่ ตกลงในสัญญา นอกจากนี้บริษัทย่อยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องมือและอุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่ กสท. นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลายี่สิบสอง (22) ปี เริ่มตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการหรือ ครบกำหนดสิบสอง (12) เดือนนับตั้งแต่วันที่ในสัญญาแล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน โดยบริษัทย่อย ไม่มีสิทธิเลิกสัญญาเว้นแต่จะเข้ากรณีตามที่กำหนดในสัญญา ในการนี้ บริษัทย่อยมีสิทธิที่จะเรียก เก็บค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ จากผู้ใช้บริการตามที่ระบุไว้ในสัญญา (ยังมีต่อ)