ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม

การจัดการด้านพลังงาน
ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
กิโลวัตต์ - ชั่วโมง
เทียบกับปริมาณ ณ ปีฐาน 2563
อัตราส่วนปริมาณการใช้ไฟฟ้า รวมต่อจำนวนพนักงาน
กิโลวัตต์-ชั่วโมง / คน / ปี
ค่าไฟฟ้า
บาท
ปริมาณการใช้พลังงานทดแทน
กิโลวัตต์-ชั่วโมง
การบริหารจัดการน้ำ
ปริมาณการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในสำนักงาน
ลูกบาศก์เมตร
เทียบกับปริมาณ ณ ปีฐาน 2563
ค่าน้ำประปา
บาท
อัตราส่วนปริมาณการใช้น้ำรวมต่อจำนวนพนักงาน
ลูกบาศก์เมตร / คน / ปี
การจัดการขยะ
ปริมาณขยะรีไซเคิล
กิโลกรัม
เทียบเท่าต้นไม้ที่ใช้ดูดซับก๊าซเรือนกระจก 1,747 ต้น
ปริมาณขยะและของเสียไม่อันตราย
กิโลกรัม
การจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก
ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ลดได้
tCO2eq

การจัดการและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

บริษัทได้กำหนดนโยบายการจัดการและการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางการบริหารจัดการโครงการด้านสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุม สอดคล้องกับกฎระเบียบและข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล โดยพัฒนาโครงสร้างองค์กร กลยุทธ์ กระบวนการวางแผน และการจัดสรรทรัพยากร เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจ

ประสิทธิภาพเชิงนิเวศในการดำเนินธุรกิจ

กลยุทธ์
  • ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรของบริษัทใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องการลดการใช้พลังงาน การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการขยะ
  • ดำเนินมาตรการเพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพในทุกกระบวนการทางธุรกิจ บริหารจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพด้วยแนวคิด 3R
  • ผลักดันแนวคิดเชิงนวัตกรรมในการพัฒนาสินค้าและบริการ โซลูชัน และโอกาสทางธุรกิจ ที่คำนึงถึงผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และสุขอนามัย
การบริหารจัดการพลังงาน

ในปี 2566 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลง 535,500 กิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือลดลงคิดเป็น 18.13%

เป็นผลมาจากมาตรการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

บริษัทได้ดำเนินโครงการรณรงค์ให้พนักงานใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่าในชีวิตประจำวันมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และขยายไปสู่การบริหารจัดการน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทมีการบำบัดน้ำเสียจากอาคารสำนักงานอย่างเป็นระบบ ก่อนปล่อยลงสู่ระบบการระบายน้ำสาธารณะเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของชุมชนโดยรอบ

การบริหารจัดการของเสีย

บริษัทส่งเสริมการลดของเสียจากการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่าอย่างจริงจัง โดยสื่อสารให้พนักงานลดการใช้วัสดุที่ไม่พึงประสงค์ให้เหลือน้อยที่สุด และบริหารจัดการของเสียอย่างรับผิดชอบตามหลัก 3Rs : Reduce Reuse and Recycle เช่น การสนับสนุนการใช้ถุงผ้า แก้วน้ำส่วนตัว และการคัดแยกขยะรีไซเคิลผ่านกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งให้ความรู้แก่ชุมชน โรงเรียน โดยผสมผสานไปกับกิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัท

การบรรเทาและปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ตัวชี้วัดและเป้าหมายการดำเนินการด้าน ESG ผลการดำเนินงานปี 2566
การรายงานก๊าซเรือนกระจก ขอบเขตการดำเนินงานที่ 1 และ 2 ของ บมจ. ล็อกซเล่ย์
ขอบเขตการดำเนินงาน ประเภทที่ 1
เท่ากับ tCO2eq
ขอบเขตการดำเนินงาน ประเภทที่ 2
เท่ากับ tCO2eq
กลยุทธ์
  • การให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างจิตสำนึกและความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา
  • เพิ่มปริมาณการใช้พลังงานหมุนเวียนและแหล่งพลังงานสะอาด การลดการใช้พลังงานที่มาจากแหล่งเผาไหม้หรือการใช้พลังงานที่ก่อมลพิษน้อยลง การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานด้วยการปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี
  • สนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพในทุกกระบวนการของการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานทรัพยากร
  • การพัฒนาสินค้าและบริการ การนำเสนอโซลูชัน และนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความยั่งยืนทั้งในด้านธุรกิจและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

คณะทำงานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสำนักเลขานุการบริษัท ทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน และรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อคณะกรรมการบริษัททราบเป็นระยะ และถือเป็นปัจจัยประกอบการพิจารณาทบทวนเป้าหมาย กลยุทธ์ นโยบายการจัดการความเสี่ยง งบประมาณประจำปี และแผนธุรกิจของบริษัท

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เป้าหมาย
ลดก๊าซเรือนกระจกลง 20% จากปีฐานภายในปี 2573
ปริมาณการดูดซับก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมต่างๆ เท่ากับ 27 tCO2eq

บริษัทมีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ และมุ่งสู่การมีส่วนร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำเพื่ออนาคตที่ดีกว่า ผ่านการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 และ 2 ดังนี้

Scope 1

ดำเนินนโยบายพิจารณาเปลี่ยนยานพาหนะเครื่องยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงความพยายามในการศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุนใน ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ ธุรกิจแท็กซี่ EV เป็นต้น

Scope 2

ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) บนหลังคาอาคารสำนักงานจำนวน 2 อาคาร ที่อาคารหนุมาน และอาคาร ICT1 ซึ่งอยู่ในบริเวณสำนักงานใหญ่ของบริษัท โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง (Installed power generation capacity) เท่ากับ 93.2 กิโลวัตต์ และ 139.15 กิโลวัตต์ ตามลำดับ และบริษัทยังอยู่ในระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่อาคารอื่นๆ เพิ่มเติมในอนาคต

ความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

บริษัทติดตามสถานการณ์ ประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ ทั้งในมิติทางกายภาพและระยะเปลี่ยนผ่าน (Physical Risk และ Transition Risk) เพื่อระบุประเด็นความเสี่ยง ประเมินระดับความเสี่ยง และวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยง กำหนดมาตรการป้องกันและรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กับธุรกิจของบริษัทต่อสถานการณ์วิกฤตหรือการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งโอกาสจากการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำ