การเงินและงบการเงินรวมประจำปี สิ้นสุด 31 ธ.ค. 2542

29 กุมภาพันธ์ 2543
- การค้าเพิ่มขึ้น (ลดลง) (56,614,868) 34,239,510 (7,842,986) (28,833,159) เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น (ลดลง) 126,029,236 (290,345,797) 74,254,139 (122,327,796) เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้าเพิ่มขึ้น 91,566,785 70,383,064 26,466,175 24,164,923 ภาษีเงินได้ค้างจ่ายเพิ่มขึ้น (ลดลง) (10,260,539) 23,170,054 - - เงินทุนเลี้ยงชีพที่พนักงานจ่ายสมทบ ลดลง (14,398,395) (43,113,953) (11,881,604) (33,851,457) หนี้สินหมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น 54,468,928 55,609,420 119,377,768 29,216,477 หนี้สินอื่นเพิ่มขึ้น (ลดลง) 36,580,215 (13,266,867) - - เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรม ดำเนินงาน (126,937,159) 1,182,149,731 (262,628,177) 440,270,092 กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วมและ บริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้น (209,620,400) (14,438,421) (164,800,000) (166,562,900) เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ลดลง (เพิ่มขึ้น) (94,966,721) 71,960,976 (108,233,360) (2,697,907) ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในกำไรสุทธิ ของบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น 28,260,665 14,587,349 - - เงินลงทุนในบริษัทย่อยที่จ่ายสูงกว่า มูลค่าตามบัญชี - (2,599,731) - - สินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น (277,677,821) (211,910,253) (60,622,769) (48,904,540) - 3 - บา ท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2542 2541 2542 2541 (ปรับปรุงใหม่) (ปรับปรุงใหม่) เงินสดปันผลรับจากบริษัทร่วม 364,623,281 227,510,166 364,623,281 227,510,166 เงินสดรับจากการเพิ่มทุนในบริษัทย่อย 138,442,979 - - - เงินสดรับจากการจำหน่ายเงินลงทุน 40,175,809 151,796,500 11,320,809 284,596,500 เงินสดรับจากการจำหน่าย สินทรัพย์ถาวร 56,238,297 31,558,482 17,840,146 7,864,413 เงินสดสุทธิได้มาจาก กิจกรรมลงทุน 45,476,089 268,465,068 60,128,107 301,805,732 กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน (ลดลง) เพิ่มขึ้น (75,973,042) (651,790,122) 8,226,928 (230,143,590) เงินกู้ยืมจากกรรมการเพิ่มขึ้น 2,188,962 11,394,340 - - เงินกู้ยืมระยะยาวลดลง (16,664,000) (44,879,382) - - เงินกู้ยืมจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกันลดลง (33,084,173) (82,707,191) - - เงินสดสุทธิ ได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรม จัดหาเงิน (123,532,253) (767,982,355) 8,226,928 (230,143,590) เงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น (ลดลง) (204,993,323) 682,632,444 (194,273,142) 511,932,234 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี 1,662,895,584 980,263,140 1,515,167,341 1,003,235,107 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นปี 1,457,902,261 1,662,895,584 1,320,894,199 1,515,167,341 ข้อมูลงบกระแสเงินสดเปิดเผยเพิ่มเติม เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ประกอบด้วย เงินสดและเงินฝากธนาคาร (ไม่รวมเงินฝากประจำที่ใช้เป็น หลักทรัพย์ค้ำประกัน) 449,750,474 444,101,088 101,442,883 159,227,323 เงินลงทุนระยะสั้น 1,320,363,466 1,512,306,683 1,222,952,726 1,366,887,264 เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร (312,211,679) (293,512,187) (3,501,410) (10,947,246) 1,457,902,261 1,662,895,584 1,320,894,199 1,515,167,341 เงินสดจ่ายในระหว่างปี ดอกเบี้ยจ่าย 166,161,695 623,592,909 31,434,444 408,323,847 ภาษีเงินได้และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 74,531,452 62,875,614 13,524,079 22,404,030 โปรดดูรายงานการสอบบัญชีของนายวิเชียร ธรรมตระกูล ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543 และหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน วันที่ 31 ธันวาคม 2542 และ 2541 1. เรื่องทั่วไป บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในปี 2482 และได้ จดทะเบียนเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2537 สำนักงานของบริษัท ตั้งอยู่เลขที่ 102 ถนน ณ ระนอง เขตคลองเตย จังหวัด กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย บริษัทดำเนินธุรกิจหลักในด้านการซื้อมาขายไปรวมทั้งการขายอุปกรณ์ระบบโทรคมนาคม และระบบอื่นๆ พร้อมติดตั้ง บริษัทย่อยที่มีกิจกรรมทางธุรกิจดำเนินธุรกิจหลักในด้านการขายและ ให้บริการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ท จำนวนพนักงานของบริษัท ณ วันสิ้นปีมีจำนวน 1,178 คน ในปี 2542 และ 1,410 คน ในปี 2541 2. ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ งบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2542 ที่เสนอนี้ได้จัดทำขึ้นโดยถือ ปฏิบัติตามข้อสมมติฐานทางบัญชีที่ว่าบริษัทจะดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่อง และได้รวมผลกระทบ จากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีต่อบริษัทเท่าที่ฝ่ายบริหารทราบ กฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและ ความผันผวนของค่าเงินบาทที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางปี 2540 ยังคงมีผลต่อการดำเนินงานของบริษัท และบริษัทย่อยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้มีหนังสือแจ้งการยกเลิกสัญญาการ ดำเนินพาณิชยกิจกับหน่วยงานรัฐบาลแห่งหนึ่งเนื่องจากหน่วยงานดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติตาม เงื่อนไขบางประการในสัญญา ในขณะนี้บริษัทย่อยดังกล่าวอยู่ในระหว่างดำเนินการทางกฎหมาย เพื่อเรียกชดเชยค่าเสียหายจากโครงการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม บริษัทย่อยได้ตัดจำหน่ายผลขาด ทุนในโครงการดังกล่าวทั้งจำนวนแล้ว แม้ว่าในรอบบัญชีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันความผันผวนของ ค่าเงินบาทได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น มีการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมและสถาบันการเงิน ในประเทศปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคธุรกิจเอกชนมากขึ้นก็ตาม แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ โดยทั่วไปในภูมิภาคนี้ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นไปได้ช้า อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารของบริษัทได้กำหนดแผนงานและมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับผลกระทบ จากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจนี้ เช่น - 2 - ก) การสอบทานเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการตามโครงการลงทุนต่าง ๆ ต่อไป ข) การเจรจาขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตราต่างประเทศจากกลุ่ม ผู้ถือหุ้นกู้ ค) มีมาตรการที่จะลดการถือครองเงินลงทุนในธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักของบริษัท ง) การกำหนดวิธีการควบคุมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดค่าใช้จ่ายในเวลา เดียวกัน ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในประเทศและภาคพื้นเอเชียแปซิฟิคส่งผลกระทบต่อการ ดำเนินงานของบริษัทและบริษัทย่อย ภาวะการณ์ดังกล่าวอาจเกิดต่อเนื่องและอาจส่งผลกระทบต่อ การดำเนินงานต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศ ทำให้ภาระหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศของบริษัทและบริษัทย่อยเมื่อแปลงค่าเป็น เงินบาทเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้สินจากหุ้นกู้แปลงสภาพสกุลเงินตรา ต่างประเทศ (หมายเหตุ 6.13) และเนื่องจากใกล้ถึงช่วงเวลาของการใช้สิทธิแปลงสภาพก่อน กำหนด ดังนั้น บริษัทได้แต่งตั้งบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อให้ความช่วยเหลือในการปรับ โครงสร้างหนี้ของหุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวใหม่ บริษัทอยู่ในระหว่างการเจรจาต่อรองเงื่อนไขของ แนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ที่เสนอโดยกลุ่มผู้ถือหุ้นกู้ ผลที่สุดของการดำเนินการเจรจาต่อรอง ดังกล่าวยังไม่สามารถคาดคะเนได้ อย่างไรก็ตาม เจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้ได้ผ่อนผันระยะเวลาการชำระคืน ดอกเบี้ยของหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดชำระจำนวนเงินรวมประมาณ 6.8 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (เทียบ เท่า 256.8 ล้านบาท) ออกไปอีกหนึ่งร้อยแปดสิบ (180) วัน นับจากวันที่ 7 ตุลาคม 2542 เพื่อประโยชน์ในการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้นี้ นอกจากนี้ ตามข้อมูลที่ปรากฏในงบการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2542 บริษัทย่อยบางแห่งมีอัตราส่วนทางการเงินเป็นลบ เช่น อัตราส่วนทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน เป็นต้น ดังนั้นการดำเนินงานต่อเนื่องต่อไปของ บริษัทจึงขึ้นอยู่กับ ก) ผลสำเร็จในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าว ข) ความสามารถในการ ดำเนินธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จและการจัดหาเงินทุนให้เพียงพอที่จะจ่ายชำระหนี้สินและจะมีกำไร ทางภาษีในจำนวนที่เพียงพอที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากภาษีเงินได้รอตัดบัญชี งบการเงินนี้จึง ไม่ได้รวมรายการปรับปรุงเกี่ยวกับมูลค่าสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับคืนและรายการจัดประเภท สินทรัพย์ใหม่ตลอดจนจำนวนและการจัดประเภทหนี้สินที่บริษัทจะต้องชำระ ซึ่งอาจจำเป็นถ้า บริษัทไม่สามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องได้ - 3 - 3. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมนี้ได้รวมบัญชีของบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทต่าง ๆ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อมหรือ บริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม ดังต่อไปนี้ อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 2541 ทางตรง ทางอ้อม ทางตรง ทางอ้อม บริษัทย่อย บริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด 99 - 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ เมียนมาร์ จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ ไวร์เลส จำกัด 99 - 99 - บริษัท จาโก จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ พลังงาน จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 99 - 99 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทีลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด 90 - 90 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ บรอดคาสท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด 74 - 74 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ คอมแวร์ จำกัด 70 - 70 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ นิวเท็ค จำกัด 67 - 67 - บริษัท การค้าลาว จำกัด 67 - 67 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ แปซิฟิค จำกัด 63 - 63 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟรา จำกัด 60 - 60 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ เพจโฟน จำกัด 55 - 55 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ แซทเทลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบพาณิชยกิจหลัก) 51 - 51 - บริษัท โปรเฟสชั่นนัล คอมพิวเตอร์ จำกัด - 99 - 99 บริษัท ล็อกซ์ดาต้า จำกัด - 99 - 99 บริษัท โอเพ่น ซิสเต็มส์ อินทิเกรเตอร์ จำกัด - 92 - 83 - 4 - อัตราร้อยละของหุ้นที่ถือครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 2541 ทางตรง ทางอ้อม ทางตรง ทางอ้อม บริษัท ล็อกซเล่ย์ วีดีโอ โพสต์ (กรุงเทพ) จำกัด - 74 - 74 บริษัท เน็ทวัน เน็ทเวิร์ค โซลูชั่น จำกัด - 67 - 98 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น โฮลดิ้ง จำกัด - 67 - - บริษัท พอยท์เอเชีย ดอท คอม จำกัด (ยังไม่ได้ประกอบ พาณิชยกิจหลัก) - 67 - - บริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด - 55 - 55 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น จำกัด - - - 65 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด - - - 65 บริษัทที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) มีอำนาจควบคุม บริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด 50 - 50 - บริษัท ล็อกซเล่ย์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 40 - 40 - บริษัท นอร์ธ-อีสท์ เอเซีย เทเลโฟน แอนท์ เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด - 49 - 44 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น จำกัด - 43 - - บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด - 43 - - รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยต่าง ๆ ดังกล่าว ข้างต้นได้แสดงหักกลบลบกันในงบการเงินรวมนี้แล้ว ในเดือนสิงหาคม 2540 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ซื้อหุ้นทุนของบริษัท ฮัทชิสัน เทเลคอม มิวนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ทั้งหมดจากบริษัทและผู้ถือหุ้นรายอื่น ในการนี้ บริษัทย่อย ดังกล่าวต้องจ่ายเงินค่าซื้อหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว ซึ่งได้แสดงไว้ในบัญชี "เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งบริษัทย่อยตัดบัญชี เป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลาประมาณ 8 ปี ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 มีจำนวนเงินประมาณ 62.3 ล้านบาท - 5 - บริษัทได้นำงบการเงินของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งบริษัทลงทุนไว้ร้อยละ 50 ในเดือนพฤษภาคม 2537 มารวมในการจัดทำงบการเงินรวมด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีอำนาจ ในการควบคุม ณ วันที่บริษัทซื้อหุ้นของบริษัท ล็อกซเล่ย์ เทรดดิ้ง จำกัด บริษัทได้จ่ายเงินค่าซื้อ หุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทดังกล่าว ซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าว ไว้ในบัญชี "เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชี เป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา 15 ปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 ยอดคงเหลือที่ยังไม่ได้ตัดบัญชีมี จำนวนเงินประมาณ 32.6 ล้านบาท ในระหว่างไตรมาสที่สามของปี 2539 บริษัทได้เข้าลงทุนในหุ้นทุนของบริษัท ล็อกซเล่ย์ ยูทีลิตี้ส์ เซอร์วิส จำกัด จำนวนร้อยละ 90 ในการนี้ บริษัทได้จ่ายเงินค่าหุ้นเกินกว่ามูลค่าสินทรัพย์ สุทธิของบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทต้องบันทึกผลต่างดังกล่าวไว้ในบัญชี "เงินลงทุนใน บริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิ" ภายใต้สินทรัพย์อื่น ซึ่งตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภายในเวลา ประมาณ 15 ปี อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่สามของปี 2542 บริษัทได้ตัดบัญชีดังกล่าวที่คงเหลือ อยู่มีจำนวนเงินประมาณ 47.6 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในงบการเงินรวม เนื่องจาก เงินลงทุนในบริษัทย่อยส่วนที่เกินกว่าสินทรัพย์สุทธิดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคต ในระหว่างไตรมาสที่สามของปี 2542 บริษัท ล็อกซเล่ย์ อินฟอร์เมชั่น โฮลดิ้ง จำกัด (LIH) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (LOXBIT) ได้ออกหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 7.3 ล้านบาท จำหน่ายให้บุคคลภายนอกในราคา 138.4 ล้านบาท ต่อมา LOXBIT ได้จำหน่ายเงินลงทุนในหุ้นทุนของ LIH ให้แก่บุคคลภายนอกอีก บางส่วน ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ LOXBIT ใน LIH ลดลงสุทธิเหลือร้อยละ 66.67 ต่อมาใน ไตรมาสที่สี่ของปี 2542 LIH ได้ออกหุ้นเพิ่มทุนเพิ่มเติมอีกจำนวน 0.8 ล้านบาท จำหน่ายให้แก่ LOXBIT ในราคา 38 ล้านบาท ดังนั้น สัดส่วนการถือหุ้นของ LOXBIT ใน LIH เพิ่มขึ้นสุทธิจาก ร้อยละ 66.67 เป็นร้อยละ 67.77 ผลการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นทำให้ LOXBIT มีส่วนได้ เสียในสินทรัพย์สุทธิใน LIH เพิ่มขึ้นประมาณ 76.9 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทถือหุ้นใน LOXBIT ในอัตราร้อยละ 99.99 ดังนั้น บริษัทจึงบันทึกรับรู้ผลกระทบดังกล่าวและแสดงไว้ในบัญชี "ส่วนเกินทุนในส่วนได้เสียของบริษัทย่อย" ภายใต้ "ส่วนของผู้ถือหุ้น" ในงบดุล - 6 - 4. การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชี 4.1 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 บริษัทถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 ซึ่งกำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งกำหนดให้ บริษัทแสดงเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายที่จัดประเภทไว้เป็นเงินลงทุนระยะยาวในราคา ตามมูลค่ายุติธรรม และรับรู้มูลค่าของเงินลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นรายการแยกต่างหาก ภายใต้ส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุล ทั้งนี้ มาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าวให้ถือปฏิบัติกับ งบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป (ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2542 บริษัทบันทึกเงินลงทุนดังกล่าวในราคาทุนรวมหรือราคาตลาด รวมที่ต่ำกว่า) 4.2 บริษัทและบริษัทย่อยถือปฏิบัติตามการตีความมาตรฐานการบัญชี เรื่องที่ 4 เรื่องรายจ่ายที่ กิจการในขั้นพัฒนาและกิจการที่พัฒนาแล้วบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ ซึ่งกำหนดโดยสมาคม นักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 20 มกราคม 2543 (ซึ่งถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2542 เป็นต้นไป) โดยบริษัทตัดจำหน่ายรายจ่ายรอตัดบัญชีบางรายการ ซึ่งเคยบันทึกบัญชี ไว้เป็นสินทรัพย์ ตามการตีความดังกล่าวรายจ่ายรอตัดบัญชีดังกล่าวประกอบด้วยรายจ่าย ก่อนการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายทางการเงินรอตัดบัญชี ผลกระทบจากการปรับปรุงงบการ เงินงวดก่อนมีดังนี้ ข้อมูลต่อหุ้น (บาท) พันบาท หุ้นสามัญ หุ้นสามัญปรับลด ขาดทุนสุทธิสำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2542 ลดลง 6,748 0.17 0.13 กำไรสุทธิสำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2541 เพิ่มขึ้น 7,727 0.19 0.15 ขาดทุนสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2542 เพิ่มขึ้น 72,877 1.82 1.43 ขาดทุนสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2541 เพิ่มขึ้น 80,604 2.01 1.59 - 7 - 5. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ การรับรู้รายได้และต้นทุน รายการขายรับรู้เป็นรายได้เมื่อได้ส่งมอบ โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็น เจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว รายได้ค่าบริการบันทึกเป็นรายได้ตามบริการที่ให้ บริษัทและบริษัทย่อยบันทึกรายได้ตามสัญญาซึ่งต้องใช้เวลาในการติดตั้งเป็นเวลานาน ตามสัดส่วนของงานที่แล้วเสร็จ ส่วนต้นทุนที่เกี่ยวข้องจะบันทึกบัญชีเมื่อเกิดรายการ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ บริษัทและบริษัทย่อยตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ จากลูกหนี้ที่มีอยู่ จำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้นี้ประมาณขึ้นจากประสบการณ์การเรียกเก็บ หนี้ในอดีตควบคู่กับการวิเคราะห์ฐานะการเงินในปัจจุบันของลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ บริษัทและบริษัทย่อยตีราคาสินค้าคงเหลือในราคาทุนถัวเฉลี่ยหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า บริษัทตีราคาชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับงานโครงการในราคาทุนถัวเฉลี่ย เงินลงทุนในหุ้นทุน บริษัทบันทึกเงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทร่วมสำหรับงบการเงินรวมและเงินลงทุนใน หุ้นทุนของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมสำหรับงบการเงินเฉพาะบริษัทตามวิธีส่วนได้เสีย ในกรณีที่ บริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมแสดงผลการดำเนินงานขาดทุน บริษัทจะหยุดบันทึกเงินลงทุนตาม วิธีส่วนได้เสียเมื่อยอดคงเหลือในบัญชีเงินลงทุนของบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนั้นลดลงเป็น ศูนย์และหลังจากนั้นจะไม่บันทึกรับรู้ส่วนแบ่งผลขาดทุนเพิ่มอีก บริษัทจะกลับมาบันทึกเงินลงทุน ตามวิธีส่วนได้เสียอีกครั้งก็ต่อเมื่อในเวลาต่อมาบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมนั้นมีกำไรและส่วน แบ่งของกำไรดังกล่าวที่เป็นของบริษัทมีจำนวนเท่ากับส่วนแบ่งผลขาดทุนที่บริษัทยังไม่ได้บันทึก รับรู้เนื่องจากการหยุดใช้วิธีส่วนได้เสียดังกล่าว - 8 - เงินลงทุนในหุ้นทุนของบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันซึ่งถือไว้เป็นเงินลงทุนระยะยาวตีราคาใน ราคาทุน กำไรหรือขาดทุนจากเงินลงทุนดังกล่าวจะบันทึกบัญชีเมื่อจำหน่ายเงินลงทุนนั้นแล้ว หรือ เมื่อเงินลงทุนนั้นมีการด้อยค่า เงินลงทุนในตราสารทุนในความต้องการของตลาดซึ่งถือเป็นหลักทรัพย์เผื่อขายและจัด ประเภทไว้เป็นเงินลงทุนระยะยาวแสดงในราคาตามมูลค่ายุติธรรมซึ่งถือตามข้อมูลราคาเสนอซื้อ ครั้งสุดท้ายจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่วนต่างระหว่างราคาตามบัญชีกับมูลค่ายุติธรรม ของหลักทรัพย์เผื่อขายบันทึกเป็นรายการแยกต่างหากภายใต้ "ส่วนของผู้ถือหุ้น" ในงบดุล ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชี บริษัทและบริษัทย่อยตัดค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์โดยวิธีเส้นตรงตามอายุ การใช้งาน โดยประมาณของสินทรัพย์ดังนี้ จำนวนปี อาคารและส่วนปรับปรุง 20 เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและเครื่องใช้สำนักงาน 5 เครื่องมือและอุปกรณ์ 5 อุปกรณ์สำนักงานให้เช่า 5 ยานพาหนะ 5 อุปกรณ์การสื่อสารเพื่อการให้บริการวิทยุติดตามตัว ซึ่งมีภาระผูกพันที่จะต้องโอน กรรมสิทธิ์ให้กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงตามอาย ของสัญญาที่เหลือซึ่งไม่เกินสิบห้า (15) ปี เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อให้บริการรับ-ส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ซึ่งมีภาระผูก พันที่จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้กับการสื่อสารแห่งประเทศไทย ตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรง ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเป็นเวลาไม่เกินยี่สิบ (20) ปี เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการให้บริการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งมีภาระผูกพันที่จะต้อง โอนกรรมสิทธิ์ให้กับการสื่อสารแห่งประเทศไทย ตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงตามอายุของ สัญญาที่เหลือซึ่งไม่เกินสิบ (10) ปี - 9 - ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี บริษัทใช้วิธีการคำนวณภาษีเงินได้จากกำไรทางบัญชีโดยมิได้คำนึงว่ารายการบัญชี ดังกล่าวจะถือหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีอากรได้เมื่อใด ในการนี้ภาษีเงินได้สำหรับรายการที่ยังถือ เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายไม่ได้ในการคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรจะถูกบันทึกรอตัด บัญชีไว้ในงบดุล ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีนี้จะบันทึกเป็นรายได้หรือตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี เมื่อรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่บันทึกไว้เกิดขึ้นจริงหรือถือหักเป็นค่าใช้จ่ายได้แล้วในการคำนวณภาษี เงินได้ การแปลงค่างบการเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ งบการเงินของบริษัทย่อยที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศที่นำมาจัดทำงบการเงินรวมนี้จัดทำขึ้น โดยใช้สกุลเงินตราต่างประเทศของประเทศนั้น ๆ เป็นหน่วยเงินตราซึ่งใช้ในการรายงาน งบการเงิน ดังกล่าวแปลงค่าเป็นเงินบาทเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดทำงบการเงินรวมดังนี้ ก) สินทรัพย์ และหนี้สินใช้อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคาร ณ วันที่ในงบดุล ยกเว้นยอดคงเหลือของบัญชีระหว่างกัน ซึ่งแปลงค่าโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ และ ข) รายได้และค่าใช้จ่ายใช้อัตรา ถัวเฉลี่ย กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าแสดงไว้เป็น "ผลสะสมของการปรับปรุงที่เกิดจากการ แปลงค่างบการเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ" ซึ่งแสดงไว้ภายใต้ "ส่วนของผู้ถือหุ้น" ในงบดุล รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ บริษัทและบริษัทย่อยบันทึกรายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทโดยใช้ อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศซึ่งมียอด คงเหลือ ณ วันที่ในงบดุล แปลงค่าโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันดังกล่าวหรือตามอัตราแลกเปลี่ยน ตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้วแต่กรณี กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าบันทึกเป็นรายได้หรือ ค่าใช้จ่ายในปีปัจจุบัน - 10 - 6. ข้อมูลเพิ่มเติม 6.1 รายการบัญชีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ส่วนหนึ่งของรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น ต้นทุนขายและบริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเป็นรายการที่เกิดขึ้นกับบริษัท ย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกันบางแห่ง บริษัทเหล่านี้เกี่ยวข้องกันโดยมีผู้ถือหุ้น กรรมการ และ/หรือ ผู้บริหารในตำแหน่งที่สำคัญร่วมกัน งบการเงินเฉพาะบริษัทและ งบการเงินรวมนี้รวมผลของรายการดังกล่าวซึ่งเป็นไปตามปกติธุรกิจ ยอดคงเหลือที่เป็น สาระสำคัญที่มีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันเหล่านี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 และ 2541 ได้แสดงแยกไว้ต่างหากในงบดุล รายการบัญชีที่เป็นสาระสำคัญที่เกิดขึ้นในระหว่างปี 2542 และ 2541 ซึ่งรวมอยู่ ในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทมีดังนี้ พันบาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท 2542 2541 2542 2541 ขายผลิตภัณฑ์และบริการ 104,921 161,981 284,342 250,694 ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่น 65,441 19,271 118,390 36,128 ต้นทุนขายและบริการ 70,425 228,377 184,129 340,993 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 12,028 11,188 63,528 5,139 6.2 กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคำนวณโดยการหารกำไร (ขาดทุน) สุทธิด้วย จำนวนหุ้นถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่รับชำระเต็มมูลค่าในระหว่างปี บริษัทได้แสดงกำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นปรับลด โดยการหารกำไรสุทธิหลังปรับปรุงดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายอื่นที่ เกี่ยวข้องกับหุ้นกู้แปลงสภาพด้วยจำนวนหุ้นสามัญปรับลด - 11 - งบการเงินรวม (ยังมีต่อ)