ผลการดำเนินงานด้านเศรฐกิจและการกำกับดูแลกิจการ

รายได้รวมของบริษัท และบริษัทย่อย
2566
ล้านบาท
2565
ล้านบาท
กำไรสุทธิ
2566
ล้านบาท
2565
ล้านบาท
คะแนนประเมินระดับดีเลิศ หรือ
5 ดาว
จากการประเมินคุณภาพการกํากับดูแลกิจการ
100 คะแนนเต็ม
จากการประเมินการจัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
สร้างความสมดุลของโครงสร้างรายได้ด้วยการกระจายความเสี่ยงใน
5 ธุรกิจหลัก
ทบทวนความเพียงพอของ
นโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ
ประกาศนโยบายเพื่อส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการ
  • จรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ
  • นโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง
  • นโยบายการจัดการและการดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
  • นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ
  • นโยบายการเคารพในสิทธิมนุษยชน

การกำกับดูแลกิจการ

ตัวชี้วัดและเป้าหมายการดำเนินการด้าน ESG ผลการดำเนินงานปี 2566
ได้รับการประเมินคะแนนระดับดีเลิศ (5 ดาว) จากโครงการสำรวจเพื่อติดตามและวัดผลการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการ หรือ บรรษัทภิบาลของบริษัทจดทะเบียนไทย ซึ่งดำเนินการโดยสมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors : IOD) ด้วยการสนับสนุนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ระดับดีเลิศ 5 ดาว
คุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 โดยสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย 100 คะแนน
กลยุทธ์
  • กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการให้สอดคล้อง เป็นทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร
  • ทบทวนความเพียงพอของโครงสร้างและนโยบายการกำกับดูแลกิจการให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง เหมาะสมกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัท และความท้าทายที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
  • สื่อสาร สร้างความเข้าใจกับพนักงาน คู่ค้า พันธมิตรธุรกิจ เพื่อตระหนักถึงความสำคัญและปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณ และแนวปฏิบัติต่างๆ
การบริหารจัดการ
  • กำกับดูแลติดตามให้มีการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการ และจรรยาบรรณธุรกิจ
  • ทบทวนโครงสร้างและนโยบายการกำกับดูแลกิจการเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • สื่อสารและจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการ และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องให้กับพนักงาน คู่ค้า พันธมิตรธุรกิจ
กลยุทธ์ด้านภาษี

บริษัทตระหนักดีว่าภาษีมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศโดยรวมอย่างยั่งยืน จึงบริหารจัดการด้านภาษีอย่างถูกต้องสอดคล้องกับกฎหมายภาษีอากร และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ชำระภาษีครบตามระยะเวลาที่กำหนดด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้

การวิเคราะห์ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของธุรกิจ

ประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทในปี 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 10 ประเด็น ดังนี้


การบริหารความเสี่ยงและการจัดการภาวะวิกฤต

ตัวชี้วัดและเป้าหมายการดำเนินการด้าน ESG ผลการดำเนินงานปี 2566
การจัดอบรมด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กร จำนวน 1 หลักสูตร
มีผู้เข้ารับการอบรม 80 คน
ติดตามและรายงานผลการบริหารความเสี่ยงอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง
รายงานผลความคืบหน้าการบริหารความเสี่ยง
รายไตรมาส รวม 4 ครั้ง
กลยุทธ์
  • กำหนดโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ในการบริหารความเสี่ยงที่ชัดเจน ตั้งแต่ระดับองค์กร ระดับธุรกิจ และระดับปฏิบัติการ
  • จัดให้มีวิธีการบริหารความเสี่ยง ตลอดจนกำกับ และทบทวนกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง และมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
  • ผลักดันให้การบริหารความเสี่ยงเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของแต่ละหน่วยงาน โดยกำหนดมาตรการบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และมีแผนดำเนินงานที่ชัดเจน มีการติดตามการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง มีการทบทวนและปรับแผนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป รวมทั้งสามารถวัดความคืบหน้าและประเมินผลได้
  • ผลักดันให้มีการสื่อสารด้านการบริหารความเสี่ยงให้ทั่วถึงทั้งหน่วยงาน เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง และสามารถเพิ่มความตระหนักรู้ (Risk Awareness) ในวงกว้าง
การบริหารจัดการ
  • บริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรตามแนวทาง COSO เพื่อลดโอกาสและผลกระทบจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
  • วิเคราะห์ระดับความรุนแรง และจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความเสี่ยง เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานและมาตรการในการบริหารจัดการความเสี่ยง และติดตามผลการปฏิบัติ
กรอบนโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยง
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน

บริษัทให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงจากคู่ค้า โดยกำหนดนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใสและเป็นธรรม และจรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจโดยครอบคลุมด้านจริยธรรมทางธุรกิจ การปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน และคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม


ความปลอดภัยทางไซเบอร์

ตัวชี้วัดและเป้าหมายการดำเนินการด้าน ESG ผลการดำเนินงานปี 2566
ไม่มีข้อร้องเรียน หรือเหตุการณ์เรื่องความไม่ปลอดภัยของระบบสารสนเทศ และข้อมูลลูกค้า 0 ไม่มีเหตุการณ์เรื่องความไม่ปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
กลยุทธ์
  • บูรณาการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศและไซเบอร์เข้ากับการบริหารความเสี่ยงทั้งองค์กร
  • กำหนดกระบวนการบริหารจัดการความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สอดคล้องกับนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ
  • เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักแก่พนักงานทุกระดับ
การบริหารจัดการ
  • กำหนดนโยบาย และระเบียบปฏิบัติด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ กำกับดูแลให้เกิดการปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร
  • พัฒนาระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เพิ่มเติม
  • ตรวจสอบ วิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยงในการถูกโจมตี และนำไปสู่การปิดกั้นการเข้าถึงระบบเครือข่ายและระบบสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ

บริษัทมุ่งมั่นรักษามาตรฐานสูงสุดสำหรับความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อปกป้องโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ข้อมูล และข้อมูลผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท ตลอดจนจัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองเหตุการณ์และการกู้คืนกรณีมีเหตุฉุกเฉิน

ทั้งนี้ สายธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศที่ให้บริการระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์ พัฒนาซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน และออกแบบโซลูชันแบบครบวงจร ยังได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 27001 ตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยในการบริหารจัดการด้านไอทีและการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่เกี่ยวข้อง